รัฐบาลมาช้า งบปี 67 จึงล่าช้า กระทรวงการคลัง เตรียมแสนล้านบาทรับมือ

‘กระทรวงการคลัง’ เตรียม 1 แสนล้านบาท รับมืองบปี 67 ล่าช้า เพราะรัฐบาลใหม่มาช้า เพื่อให้มีเม็ดเงินหมุนเวียน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

เนื่องจากอยู่ในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า จะส่งผลกระทบต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณประจำปี 2567 ที่จะมีผลบังคับใช้ล่าช้ากว่ากำหนด อย่างมากที่สุดคือ 6 เดือน จากปฏิทินงบประมาณ ที่จะต้องเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ในทุกวันที่ 1 ต.ค.ของทุกปี

ทั้งนี้ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เผยว่า ประเมินว่าการออกงบปี 2567 ล่าช้า จะมีผลกระทบต่องบรายจ่ายลงทุน ซึ่งมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจประมาณ 0.05% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ดังนั้น กระทรวงการคลัง จึงเตรียมแผนรองรับ เพื่อให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนลงสู่ระบบเศรษฐกิจ ในช่วงที่งบประมาณยังไม่มีผลบังคับใช้ประมาณ 1 แสนล้านบาท เพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว และเพื่อให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

“งบประมาณมีผลบังคับใช้ล่าช้า ส่งผลให้งบลงทุน ซึ่งมีกรอบวงเงินทั้งหมดในปีงบประมาณ 6 แสนล้านบาทหายไป ซึ่งวงเงินดังกล่าว จะมีการเบิกจ่ายในช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ ดังนั้น จะต้องดูว่าจะมีการเบิกจ่ายเท่าใดในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปีงบ 2567 หากไม่เกิน 30% หรือวงเงิน 1 แสนล้านบาท ส่วนนี้คลังก็มีการวางแผนรองรับไว้แล้ว” นายกฤษฎา กล่าว

สำหรับแผนรองรับเพื่อไม่ให้เรื่องงบประมาณล่าช้า มีส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปี 2566-2567 ได้แก่

1.กระทรวงการคลัง ได้หารือกับสำนักงบประมาณ เรื่องแผนการใช้จ่ายงบประมาณของปีงบ 2566 ไปพลางก่อน ซึ่งเป็นอำนาจตามกฏหมายที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ มีอำนาจดำเนินการในกรณีที่ พ.ร.บ.งบประมาณฉบับใหม่ ไม่สามารถออกใช้ได้ตามกำหนด แต่มีเงื่อนไขว่าจะใช้ได้เฉพาะในหมวดของงบที่เป็นรายจ่ายประจำ และงบโครงการลงทุนที่เป็นโครงการต่อเนื่อง

2.การเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานราขการ ที่จะใช้ในปลายปีงบประมาณ แต่มาเร่งให้มาใช้ในต้นปีงบประมาณแทน (front load) เช่น งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางรายการ ซึ่งประเมินว่ามีประมาณ 5 หมื่นล้านบาท จากงบลงทุนรวมของรัฐวิสาหกิจที่มีรวมทั้งปีงบ 2567 ที่ 5 แสนล้านบาท

และ 3.ได้หารือกับสถาบันการเงินของรัฐว่า โครงการสินเชื่อผ่อนปรนที่ให้กับประชาชนและผุ้ประกอบซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลให้การอุดหนุน ซึ่งยังมีวงเงินสินเชื่อเหลืออยู่ 7 หมื่นล้านบาท ขอให้แบงก์รัฐเร่งนำมาใช้ในปลายปี 2566 นี้ เพื่อช่วยผลักดันเศรษฐกิจในปีนี้ และต้นปีหน้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค มิ.ย.66 สูงสุดรอบ 40 เดือน แต่กังวลการเมืองไข่ไก่ ขึ้นราคาแผงละ 6 บาท ตกฟองละ 4 บาท มีผลพรุ่งนี้ (14 ก.ค.66)กกพ.เปิดฟังความเห็น ค่าไฟงวดสุดท้ายปี 66 ถูกสุด 4.45 บ. แพงสุด 6.28 บ.
คลิปอีจันแนะนำ
พิธา หลังแพ้โหวต นายก “ยอมรับผล แต่ไม่ยอมแพ้”