
สมัยนี้เงินหายาก แถมค่าของเงินก็ไม่ได้เยอะ ใช้ไม่เท่าไหร่ก็หมดแล้ว จะเหลือที่ไหนไปออม และสารพัดสิ่งที่ขัดขวางการออม แต่รู้หรือไม่ว่า การเจียดเงินสักนิดหน่อยเพื่อเก็บไว้ เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนมันจะมากขึ้น เพื่อใช้ยามฉุกเฉิน เช่น เงินสำรองตอนเจ็บป่วย มีเงินซ่อมบ้านซ่อมรถ ทำให้เราได้ในสิ่งที่ต้องการโดยที่ไม่เดือดร้อน ขาดสภาพคล่อง และไม่ต้องเป็นหนี้
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ พบว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีเงินรับฝากของธนาคารพาณิชย์ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 16,897,574 ล้านบาท เติบโตขึ้น 4.3% เมื่อเทียบกับปี 2564 ผลมาจากการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีขึ้น
1.แม่ฮ่องสอน อยู่ที่ 7,452 บาท
2.อำนาจเจริญ 9,295 บาท
3.บึงกาฬ 9,837 บาท
4.สตูล 10,966 บาท
5.หนองบัวลำภู 14,052 บาท
6.มุกดาหาร 15,703 บาท
7.อุทัยธานี 15,903 บาท
8.น่าน 16,188 บาท
9.ชัยนาท 18,060 บาท
10.ยโสธร 18,149 บาท
1.กรุงเทพมหานคร ยอดเงินฝากมากที่สุด อยู่ที่ 10,578,153 บาท
2.นนทบุรี 586,002 ล้านบาท
3.สมุทรปราการ 583,762 ล้านบาท
4.ชลบุรี 551,649 ล้านบาท
5.ปทุมธานี 345,482 ล้านบาท
6.เชียงใหม่ 291,601 ล้านบาท
7.นครปฐม 230,548 ล้านบาท
8.สมุทรสาคร 196,036 ล้านบาท
9.สงขลา 194,187 ล้านบาท
10.ระยอง 190,014 ล้านบาท
นอกจากนี้ ณ สิ้นปี 2565 พบว่า คนไทยมีบัญชีเงินฝากจำนวนทั้งสิ้น 121.40 ล้านบัญชี โดยเป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 110.84 ล้านบัญชี ซึ่งในจำนวนนี้เป็นบัญชีที่มีเงินฝากไม่ถึง 50,000 บาท ถึงจำนวน 98.52 ล้านบัญชี หรือ 88.88% และมีบัญชีผู้ฝากเงินเกิน 500 ล้านบาท อยู่ที่จำนวน 1,023 บัญชี
ต้องติดตามกันต่อว่า ปี 2566 นี้ เงินฝากของของคนไทย จะมีแนวโน้มสูงขึ้นหรือไม่ เพราะนอกจากพฤติกรรมการฝากเงินของคนไทยที่แตกต่างกันไปตามแต่ละจังหวัดแล้วนั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่สามารถนำมาวิเคราะห์เชิงลึกได้อีก แล้วจะมานำเสนอในครั้งต่อไป