เทียบชัด ใช้ไฟนาน 1 ชม.เครื่องใช้ไฟฟ้าไหน กินไฟสุด

เช็ก เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เปิด 1 ชั่วโมง ชนิดไหนกินไฟมากที่สุด พร้อมเปิด 6 วิธีประหยัดไฟ-เซฟเงินในกระเป๋า สู้หน้าร้อนอุณหภูมิเดือด

วันนี้ (24 เม.ย.66) เวลา 14.00 น. นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) มีกำหนดตั้งโต๊ะตอบข้อซักถามเกี่ยวกับมติบอร์ดค่าไฟ ที่ห้องสมุดชั้น 19 ตึกจามจุรี

กรณีเมื่อวันที่ 21 เม.ย.66 คณะอนุกรรมการค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) เห็นชอบตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอขอรับภาระยืดหนี้การชำระค่าไฟฟ้า วงเงินประมาณ 1.3 แสนล้านบาท แทนประชาชนจาก 5 งวด หรือ 20 เดือน งวดละ 27,000 ล้านบาท เป็น 6 งวด หรือ 24 เดือน งวดละ 22,000 ล้านบาท

ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยงวดที่ 2 ของปีนี้ (พ.ค.-ส.ค.66) ลดลง 7 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิม 4.77 บาทต่อหน่วย เป็น 4.70 บาทต่อหน่วย

และบอร์ด กกพ.จะพิจารณา วันนี้ (24 เม.ย.66) เพื่อมีมติเปิดรับฟังความเห็น 5-7 วัน และเสนอบอร์ด กกพ.พิจารณาเคาะราคา เพื่อประกาศใช้ต่อไป ตามขั้นตอนการพิจารณาของ กกพ.ซึ่งจะทันบิลค่าไฟรอบ เดือนพ.ค.66 แน่นอน เพราะจะเริ่มออกตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค.66 เป็นต้นไป

ลุ้น กกพ.เคาะลดค่าเอฟทีใหม่ ลง 7 สต.ต่อหน่วย

โดยเรื่องดังกล่าว เกิดจากประเด็นดราม่าที่ผู้ใช้ไฟหลายคน ตั้งข้อสังเกตถึงค่าไฟในเดือน เม.ย.66 ที่แพงขึ้นแบบผิดหู ผิดตา หงายบิลค่าไฟทีลมแทบจับ

ขณะที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เคยออกมา ชี้แจงถึงสาเหตุ ค่าไฟแพง เพราะเข้าสู่หน้าร้อนคนใช้ไฟฟ้ามากขึ้น แค่อากาศร้อนขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียส ก็ทำค่าไฟฟ้าพุ่งขึ้น 3% เป็นสาเหตุให้แม้จะใช้ไฟฟ้าเท่าเดิม แต่ค่าไฟฟ้ากลับเพิ่มขึ้น

ดังนั้น ลองมาเช็กกันดูว่า ในทุก 1 ชั่วโมง ‘เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเท่าไร’ ชนิดไหน กินไฟสูงสุด จะได้ช่วยประหยัดค่าไฟ ไม่ต้องเจอ ‘ค่าไฟแพง’ ที่พุ่งสูงปรี๊ดทุกเดือน โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้ข้อมูลไว้ ดังนี้

เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ละชนิดกินไฟเท่าไร

เครื่องปั๊มน้ำ 150-200 วัตต์ ชั่วโมงละ 60-80 สตางค์

ตู้เย็น (7-10 คิว) 70-175 วัตต์ ชั่วโมงละ 28-58 สตางค์

เครื่องทำน้ำอุ่น 3,000-5,000 วัตต์ ชั่วโมงละ 12-20 บาท

เครื่องฟอกอากาศ 2-25 วัตต์ ชั่วโมงละ 0.8-10 สตางค์

เครื่องปรับอากาศ   1,200-3,300 วัตต์ ชั่วโมงละ 5-13 บาท

หลอดไฟ LED T8 16 วัตต์ ชั่วโมงละ 6.4 สตางค์

notebook 40-65 วัตต์ ชั่วโมงละ 16-26 สตางค์

ทีวี 80-180 วัตต์ ชั่วโมงละ 32-72 สตางค์

ชาร์จมือถือ 6 วัตต์ ชั่วโมงละ 2.4 สตางค์

เตารีด 750-2,000 วัตต์ ชั่วโมงละ 3-8 บาท

เครื่องซักผ้า 3,000 วัตต์ ชั่วโมงละ 12 บาท

6 วิธีเซฟ ค่าไฟแพง

1.ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า

เป็นวิธีแรก ที่ช่วยลดการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า และส่งผลต่อการใช้ไฟทันที ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็นที่แช่ของมากมายเกินความจำเป็น แอร์ ที่นานๆ ทีจะล้างจนฝุ่นเกาะ, พัดลม, เครื่องกรองอากาศ

2.ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า-ถอดปลั๊กออกเมื่อไม่ใช้งาน

คนในบ้าน ช่วยกันสอดส่อง หลังเลิกใช้งาน ให้ปิดและถอดปลั๊ก เพื่อลดการจ่ายไฟ ทั้งที่ไม่ได้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นสวิตซ์ไฟ, ปลั๊กพัดลม หรือ TV 

3.เลือกใช้หลอดไฟ LED

ได้เวลาเปลี่ยนหลอดไฟที่เป็นหลอดเก่ากินไฟ มาเป็นหลอด LED ประหยัดไฟ รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบประหยัดไฟอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

ค่าไฟ เดือน พ.ค.-ส.ค.ขึ้นที่ 4.77 บาทต่อหน่วย

4.ไม่ชาร์จโทรศัพท์มือถือข้ามคืน

สมัยนี้ไม่จำเป็นต้องชาร์จมือถือทิ้งไว้ทั้งคืน หรือชาร์จตลอดเวลาเพื่อให้เต็มแล้ว สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ใช้ระบบ Fast Charge เพื่อประหยัดเวลา-ประหยัดไฟเวลาชาร์จด้วย

5.เปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เหมาะสม หรือใช้พัดลมช่วย

การเปิดแอร์ กับพัดลมพร้อมๆ กัน ช่วยประหยัดไฟได้ ด้วยการเปิดแอร์ด้วยอุณหภูมิที่สูงหน่อย สัก 26-28 องศาเซลเซียส จะทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานน้อยลง

จึงทำให้ใช้ไฟได้น้อยลง และการเปิดพัดลมจะช่วยเพิ่มความเร็วลม ทำให้ความเย็นกระจายตัวได้มากขึ้น เมื่อมีลมเยอะ อากาศจะลดลงกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ 1-2 องศาเซลเซียส วิธีนี้จะช่วยประหยัดไฟ ในช่วงหน้าร้อนที่ต้องเปิดแอร์อยู่ตลอดได้

6.เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลาก ประหยัดไฟเบอร์ 5

เพราะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าทีได้รับการการันตีแล้วว่า ประหยัดไฟจริง ตามมาตรฐานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกระทรวงพลังงานกำหนด

ศรีสุวรรณ ร้องสอบรัฐเอื้อทุนพลังงาน ทำค่าไฟแพง

แม้ค่าเอฟที มีแนวโน้มปรับลงลดแล้ว แต่การประหยัดไฟจะช่วยเซฟเงินในกระเป๋าได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงภาวะเศรษฐกิจแบบนี้

คลิปแนะนำอีจัน
พายุถล่ม วัดห้วยปลากั้ง
ร่วมโหวตกับ Poll อีจัน
var d=document,w=”https://tally.so/widgets/embed.js”,v=function(){“undefined”!=typeof Tally?Tally.loadEmbeds():d.querySelectorAll(“iframe[data-tally-src]:not([src])”).forEach((function(e){e.src=e.dataset.tallySrc}))};if(“undefined”!=typeof Tally)v();else if(d.querySelector(‘script[src=”‘+w+'”]’)==null){var s=d.createElement(“script”);s.src=w,s.onload=v,s.onerror=v,d.body.appendChild(s);}