ค่าจ้างขั้นต่ำปรับแรง นักวิเคราะห์มอง 8 อุตสาหกรรม เจ็บตัวแค่ไหน

นักวิเคราะห์มอง ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 450 บาท กระทบ 8 อุตสาหกรรม มากแค่ไหน ลดเหสื่อมล้ำ ดันเศรษฐกิจโตอย่างไร

บันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู 23 ข้อ ของพรรคร่วมรัฐบาล เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของการขับเคลื่อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยยึดหลักเพิ่มรายได้ประชาชน ลดความเหสื่อมล้ำ และสร้างระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม ซึ่งนโยบายดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายของ ‘พรรคก้าวไกล’ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า จะขึ้นค่าแรง 450 บาททันที ในปี 2566

ส.อ.ท.เบรกรัฐบาลใหม่ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 450-600 บาท

ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส (ASPS) จึงนำเสนอผลกระทบในแต่ละอุตสาหกรรม หากต้องปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ดังนี้

  • อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง 

เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก โดยต้นทุนค่าแรงที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำ จะอยู่ในส่วนของคนงานก่อสร้างที่มีทั้งการจ้างโดยตรงและการจ้างผ่านผู้รับเหมาช่วง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 20-30% ของต้นทุนก่อสร้าง 

โดยเงินที่จ้างผ่านผู้รับเหมาช่วงจะมีการรวมทั้งค่าแรงงานและค่าวัสดุก่อสร้างเข้าไปด้วย หากตั้งสมมุติฐานว่า ค่าแรงอย่างเดียวคิดเป็นสัดส่วน 50% ของค่าจ้างเหมาช่วง เท่ากับว่าต้นทุนที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำน่าจะมีสัดส่วนประมาณ 10-15% ของต้นทุนก่อสร้าง 

ดังนั้น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุก 1% จะกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้าง 0.10-0.15% แต่ในทางปฏิบัติ หากมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจริง บริษัทรับเหมาก่อสร้างและบริษัทที่รับเหมาช่วงจะแบ่งกันรับภาระคาแรงที่เพิ่มขึ้นไปคนละส่วน

อีกทั้ง บริษัทรับเหมางานภาครัฐ จะมีเงินชดเชยจากค่า K ซึ่งมีเงินเฟ้อเป็นองค์ประกอบในการคำนวณด้วย ดังนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุก 1% ฝ่ายวิจัยประเมินว่า จะกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างไม่เกิน 0.1% อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตรากำไรสุทธิต่ำมากเพียง 2-3% เท่านั้น การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของต้นทุนก่อสร้าง จึงกระทบต่อกำไรของกลุ่มฯค่อนข้างมีนัยสำคัญ

  • อุตสาหกรรมนิคม 

ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะมีผลกระทบต่อยอดขายที่ดินนิคมฯ ในวงจำกัดเนื่องจากช่วงปี 2553-2555 ที่มีการปรับขึ้นค่าแรงจาก 215 บาท/วัน เป็น 300 บาท/วัน (+40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน) ยอดขายยอดขายที่ดินนิคมฯ ไม่ได้ลดลง

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาดังกล่าว มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงมาเป็นการชดเชยด้วย ในรอบนี้จึงต้องรอติดตามว่า จะมีแนวทางใดเข้ามาดึงดูดความน่าสนใจในการเข้ามาลงทุนเป็นการชดเชย แม้ค่าแรงจะปรับเพิ่ม แต่ประเทศไทยยังมีจุดเด่นที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม และกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่ดิน  เป็นต้น

  • อุตสาหกรรมพัฒนาที่อยู่อาศัย 

แนวโน้มการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในระดับสูงของรัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของ ‘พรรคก้าวไกล’ ที่จะปรับขึ้นเป็น 450 บาท/วัน ย่อมส่งผลเชิงลบต่อต้นทุนการพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยทุกราย โดยหากพิจารณาโครงสร้างต้นทุนสัดส่วนหลัก 30-40% มาจากต้นทุนที่ดิน ตามด้วยต้นทุนก่อสร้างและแรงงาน 40-50% ที่เหลือเปืนงานโครงสร้างและอื่นๆ

ภายใต้การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และปัจจัยอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากอิงจากข้อมูลของผู้ประกอบการบางรายประเมินต้นทุนการพัฒนาจะเพิ่มขึ้น 10% ย่อมกระทบต่อประสิทธิภาพทำกำไร แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการ จะสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ ผ่านการส่งผ่านไปยังราคาขายตามต้นทุนใหม่

ซึ่งหมายถึงราคาขายอาจต้องปรับขึ้น 5-10% เพื่อรักษามาร์จิ้นไว้ รวมถึงบริหารจัดการต้นทุนอื่น เช่น ใช้ประโยชน์จากระบบ Precast ในการก่อสร้างมากขึ้นเพื่อลดแรงงานคน, ปรับรูปแบบสินค้า เปลี่ยนวัสดุ ลดขนาดบ้าน ฯลฯ เพื่อไม่ให้กระทบต่อมาร์จิ้นอย่างมีนัยฯ

ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพ ทำกำไรตลอดช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551-2565) พบว่า ผู้ประกอบการยังสามารถรักษา Gross Margin ในกรอบ 33-35% และ Norm Profit กรอบ 13-15% แม้เผชิญกับวัฏจักรเรื่องต้นทุนก่อสร้าง และแรงงานที่ปรับขึ้นก็ตาม (ยกเว้นปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด และส่วนใหญ่เน้นขาย สต๊อกพร้อมลดราคา ทำให้ GP ปีดังกล่าวลงมาอยู่ที่ 31% และ Norm Profit อยู่ที่ 12.5% ก่อนเห็นการฟื้นตัวขึ้นในปีถัดไป)

