วิธีง่ายๆ เลี้ยงปลานิล อย่างไรที่ สร้างรายได้ ให้ตัวเองต่อเดือนครึ่งแสน

ว้าว ! ไปดูกันวิธีง่าย ๆที่ใคร ๆก็ทำได้ เลี้ยงปลานิล อย่างไรสร้างรายได้ ให้ตัวเองต่อเดือนครึ่งแสน !

พูดถึงปลานิล ! ลูกเพจเอาไปทำอะไรกันกินได้บ้างคะ บอกจันได้น้า

แต่อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่ว่า ปลานิล เป็นปลาที่มีเนื้อเยอะมากและมีรสดี คนส่วนใหญ่นิยมนำไปปรุงทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเมนู ปลานิลทอดกระเทียม , ปลานิลนึ่งซีอิ๊ว , ปลานิลนึ่งมะนาว , ต้มยำปลานิล , ปลานิลราดพริก , ฉู่ฉี่ปลานิล , ปลานิลย่างเกลือ , เมี่ยงปลานิล , ปลานิลลุยสวน และอื่น ๆ อีกมากมาย

ซึ่งปลานิลจัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ โดยการเพาะเลี้ยง จะใช้ระยะเวลา 1 ปี ในเติบโต จะมีขนาด 500 กรัม และที่สำคัญรสชาติปลาจะดี เป็นที่นิยม มาบริโภคกันอย่างมาก ซึ่งขนาดของปลาที่ตลาดต้องการจะต้องมีน้ำหนักปลาตัวละ 200-300 กรัม

และปลานิลเป็นปลาที่ขาดตลาดไม่ได้ เพราะคนส่วนใหญ่ ชอบบริโภคกันอยู่แล้ว ซึ่งทำให้เกษตรกรหลายคนสนใจหันมาเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการค้า บางรายก็ประสบความสำเร็จสร้างรายได้เกินกว่าหลักแสนต่อเดือน บางทีมีรายได้เกินกว่าหลักล้านต่อปี ทั้งนี้หากใครที่สนใจจะเลี้ยงปลานิล แนะนำว่าควรศึกษาวิธีการเลี้ยงให้เข้าใจ แม้ว่าจะเป็นปลาที่ราคาดีตลาดต้องการแต่ก็จำเป็นต้องใช้ต้นทุนในการเลี้ยงสูง โดยเฉพาะค่าอาหาร ยังไม่รวมถึงการบริหารจัดการเรื่องโรคต่างๆ อีกด้วย

สำหรับใครที่สนใจเรามาดูเทคนิคและวิธีการเตรียมบ่อกันเลยจ้า

เริ่มแรก สำหรับบ่อเลี้ยงปลานิลควรมีความลึกอย่างน้อย 1 เมตร หากเป็นบ่อเก่าให้สูบน้ำออกจากบ่อ กำจัดวัชพืช และโรยปูนขาวให้ ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อ 30 ตารางเมตร (ประมาณ 60กิโลกรัม/ไร่) เพื่อปรับสภาพบ่อ และตากบ่อเป็นเวลา 1 สัปดาห์หลังจากนั้น

จึงปล่อยน้ำเข้าบ่อเพื่อทำการเลี้ยงปลา เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่/สัปดาห์ เพื่อเป็นการสร้างอาหารธรรมชาติ เพื่อช่วยประหยัดต้นทุนค่าอาหารปลาหากต้องการเลี้ยงปลาในกระชัง ให้กางกระชังตามขนาดที่เหมาะสมกับบ่อเลี้ยงปลา สำหรับบ่อเลี้ยงปลาที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนควรสร้างตาข่ายกั้นขอบบ่อเพื่อป้องกันศัตรูของปลา

ส่วนการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์สำหรับเพาะเลี้ยง

ควรมีการคัดเลือกพ่อแม่ปลานิล ให้สังเกตลักษณะภายนอกของปลาที่ปราศจากบาดแผล พ่อแม่ปลาที่พร้อมจะวางไข่นั้นสังเกตได้จากอวัยวะเพศถ้าเป็นปลาตัวเมีย จะมีสีชมพูแดงเรื่อ ส่วนปลาตัวผู้สังเกตได้จากสีของตัวปลาที่เข้มสดใส ขนาดของปลาตัวผู้และตัวเมียควรมีขนาดไล่เลี่ยกันคือ มีความยาวตั้งแต่ 15-25 ซม.

