ตำแหน่งปวดท้อง บอกอาการได้

การปวดท้องบ่อย ๆ นั้นเป็นอะไรที่ทรมานร่างกายสุด ๆ เพราะปวดท้องทีจะมาครบทุกอย่างทั้ง ท้องอืด ท้องผูก ก็จะมาพร้อม ๆ กัน แล้วอาการปวดท้องแต่ละตำแหน่ง บอกโรคอะไรเราได้บ้าง มาหาคำตอบกันค่ะ

ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก เกิดจาก

1.รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง กากใยน้อย ทำให้กระเพาะบีบตัวช้า และใช้เวลาในการย่อยนานเกิดไป

2. พฤติกรรมในการรับปราทานอาหาร เช่น การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด หรือทางครั้งละมาก ๆ รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีรสจัดทำให้กระเพาะเกิดการอักเสบ

3.ดื่มน้ำน้อยกว่า 1.5 – 3 ลิตร/ต่อ ซึ่งเป็นปริมาณน้ำอย่างเพียงพอ

4.มีพฤติกรรมไม่ค่อยขยับร่างกาย

5.อายุที่เพิ่มมากขึ้น จะส่งผลต่อระบบย่อยอาหารเสื่อมประสิทธิภาพ

6.ดื่มแฮลกอฮอร์มากเกินไปจะส่งผลให้กระเพาะอักเสบ

7.การติดเชื่อจากแบคทีเรีย เชื่อรา ยีสต์ ทำให้ขัดขวางการทำงานของลำใส

8.ผลข้างเคียงของการใช้ยา

ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก จะเกิดอันตรายไหม

            อาการท้องอืด ท้องผูก ลักษณะนี้สามารถรักษาได้เบื้องต้น โดยการรับประทานยาขับลม หรือยาช่วยย่อย พร้อมปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ช้าลง และเคี้ยวอาหารอย่างละเอียดขึ้น

            แต่หากมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย ระบบขับถ่ายมีปัญหา เรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ อาจนำมาสู่โรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร เพราะการทำงานของลำไส้เกิดปัญหา เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคลำไส้รั่ว โรคลำไส้อักเสบ โรคมะเร็งลำไส้

และตำแหน่งที่ปวดก็สามารถบอกถึงโรคหรืออาการผิดปกติของอวัยวะและการรักษาที่แตกต่างกันด้วย มาดูกันค่ะว่าอาการปวดท้องตำแหน่งไหนบอกโรคอะไร?

ตำแหน่ง 2 ปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่

·       ปวดใต้ลิ้นปี่ร่วมกับเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก อาจจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

·       ปวดเป็นประจำเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร หากปวดรุนแรงหรืออาเจียนด้วยอาจเป็นตับอ่อนอักเสบ

·       หากคลำเจอก้อนเนื้อขนาดใหญ่ และแข็งแสดงว่าตับโต หรือหากคลำได้ก้อนสามเหลี่ยมแบนเล็กๆ อาจเป็นกระดูกลิ้นปี่

·       หากอืดแน่นท้องเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน อาจเป็นนิ่วในถุงน้ำดี

ตำแหน่ง 3 ปวดบริเวณชายโครงซ้าย

·       จะตรงกับตำแหน่งของม้าม อย่ามัวรีรอรีบไปพบแพทย์

ตำแหน่ง 4,6 ปวดบริเวณบั้นเอวขวาหรือซ้าย

·       ตำแหน่งตรงกับท่อไตพอดี

·       ปวดเอวหรือมีปัสสาวะเป็นเลือดอาจจะเป็นนิ่วที่ไต จะเป็นข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างก็ได้ ซึ่งจะมีอาการปวดมากจนเหงื่อออก

·       ปวดร้าวถึงต้นขา การเริ่มต้นของการเป็นนิ่วในท่อไต

·       อาการปวดร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น เป็นกรวยไตอักเสบ

·       คลำเจอก้อนเนื้อรีบไปพบแพทย์

ตำแหน่ง 5 ปวดบริเวณรอบสะดือ

·       ตรงกับตำแหน่งลำไส้เล็ก มักจะมีอาการปวดบิด ถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน หากกดแล้วปวดมากอาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ ปวดจนทนไม่ไหวให้พบแพทย์ทันที

ตำแหน่ง 7 ปวดบริเวณท้องน้อยขวา

·       เป็นตำแหน่งไส้ติ่ง ท่อไต ปากมดลูก และรังไข่ขวา

·       ปวดเกร็งเป็นระยะๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา เป็นอาการกรวยไตอักเสบ หรือนิ่วท่อไต ควรรีบพบแพทย์

·       ปวดเสียด บีบ ตลอดเวลา กดแล้วเจ็บมากบริเวณท้องน้อยด้านขวาอาจจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ

·       ปวดร่วมมีไข้สูง มีตกขาว อาการของปีกมดลูกอักเสบ

·       คลำแล้วเจอก้อนเนื้อ อาการก้อนไส้ติ่งอักเสบ หรือรังไข่ผิดปกติ

ตำแหน่ง 8 ปวดท้องน้อย

·       ตรงตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะ และมดลูก

·       ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปวดเวลาปัสสาวะ อาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

·       ปวดท้องน้อย มีไข้สูง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น อาจจะเป็นมดลูกอักเสบ

·       ปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน มีอาการปวดเรื้อรัง แสดงว่ามดลูกมีปัญหาควรรีบพบแพทย์

ตำแหน่ง 9 ปวดท้องน้อยซ้าย

·       ตำแหน่งปีกมดลูกและท่อไต รังไข่ด้านซ้าย ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย

·       ปวดเกร็งเป็นระยะๆ ร้าวมาที่ต้นขา เป็นนิ่วในท่อไต

·       ปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น และมีตกขาว อาการของมดลูกอักเสบ

·       ปวดร่วมกับถ่ายอุจจาระผิดปกติ เป็นอาการของลำไส้ใหญ่อักเสบ

·       คลำพบก้อนร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ เห็นอุจจาระมีมูกปนเลือด ท้องผูกสลับกับท้องเสีย น้ำหนักลด อาจเป็นอาการเนื้องอกในลำไส้

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลขอนแก่น ราม