
1. ต้องรู้เป้าหมายในการลงทุน
การจะเริ่มลงทุน ต้องตอบให้ได้ก่อนว่าคุณจะลงทุนเพราะอะไร ลงทุนแบบไหน และจะใช้เงินเท่าไหร่ เพื่อเป็นการวางเป้าหมายได้ถูกต้อง พร้อมเข้าใจความเสี่ยงของการลงทุนแต่ละแบบ
2. ต้องมีความรู้พื้นฐานในการลงทุน
แน่นอนว่าถ้าเราจะลงทุนอะไรสักอย่าง จำเป็นอย่างมากที่ต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องนั่น ๆ และต้องหาข้อมูลให้รอบด้าน จากหลายแหล่ง พยายามเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คน เพราะแต่ละคนก็จะมีแนวทางการลงทุนไม่เหมือนกัน
3. ต้องรู้จักทางเลือกในการลงทุน
การลงทุนมีหลายแบบ หลายสไตล์ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละคนที่จะรับได้ โดยการลงทุนหลัก ๆ ในประเทศไทย มีดังนี้
• หุ้น เป็นการลงทุนซื้อขายในบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรและขาดทุนสูง ต้องศึกษาให้ดี
• กองทุนรวม เป็นการลงทุนโดยผู้จัดการกองทุน จะนำเงินที่เราลงไปเลือกซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงหุ้นต่างประเทศที่น่าสนใจ
• ตราสารหนี้ เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ
• อสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนที่ต้องใช้เงินสูง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ ถ้าลงทุนถูกที่ในอนาคตจะให้ผลตอบสูงกว่าเดิม
• ทองคำ เป็นการลงทุนที่สภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ตลอดเวลา และมีการซื้อขายตลอด ความเสี่ยงปานกลาง
• ประกันควบการลงทุน เป็นการทำประกันเพื่อคุ้มครองชีวิต เมื่อเสียชีวิตจะถึงจะได้รับเงินประกัน ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับเบี้ยที่ส่ง
4. ต้องรู้จักเทคนิค กลยุทธ์การลงทุนแต่ละแบบ
เพราะเป้าหมายของการลงทุนแต่ละคนไม่เหมือนกัน และการลงทุนแต่ละแบบก็ให้ผลตอบแทนไม่เหมือนกัน ฉะนั้น คุณต้องรู้เทคนิคและกลยุทธ์การลงทุนด้วย เช่น
• ลงทุนแบบความเสี่ยงน้อย ระยะยาว
กลยุทธ์ในการลงทุนรูปแบบนี้ เหมาะสำหรับคนที่วางเป้าหมายในการลงทุนระยะยาว ต้องการลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงน้อย เช่น หุ้นในบริษัทใหญ่ที่มีความมั่นคง ทองคำ ตราสารหนี้
● ลงทุนแบบความเสี่ยงปานกลาง ปรับแผนทุก 3-6 เดือน
สำหรับคนที่ต้องการลงทุนแบบมีความเสี่ยงปานกลาง เหมาะกับการซื้อหุ้นรายตัว โดยต้องซื้อหุ้นกระจายหลายตัว และแบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อลดความเสี่ยง
หากหุ้นราคาลงให้ขายและสลับไปลงทุนในตราสารหนี้ แต่ถ้าหุ้นราคาขึ้น ให้ขายตราสารหนี้ และสลับมาลงทุนในหุ้นแทน โดยต้องติดตามวิเคราะห์หุ้น และผลตอบแทนในตราสารหนี้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังต้องปรับแผนการลงทุนใหม่ทุก 3-6 เดือน เพื่อให้เหมาะสมตรงตามผลตอบแทนที่ต้องการที่สุด
● ลงทุนแบบความเสี่ยงสูง ปรับตัวตามสถานการณ์
กลยุทธ์การลงทุนนี้ ไม่ค่อยเหมาะสมกับนักลงทุนมือใหม่นัก แต่เหมาะกับผู้ที่กล้าเสี่ยง และต้องการผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งยอมรับความเสี่ยงที่สูงได้ โดยจะเป็นการซื้อหุ้นแบบรายตัวทั้งหมด ไม่แบ่งเงินไปลงทุนในช่องทางอื่น ๆ ซึ่งผู้ที่เลือกกลยุทธ์การลงทุนนี้ ต้องติดตามสถานการณ์ของหุ้นแต่ละตัวอย่างใกล้ชิด และตัดสินใจซื้อ-ขายได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
5. ต้องวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็น
ปัจจัยพื้นฐานของการลงทุน คือ การประเมินความเสี่ยง และผลกำไรของการลงทุน เพื่อกำหนดเงินลงทุนได้ถูกต้อง เช่น คนที่เป็นมือใหม่อาจจะประเมินจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตเพื่อวางแผนการลงทุน
6. สร้างพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง
เมื่อเรารู้ข้อมูล และ รู้รูปแบบการลงทุนแล้ว ก็มาถึงการสร้างพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง เพราะการลงทุกมักมีความเสี่ยงตามมาเสมอ ฉะนั้น เราต้องเลือกลงทุนและกระจายความเสี่ยงให้เหมาะสม
7. ต้องติดตามและทบทวนการลงทุนเสมอ
เป็นเรื่องสำคัญมากในการติดตามความเคลื่อนไหนของพอร์ตการลงทุน และต้องหมั่นทบกวนการลงทุนตลอด เพราะการลงทุนอาจไม่ได้เป็นไปตามที่เราวางแผนไว้ ถ้าเมื่อใดที่พอร์ตการลงทุนไม่เป็นไปตามแผน คุณจะได้ปรับเปลี่ยนเงินลงทุนได้ทัน