น้ำหนักตั้งแต่ 150-200 กรัม สำหรับอัตราส่วนในการพ่อแม่พันธุ์ประมาณไร่ละ 400 ตัว และควรปล่อยอัตราส่วนพ่อปลา 2 ตัว แม่ปลา 3 ตัว เพื่อโอกาสในการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติที่มากขึ้น การให้อาหารปลานิลในบ่อ

การเลี้ยงปลานิลจำเป็นต้องให้อาหารสมทบหรืออาหารผสม ได้แก่ ปลายข้าว สาหร่าย รำละเอียดในอัตราส่วน 1:2:3 โดยให้อาหารดังกล่าวแก่พ่อแม่ปลานิลประมาณ 2% ของน้ำหนักตัว ส่วนปุ๋ยคอกแห้งก็ต้องใส่ในอัตราส่วนประมาณ 100-200 กก./ไร่/เดือน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนอาหารธรรมชาติในบ่อ ได้แก่ พืชน้ำขนาดเล็ก ไรน้ำและตัวอ่อน อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกปลานิลวัยอ่อน การให้อาหารปลานิลจึงถือเป็นต้นทุนหลักของเกษตรกร ส่วนใหญ่ที่ใช้กันเช่น รำข้าว ผสมกับปลาป่น กากถั่ว และวิตามิน นอกจากนี้ยังมีแหนเป็ด และสาหร่าย ก็สามารถใช้เป็นอาหารเสริมแก่ปลานิลได้อย่างดีเช่นกัน

ส่วนระยะเวลาในการเติบโตและผลผลิต

ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เมื่อได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องจะมีขนาดเฉลี่ย 500 กรัมในเวลา 1 ปี ผลผลิตไม่น้อยกว่า 500 กก./ไร่/ปี ซึ่งระยะเวลาในการจับจำหน่ายขึ้นอยู่กับขนาดของปลานิลและความต้องการของตลาด โดยทั่วไปหากเป็นปลานิลในบ่อรุ่นเดียวกันจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะจับจำหน่าย ราคาของปลานิลถ้าเป็นไซด์ขนาด 0.7-1.2 กิโลกรัม ราคาประมาณกิโลกรัมละ 65 บาท (ราคาขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ด้วย) หากคำนวณต้นทุนโดยเฉลี่ยต่อบ่อจากเกษตรที่ประสบความสำเร็จให้ตัวเลขคร่าวๆ ว่าหากเป็นการเลี้ยงประมาณ 6 เดือนแล้วจับขายได้ปลาน้ำหนักประมาณ 800 กรัมขึ้นไป ต้นทุนในการเลี้ยงต่อ 1 บ่อจะอยู่ประมาณ 30,000 บาท แต่ก็สามารถขายมีรายได้ต่อบ่อ 40,000 -50,000 บาท ต้นทุนส่วนใหญ่คือค่าอาหารซึ่งเกษตรกรที่มีความชำนาญก็จะมีวิธีทำสูตรอาหารที่ประหยัดมากขึ้น ทำให้มีกำไรจากการลงทุนมากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การเลี้ยง ปลานิล แม้ภาพรวมจะดูว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจแต่สำหรับคนที่ไม่เคยเลี้ยงไม่มีประสบการณ์ ต้องบอกเลยว่ายากพอสมควร เพราะเราต้องบริหารจัดการเรื่องโรคต่างๆ ให้ปลามีสุขภาพแข็งแรง รวมถึงบริหารจัดการเรื่องต้นทุนอาหารที่ต้องทำให้ปลาโตไว ขายได้ราคา

สำหรับคนที่สนใจจะเลี้ยง แนะนำว่าให้ปรึกษากับกรมประมงที่ปัจจุบันเขามีปลานิลแปลงเพศที่ทำให้เลี้ยงง่ายและขายได้ราคา หรือจะพูดคุยเรียนรู้กับเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีอยู่มากมายในเมืองไทย และลองเริ่มเลี้ยงจากจำนวนน้อยๆ แล้วค่อยต่อยอดให้มากขึ้น จะเพิ่มโอกาสสำเร็จได้มากกว่า

ขอบคุณข้อมูล thaismescenter.com