ชาวประมง เตรียมรับมือ 4-7 ม.ค 64 ใต้ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

กรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร ชาวประมงเตรียมรับมือ 4 – 7 ม.ค 64 ภาคใต้ฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก พืชไร่ เกิดความเสียหาย เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

วันนี้ ( 6 ม.ค 64 ) กรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ว่า วันที่ 4-7 ม.ค. 64 ความกดอากาศสูงกำลังปกคลุมประเทศ ไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส มีหมอกหนาตอนเช้าและอากาศหนาวเย็น เกษตรกรต้องระวังและป้องกันโรคราน้าค้างในพืชไร่ พืชสวน ไม้ดอก พืชไร่ เกิดความเสียหายได้ และสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อาจเป็นโรคได้ง่าย

ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกาลังแรง มีคลื่นสูง 2-3 เมตร

ภาพจากอีจัน
ภาคเหนือ วันที่ 4-8 ม.ค. มีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาบางพื้นที่ บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึง หนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น ในบางพื้นที่อาจมีหมอกและมีหมอกหนาได้ เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะขณะ สัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา รวมทั้งระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในพืชไร่ พืชสวน และไม้ดอก
ภาพจากอีจัน
ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ วันที่ 4-7 ม.ค มีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศา บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึง หนาวจัด อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตร ไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะทาให้เปียกชื้นเสียหายได้ ภาคกลาง วันที่ 4-8 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนใน พืชไร่ ไม้ผล และ พืชผักไว้ด้วย สาหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ภาคตะวันออก วันที่ 4-8 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงควรระวังและป้องกันโรคราดำในมะม่วงโดยฉีด พ่นน้าบริเวณทรงพุ่ม ใบ และช่อดอก ก็จะลดการระบาดของโรคดังกล่าวลงได้ รวมทั้งระวังและป้องกันโรคราน้ำ้ค้างใน พืชไร่ พืชสวน และไม้ดอกไว้ด้วย นอกจากนี้ควรใช้น้าที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้าให้มี ประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาพจากอีจัน

ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ทางตอนบนของภาคอากาศเย็น ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนทางตอนล่าง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

เกษตรกรควรระวังหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และผักต่างๆ ส่วนทาง ตอนล่างของภาค จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจาก สภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้าป่าไหลหลากได้ สาหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ เท้ากีบ ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะ โรคปากและเท้าเปื่อย

อาการเปลี่ยนแปลงบ่อย อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองและ ดูแลพืชไร่ ผลไม้ของท่าน อาจได้รับความเสียหายได้ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งด้วยนะคะ