  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสนามบิน

กลุ่มที่มีโครงสร้างรายได้จากไทยเป็นหลัก อย่าง ERW, CENTEL มีสัดส่วนค่าแรงราว 25-30% ของ OPEX โดยภายใต้ Sensitivity Analysis พบว่าทุก 30% ที่เพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำจะกระทบต่อประมาณการกำไรปกติราว 6-7% (สุทธิจากอัตราภาษี 20%) อย่างไรก็ดี ประเด็นค่าแรงขั้นต่ำต่อกลุ่มโรงแรมยังต้องติดตาม เพราะธุรกิจโรงแรมมี Service chart สูง ซึ่งหลังรวม Service chart น่าจะสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

ขณะที่ MINT ด้วยโครงสร้างรายได้ที่มาจาก EU ราว 50% ของรายได้รวม จึงประเมินได้รับผลกระทบจากกรณีค่าแรง ต่ำสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มฯ ส่วน AOT ช่วง  1H66 (ต.ค.65 ถึง มี.ค.66) มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายพนักงาน 32% ของ OPEX แต่ส่วนใหญ่ฐานเงินเดือนไม่ได้อิงกับค่าแรงขั้นต่ำต่อวัน มีเล็กน้อยที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำในกลุ่มสัญญาจ้าง Outsource จึงคาดว่ากระทบน้อยกว่า 2 บริษัทข้างต้น 

โดยกลยุทธ์การลงทุนหุ้น Reopening ใน SET50 เรียงดังนี้ 

– MINT(FV@B38) 2Q66 มโอกาส Outperform กลุ่มฯ จาก High Season ใน EU และผลกระทบค่าแรงต่ำกว่ากลุ่มฯ > 

– AOT(FV@B80) ส่วนลดให้กับคู่ค้าเริ่มกลับสู่ระดับปกติและราคาหุ้นตั้งแต่เปิดประเทศช่วงปี 2564 ยังขึ้นช้ากว่า

– กลุ่มฯ>CENTEN (FV@B60) ราคานี้ Risk to reward เริ่มน่าสนใจ

  • อุตสาหกรรมีพลังงานและปิโตรเคมี

ภาพรวมธุรกิจในอุตสาหกรรมีพลังงานไม่ได้อิงกับการใช้แรงงาน โดยโครงสร้างต้นทุนส่วนใหญ่จะอิงกับราคาพลังงาน, ค่าเสื่อมราคา เป็น

หลัก ในขณะที่ค่าใช้จ่ายพนักงาน (SG&A) ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายในรูปแบบของเงินเดือน, โบนัส ดังนั้น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงไม่ได้ส่งผลผลกระทบโดยตรงอย่างมีนัยฯ ต่อโครงสร้างต้นทุน หรือผลการดำเนินงานบริษัทในกลุ่มนี้

  • อุตสาหกรรมค้าปลีก

คาดได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 450 บาท/วัน อยู่บ้าง ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะหุ้นกลุ่มพาณิชย์ที่เราศึกษา ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบไม่มากนัก เพราะพนักงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนพนักงานทั้งหมด (ราว 10-20%) ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรงจะมีสัดส่วนต่ำกว่า 0.5% ของยอดขายของแต่ละราย

แต่คาดหมายยอดขายที่จะเพิ่มขึ้นได้ในระยะถัดไปได้ จากกำลังซื้อที่มีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คาดค่าแรงที่สูงขึ้นจะชดเชยได้บางส่วนจากค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่มีแนวโน้มลดลงในช่วง 2H66 โดยเฉพาะค่าสาธารณูปโภค ที่มีจะประหยัดได้ จากค่าไฟฟ้าที่ลดลง ตามค่า FT ที่เริ่มลดลงแล้วตั้งแต่งวด เม.ย.-ก.ค.66 และยังมีแนวโน้มลดลงได้ต่อไปอีกในงวด ส.ค.-พ.ย.66

ด้านธุรกิจร้านอาหาร อย่าง M ค่าใช้จ่ายพนักงานคิดเป็นสัดส่วนราว 50% ของ SG&A บน Sensitivity Analysis ทุก 30% ที่เพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำจะกระทบต่อประมาณการกำไรปกติ M ราว 12% (สุทธิจากอัตราภาษี 20%)

  • อุตสาหกรรมสื่อสาร

หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 450 บาท/วัน ผลต่อการดำเนินงานของหุ้นในกลุ่ม ICT มีน้อยมาก เพราะพนักงานส่วนใหญ่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน AI ช่วยในการดำเนินงานแทนพนักงานด้วย (เช่น งาน Call center ของบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ) 

สรุป ประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 450 บาท/วัน หากเกิดขึ้นจริง คาดผลกระทบในแต่ละอุตสาหกรรมแตกต่างกันออกไป แต่อยู่ในวงจำกัด (ไม่มีนัยฯมากนัก) ดังนั้น หากราคาหุ้นตอบสนองต่อประเด็นนี้มากเกินไป ถือเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง

var d=document,w=”https://tally.so/widgets/embed.js”,v=function(){“undefined”!=typeof Tally?Tally.loadEmbeds():d.querySelectorAll(“iframe[data-tally-src]:not([src])”).forEach((function(e){e.src=e.dataset.tallySrc}))};if(“undefined”!=typeof Tally)v();else if(d.querySelector(‘script[src=”‘+w+'”]’)==null){var s=d.createElement(“script”);s.src=w,s.onload=v,s.onerror=v,d.body.appendChild(s);}
คลิปอีจันแนะนำ
เปิดนาทีรวบ “เจ๊เก๊ หลอกขายทุเรียน”