
เมื่อเร็วๆ นี้ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้เผยคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2566 จะขยายตัว 3.6% และฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยครึ่งหลังปี 2566 ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 4.2% ขยายตัวดีกว่าครึ่งแรกของปีที่ 2.9%
ซึ่งการเติบโตมาจากการบริโภคฟื้นตัวได้ดีสอดคล้องกับรายได้ และภาคการท่องเที่ยว จะเห็นตัวเลขนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 29 ล้านคน ทั้งนี้ ตัวเลขนักท่องเที่ยวจากจีนกลับเข้าไทยน้อยกว่าที่คาดการณ์ แต่ก็มีนักท่องเที่ยวจากที่อื่นโตต่อเนื่อง ซึ่งตัวเลขอยู่ที่น่าพอใจ
"ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน อีกทั้ง เศรษฐกิจประเทศจีนช่วงครึ่งหลังปีนี้ไม่ค่อยดี และจีนได้ลดการนำเข้าจากไทยน้อยลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย แต่กลับกันเศรษฐกิจในสหรัฐฯดีขึ้น ทำให้สภาพเศรษฐกิจถดถอยมีแนวโน้มลดลง หรือหากเกิดขึ้นจะอยู่ในระดับต่ำ" นายเศรษฐพุฒิกล่าว
ด้านอัตราเงินเฟ้อไทย เดือน มิ.ย.66 ออกมาที่ 0.23% ต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยจากฐานในปีที่ผ่านมาสูง และปัจจัยเฉพาะชั่วคราวจากที่รัฐบาลออกมาตรการช่วยค่าไฟ ราคาอาหาร ราคาพลังงานโลกที่
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยชั่วคราว และคาดว่าเงินเฟ้อจะกลับมาขยายตัว สะท้อนจากภาคการท่องเที่ยว ทำให้หมวดบริการมีโอกาสกระตุ้นเงินเฟ้อ ธุรกิจส่งผ่านต้นทุน อีกทั้งเมื่อมีรัฐบาลใหม่ และมีการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายภาครัฐ อาจเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน เงินเฟ้อมีนัยต่อการดำเนินนโยบายทางการเงิน ธปท.ไม่ต้องการดำเนินนโยบายที่ซ้ำเติมตลาดการเงิน เพราะมีความไม่แน่นอนสูง จึงไม่ต้องการให้นโยบายการเงินไปซ้ำเติม ดังนั้น ประเด็น
1.การทำนโยบายที่ผ่านมา ธปท.ให้ความสำคัญกับข้อมูลเศรษฐกิจ แต่ขณะนี้จะคำนึงถึงการดูแนวโน้มเศรษฐกิจภาพรวมด้วย
"สิ่งที่ต้องดูไม่ใช่ดูข้อมูลทุกเดือนสุดท้าย แต่ดูข้อมูลเศรษฐกิจโดยรวมที่จะบอกว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร และทำให้ต้องเปลี่ยนมุมมองหรือไม่ ขณะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนมุมมอง เพราะสถานการณ์ยังเป็นลักษณะคล้ายๆ ที่มองไว้ทั้งในแง่เศรษฐกิจและเงินเฟ้อ"
2.การขยับดอกเบี้ยลักษณะค่อยเป็นค่อยไป (normalization) ต้องดูปัจจัยเชิงระยะยาวที่เมื่อเมื่อทำนโยบายแล้วกลับสู่สภาวะปกติ และหาจุดสมดุลกับดอกเบี้ย 3 เรื่อง 1.เศรษฐกิจโตตามศักยภาพ 2.เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย 1-3% และ 3.ไม่สร้างปัญหาด้านเสถียรภาพทางการเงิน จึงต้องดูภาพระยะยาวที่มีจุดสมดุลของปัจจัยดังกล่าว
"ที่ผ่านมาดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติและติดลบยาวนาน ขณะนี้ยังติดลบอยู่ ซึ่งดอกเบี้ยที่ต่ำจะมีผลทำให้เกิดพฤติกรรมเกิดปัญหาในบริบทไทยคือเรื่องหนี้ การออม และการกู้ สะท้อนเรื่องดอกเบี้ยแท้จริงอยู่ในระดับต่ำมานาน ดังนั้น ต้องทำให้ดอกเบี้ยกลับสู่สมดุลเพื่อรักษาสภาวะในระยะยาว" นายเศรษฐพุฒิกล่าว
อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นความจำเป็นต้องหยุดการขึ้นดอกเบี้ย เพราะ ธปท.ไม่ต้องการให้ตลาดเข้าใจว่าเงินเฟ้อลดลง เพราะเงินเฟ้อลดเป็นเรื่องชั่วคราว และเสถียรภาพทางการเงินที่ปกติจะบั่นทอนคือการเก็บดอกเบี้ย real late ยาวนานเป็นเรื่องไม่ดีทำให้หนี้เพิ่ม เพราะดอกเบี้ยต่ำเกินไป อีกทั้งมองไปข้างหน้าเงินเฟ้อจะไม่ต่ำ แม้จะอยู่ในกรอบ 1-3% ของ ธปท.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: