ลุ้น กกพ.เคาะลดค่าเอฟทีใหม่ ลง 7 สต.ต่อหน่วย

กกพ.ยอมแล้ว! เตรียมลดค่าเอฟทีใหม่ (พ.ค.-ส.ค.66) ลง 7 สต.ต่อหน่วย

กรณีเมื่อวันที่ 21 เม.ย.66 ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) เห็นชอบตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอขอรับภาระยืดหนี้การชำระค่าไฟฟ้า วงเงินประมาณ 1.3 แสนล้านบาท แทนประชาชนจาก 5 งวด หรือ 20 เดือน งวดละ 27,000 ล้านบาท เป็น 6 งวด หรือ 24 เดือน งวดละ 22,000 ล้านบาท

ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยงวดที่ 2 ของปีนี้ (พ.ค.-ส.ค.66) ลดลง 7 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิม 4.77 บาทต่อหน่วย เป็น 4.70 บาทต่อหน่วย

และจากนี้บอร์ด กกพ.จะพิจารณาวันที่ 24 เม.ย.เพื่อมีมติเปิดรับฟังความเห็น 5-7 วัน และเสนอบอร์ด กกพ.พิจารณาเคาะราคา เพื่อประกาศใช้ต่อไป ตามขั้นตอนการพิจารณาของ กกพ.จะทันบิลค่าไฟรอบ เดือนพ.ค.66แน่นอน เพราะบิลค่าไฟจะเริ่มออกตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค.66 เป็นต้นไป

ศรีสุวรรณ ร้องสอบรัฐเอื้อทุนพลังงาน ทำค่าไฟแพง

ด้าน นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยว่า การพิจารณาลดค่าเอฟทีลง เหลือ 4.70 บาทต่อหน่วย จาก 4.77 บาทต่อหน่วย ถือว่าไม่มาก และช่วยลดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องค่าไฟแพงได้ระดับหนึ่ง และไม่ใช่ราคาที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) คำนวณไว้ต่ำกว่า 4.40 บาทต่อหน่วย

ซึ่งตามประกาศ กกพ. เมื่อวันที่ 22 มี.ค.66 ที่มีมติเก็บค่าไฟฟ้าเอกชนเหลือ 4.77 บาทต่อหน่วยจากกว่า 5 บาทต่อหน่วย แต่กลับไปเพิ่มในกลุ่มครัวเรือนจาก 4.72 บาทต่อหน่วยเท่ากัน จึงไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้น ที่จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนในช่วงที่พลังงานโลกต่ำลง

ดังนั้น การลดราคาลงครั้งนี้เป็นการยืดหนี้ของ กฟผ. เพื่อให้ครัวเรือนไม่แพงกว่าเดิม แต่ส่วนตัวมองว่า สิ่งที่หลายคนอยากรู้ว่า ทำได้ดีกว่านี้ได้หรือไม่ เพราะไม่มีการพิจารณาในเรื่องของโครงสร้าง แม้จะใช้เวลาในการแก้ปัญหา

แต่สิ่งที่เป็นปัญหาเชิงพื้นฐานที่ กกร. เสนอมาตรการไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 เม.ย.66 เพื่อแก้ไขเฉพาะค่าไฟงวดที่ 2 มีเพียง 2 มาตรการ ได้แก่

1.ยืดหนี้ค่าไฟฟ้าให้กับ กฟผ.ซึ่งคณะอนุฯ ได้ดำเนินการแล้ง และ 2.ควรพิจารณาปรับวิธีประมาณการราคาตันทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติและราคา LNG ที่ใช้คำนวณต้นทุน ค่าไฟฟ้า โดยใช้ราคาที่สะท้อนแผนการนำเข้า LNG ในช่วง เดือน พ.ค.-ส.ค.66 แทนการใช้ข้อมูลราคาของเดือน ม.ค.66 ซึ่งมีราคาที่สูงกว่า เพื่อบรรเทาผลกระทบราคาไฟฟ้าของทุกภาคส่วนลงได้ ซึ่งการนำเข้า LNG เป็นตัวสำคัญในการนำมาเป็นพลังงานผลิตไฟฟ้าให้กับประเทศได้มีราคาลดลงมามากตลอดจากเดิมเคยขึ้นไประดับ 50 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ในช่วง ส.ค.65 แต่ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 13 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู

“ตัวเลขที่เราทำโดยไม่ต้องใช้งบประมาณมาสนับสนุนเมื่อคำนวณราคา LNG นำเข้าขณะนี้จะทำให้ค่าไฟเหลือไม่ถึง 4.40 บาททันที หากในช่วงเวลาปกติก่อนเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคา LNG นำเข้าอยู่ที่ 9 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู เมื่อมีสงครามขยับขึ้นสูงมาก และกลับมาอยู่ที่ไม่ถึง 13 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ในช่วงนี้ที่ราคาเฉลี่ยที่ 12 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู

ซึ่งภาครัฐใช้ข้อมูล LNG นำเข้าที่ 20 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู เกิดผลต่าง 7 ดอลลาร์ คิดเป็น 35% ซึ่ง LNG นำเข้ามีสัดส่วนถึง 45% ของ Pool gas โดยสัดส่วนก๊าซธรรมชาติที่ 60% ดังนั้น หากนำราคาค่าไฟ 4.77 บาท ลบส่วนต่างจะเหลือ 4.34 บาททันที” นายอิศเรศ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาว่า ราคาค่าไฟกับหน้าร้อนนี้ จะจบลงอย่างไร

คลิปแนะนำอีจัน
พายุถล่ม วัดห้วยปลากั้ง