
ตามที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 29 มี.ค.66 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.50% ต่อปี เป็น 1.75% ต่อปี
ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ 16 แห่ง แบ่งเป็น ของรัฐ 3 แห่ง (ออมสิน, ธอส. และ ธ.ก.ส.) และเอกชน 13 แห่ง ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3, 6, 12, 24 และสูงสุด 36 เดือน ตั้งแต่เดือน เม.ย.66 เป็นต้นไป
ธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.85%, 6 เดือน เป็น 0.95%, 12 เดือน เป็น 1.35%, 24 เดือน เป็น 1.65% และ 36 เดือน เป็น 1.75%
ธนาคาร ธอส. อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.45% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.85%, 6 เดือน เป็น 0.90%, 12 เดือน เป็น 1.30%, 24 เดือน เป็น 1.60% และ 36 เดือน เป็น 1.60%
ธนาคาร ธ.ก.ส. อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.85%, 6 เดือน เป็น 0.90%, 12 เดือน เป็น 1.30%, 24 เดือน เป็น 1.50% และ 36 เดือน เป็น 1.60%
ธนาคารกรุงเทพ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.55% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.85%, 6 เดือน เป็น 0.95%, 12 เดือน เป็น 1.25%, 24 เดือน เป็น 1.60% และ 36 เดือน เป็น 1.65%
ธนาคารกรุงไทย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.82%, 6 เดือน เป็น 0.95%, 12 เดือน เป็น 1.35%, 24 เดือน เป็น 1.85% และ 36 เดือน เป็น 2.10%
ธนาคารกสิกรไทย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.77-0.82%, 6 เดือน เป็น 0.90-0.95%, 12 เดือน เป็น 1.30-1.35%, 24 เดือน เป็น 1.65-1.75% และ 36 เดือน เป็น 1.85-1.95%
ธนาคารไทยพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.82%, 6 เดือน เป็น 0.95%, 12 เดือน เป็น 1.35%, 24 เดือน เป็น 1.75% และ 36 เดือน เป็น 1.95%
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.82%, 6 เดือน เป็น 0.95%, 12 เดือน เป็น 1.35%, 24 เดือน เป็น 1.75% และ 36 เดือน เป็น 1.85%
ธนาคารทหารไทยธนชาต อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.125% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.65%, 6 เดือน เป็น 0.90%, 12 เดือน เป็น 1.25%, 24 เดือน เป็น 1.40% และ 36 เดือน เป็น 1.60%
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.95%, 6 เดือน เป็น 1.10%, 12 เดือน เป็น 1.25%, 24 เดือน เป็น 1.55% และ 36 เดือน เป็น 1.70%
ธนาคารยูโอบี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.10-0.40% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.60%, 6 เดือน เป็น 0.70%, 12 เดือน เป็น 1.00%, 24 เดือน เป็น 1.40% และ 36 เดือน เป็น 1.40%
ธนาคารทิสโก้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25-2% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 1.15-1.30%, 6 เดือน เป็น 1.25-1.45%, 12 เดือน เป็น 1.55-1.70%, 24 เดือน เป็น 1.70-1.85% และ 36 เดือน เป็น 1.95-2.10%
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.95-1.10%, 6 เดือน เป็น 1.10-1.25%, 12 เดือน เป็น 1.35-1.50%, 24 เดือน เป็น 1.50-1.65% และ 36 เดือน เป็น 1.65-1.80%
ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.90%, 6 เดือน เป็น 1%, 12 เดือน เป็น 1.15%, 24 เดือน เป็น 1.20% และ 36 เดือน เป็น 1.25%
ธนาคารไอซีทีซี (ไทย) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.60-1.25% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 1%, 6 เดือน เป็น 1.20%, 12 เดือน เป็น 1.30%, 24 เดือน เป็น 1.75% และ 36 เดือน เป็น 1.75%
ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.40% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน 0.95%, 6 เดือน เป็น 1.05%, 12 เดือน เป็น 1.35%, 24 เดือน เป็น 1.55% และ 36 เดือน เป็น 1.60%
เงินได้ดอกเบี้ยเงินฝากต้องเสียภาษี
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ : หากรายได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จากธนาคารทุกบัญชีรวมกันภายใน 1 ปีปฎิทิน (1 มกราคม - 31 ธันวาคม) แล้วมียอดรวมทั้งหมดมากกว่า 20,000 บาท ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยจ่าย) โดยธนาคารจะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของดอกเบี้ยที่ได้ทันที โดยผู้ฝากสามารถยื่นเรื่องยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร แต่หากดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท ธนาคารจะไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย
บัญชีเงินฝากประจำ: การฝากเงินฝากประจำ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% จากยอดดอกเบี้ยที่ได้ เช่นหากได้ดอกเบี้ย 100 บาท จะถูกหักภาษี 15 บาท ได้ดอกเบี้ยสุทธิ 85 บาท อย่างไรก็ดี ผู้ฝากมีสิทธิ์เลือกเอารายได้ดอกเบี้ยจำนวน 100 บาทตรงนี้ มายื่นภาษีเพื่อขอคืนภาษีได้ หากเสียภาษีไม่ถึงฐาน 15% จะมีสิทธิได้คืนภาษี
หรือจะเลือกให้ธนาคารเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แล้วจบไม่ต้องเอามายื่นภาษีก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่าทางเลือกแบบไหนที่จะคุ้มค่ามากที่สุด ทั้งนี้หากประสงค์จะยื่นเพื่อขอคืนภาษี อย่าลืมขอใบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษี