รู้ทัน รู้ก่อนคิดซื้อ – ขายทองคำ จะได้ไม่พลาด

คิดจะเล่นทองคำก่อนจะเซียน ต้องรู้ความต่างของน้ำหนักทองคำคิดอย่างไรคำนวณให้เป็น เวลาซื้อ-ขาย จะได้ไม่พลาด

สำหรับมือใหม่หลายคนที่กำลังโดดเข้ามาวงการค้าทองต่างมีจุดประสงค์ในการซื้อทองคำที่ต่างกัน บางคนต้องการซื้อทองคำในรูปแบบของทองรูปพรรณ ไว้เพื่อสวมใส่หรือไว้เป็นแค่เครื่องประดับ บางคนก็ซื้อทองคำในรูปแบบของทองคำแท่ง ไว้เพื่อเก็บมาเก็งกำไรในอนาคต ซึ่งการเลือกซื้อทั้ง 2 แบบ จะต้องดูที่น้ำหนักของทองคำให้เต็ม และคุ้มค่าสมราคา

รู้กันหรือไม่ว่าทองคำที่เราเรียกน้ำหนักทองเป็น ครึ่งสลึง หนึ่งสลึง หรือ 1 บาท ตลอดจนไปถึง 10 บาท 20 บาทนั้น หมายความว่าอย่างไร มาเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน เวลาเดินเข้าร้านทองจะได้คุยกับเขารู้เรื่อง

น้ำหนักทองคำ

สำหรับน้ำหนักตามเกณฑ์ของสมาคมค้าทองคำ จะต้องมีมาตรฐานที่ไม่ว่าจะซื้อร้านไหนก็ตาม จะต้องมีน้ำหนักที่ตรงกันกับสมาคมค้าทองคำ โดยการชั่งหนักทองคำควรเป็นเครื่องชั่งดิจิทัลที่เห็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง เพื่อให้ได้เห็นน้ำหนักได้อย่างชัดเจน ส่วนน้ำหนักทองคำนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขนาด คือ บาท กับ สลึง ถึงแม้จะมีการเรียกน้ำหนักทองอยู่หลายแบบก็ตาม ซึ่งน้ำหนักทองคำ 1 บาท เท่ากับ 4 สลึง ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของ บาท โดยอิงจากการเทียบตามบัญญัติไตรยางศ์

น้ำหนักทองคำ 1 บาท 

ในทองคำแท่ง น้ำหนักจะอยู่ที่ 15.244 กรัม

ในทองคำรูปพรรณ น้ำหนักจะอยู่ที่ 15.16 กรัม

 เพราะฉะนั้น หากมีความต้องการจะซื้อทองคำมากกว่า 1 บาท ก็ให้นำน้ำหนักไปคูณกับจำนวนบาท แต่หากต้องการซื้อทองคำที่มีน้ำหนักครึ่งหนึ่งของบาท จะเรียกว่า 2 สลึง จะมีทั้งรูปแบบที่เป็นจี้ ต่างหู สร้อย และน้ำหนักของทองคำแท่ง 2 สลึง จะเท่ากับ 7.622 กรัม ทองคำรูปพรรณ จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 7.58 กรัม

น้ำหนักทองคำ 1 สลึง

ใน 1 บาท โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ จะแบ่งออกเป็น 4 สลึง ดังนั้นทองคำ 1 สลึง คิดจากน้ำหนักทองคำ 1 บาท จะต้องนำมาหารด้วย 4

น้ำหนักทองคำแท่ง 1 สลึง 

ในทองคำแท่ง น้ำหนักจะอยู่ที่ 3.811 กรัม

ในทองคำรูปพรรณ 1 สลึง น้ำหนักจะอยู่ที่ 3.79 กรัม

และในทุกวันนี้มีการซื้อ – ขาย สินค้าทองคำที่มีน้ำหนักขนาดครึ่งสลึง เราสามารถนำน้ำหนักทองคำของสลึงมาหาร 2 ได้ค่ะ

อีกทั้งปัจจุบันยังมีการผลิตทองคำออกมาในรูปแบบใหม่ๆต่างๆเพื่อตอบรับความต้องการ หรือผลิตทองออกมาในน้ำหนักที่น้อยกว่าครึ่งสลึงลงไป ซึ่งจะจัดอยู่ในกลุ่มทองคำรูปพรรณ เนื่องจากตามน้ำหนักชั่งตวงวัดของไทย จะมีน้ำหนักที่น้อยกว่าทองคำครึ่งสลึง ผู้ซื้อขายจึงนิยมเรียกทองคำเหล่านั้นตามน้ำหนักของหน่วยที่เป็นกรัม

การซื้อทองคำแท่ง

จะมีการบวกเพิ่มจากราคาทองคำที่เรียกว่า ค่าบล็อก

ค่าบล็อก คือ การนำทองคำที่ถูกหลอมให้ละลาย แล้วนำมาเทใส่ในบล็อก ให้ได้รูปร่างออกมาเป็นทองคำแท่ง ตามบล็อก

การซื้อทองคำรูปพรรณ

จะมีการบวกเพิ่มจากราคาทองคำที่เรียกว่า ค่ากำเหน็จ

ค่ากำเหน็จ คือ ค่าแรงหรือค่าจ้างในการผลิตทองคำจากทองคำแท่ง ให้ออกมาเป็นทองคำรูปพรรณตามรูปแบบต่างๆ และราคาค่ากำเหน็จจะขึ้นอยู่ที่ความยากความง่ายของขั้นตอนการผลิตทองคำในแบบนั้นๆ

เพราะฉะนั้น การศึกษาน้ำหนักทองไว้ ถือเป็นประโยชน์แก่ตัวเราเอง โดยเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับน้ำหนักทองคำ ถึงแม้ภายนอกอาจจะดูสมส่วน คุ้มค่าคุ้มราคาแล้ว แต่ความเป็นจริง ถ้าน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ไม่ควรซื้อนะคะ แบบนั้นเรียกได้ว่าทองไม่เต็มบาทนั่นเองค่ะ

 ขอบคุณ ร้านทองออโรร่า

คลิปอีจันแนะนำ
เสี่ยงตาย! เบิ้ลเครื่องยั่วช้าง