เงื่อนไขคุ้มครอง ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ต้องส่ง เงินสมทบ กี่เดือน?

เช็กเลย ! เงื่อนไขคุ้มครอง ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ต้องส่ง เงินสมทบ กี่เดือน ถึงได้รับสิทธิ

ใครที่กำลังกังวลเรื่องการรับสิทธิผู้ประกันตน ตามมาตราต่างๆ ม.33 ม.39 ม.40 ต้องรู้ว่าเงินที่ส่งไป ตรงตามเงื่อนไขรับสิทธิไหม? อย่าปล่อยให้พลาดโอกาส

โดยเงื่อนไขคุ้มครองประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ส่งเงินสมทบกี่เดือนถึงมีสิทธิใช้ ซึ่งผู้ประกันตนแต่ละมาตรา ได้รับสิทธิประกันสังคมต่างกัน

– มาตรา 33 คุ้มครอง 7 กรณี

– มาตรา 39 คุ้มครอง 6 กรณี

– มาตรา 40 คุ้มครอง 3-5 กรณี

เงื่อนไขรับการคุ้มครอง

กรณีเจ็บป่วย

ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน

ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเจ็บป่วย

กรณีคลอดบุตร

ส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน

ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดมีสิทธิ์ได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

กรณีทุพพลภาพ

ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน

ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ

กรณีตาย

ส่งเงินสมทบครบ 1 เดือน

ภายใน 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย

กรณีสงเคราะห์บุตร

ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน

ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีชราภาพ

บำเหน็จชราภาพ

– กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน

– กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน + นายจ้าง พร้อมผลประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนด

บำนาญชราภาพ

ได้รับบำนาญชราภาพร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากมีการจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะปรับเพิ่มขึ้นให้อีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ ทุก 12 เดือน

คลิปแนะนำอีจัน
อย่างพลิ้ว! ทั้งขา ทั้งเอว สเต็ปนี้เต็มสิบไปเลยสิคะ