คนไทยอ่อนภาษาอังกฤษ อันดับรั้งท้าย บ๊วยเมียนมาเเละกัมพูชา

เพราะกลัวพูดผิด เเล้วเป็นตัวตลก คนไทยอ่อนภาษาอังกฤษ อันดับรั้งท้าย บ๊วยเมียนมาเเละกัมพูชา

เราไม่กล้าเเละกลัวการพูดภาษาอังกฤษ คือเรื่องจริงของคนไทย เพราะกลัวพูดปิด กลัวเป็นตัวตลก กลัวหลายๆอย่าง ทำให้ภาษาอังกฤษของคนไทยน้อยคนที่จะเก่งเลย

โดยเว็บไซต์ EF เป็นองค์กรนานาชาติที่เชี่ยวชาญเรื่องการฝึกอบรมภาษา การเดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และหลักสูตรการศึกษาเชิงวิชาการเพื่อช่วยเปลี่ยนความฝันให้เป็นโอกาสสำหรับคนทุกวัยและทุกเชื้อชาติ ซึ่งมีหลายหลักสูตรตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับบัณฑิตศึกษา

ล่าสุด องค์กรได้ออกมาเผยอันดับประเทศและภูมิภาคที่ใช้ทักษะภาษาอังกฤษได้ดีที่สุดโดยอ้างอิงจาก 2.1 ล้านคนและ 111 ประเทศทั่วโลก ซึ่งนำคะแนนมาแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษคล่องและมีประสิทธิภาพในระดับสูงมาก, ระดับสูง, ระดับปานกลาง, ระดับต่ำและระดับต่ำมาก

ผลปรากฏว่า ประเทศที่คะแนนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษระดับสูงมากนำมาเป็นอันดับ 1 คือ เนเธอร์แลนด์ ตามมาด้วยสิงคโปร์ ออสเตรีย นอร์เวย์ และเดนมาร์ก ซึ่งประเทศสิงคโปร์เป็นชาติเดียวจากทวีปเอเชียที่ติดอันดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษระดับสูงมาก

หากจัดอันดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเฉพาะในทวีปเอเชีย พบว่า สิงคโปร์อยู่อันดับ 1 ด้วย 642 คะแนน ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 578 คะแนน มาเลเซีย 574 คะแนน ฮ่องกง 561 คะแนน เกาหลีใต้ 537 คะแนน ส่วนทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยจัดอยู่ 4 อันดับรั้งท้ายด้วย 423 คะแนน ซึ่งมีผลคะแนนน้อยกว่าเวียดนาม (คะแนน 502) เมียนมา (437 คะแนน) และกัมพูชา (434 คะแนน)

ประเทศไทยนั้น ติดอันดับที่ 97 จาก 111 ประเทศทั่วโลก จัดอยู่ในกลุ่มที่ใช้ภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพในระดับต่ำมาก เป็นอันดับที่ 21 จาก 24 ของทวีปเอเชีย ตามรายงานภูมิภาคที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับต่ำ คือ ภาคกลาง ส่วนภาคอื่น ๆ นั้นถูกจัดอันดับที่ทักษะภาษาอังกฤษต่ำมาก

ซึ่งจังหวัดที่ถูกสำรวจว่ามีทักษะการพูดภาษาอังกฤษได้ในประเทศไทยคือ นนบุทรี (คะแนน: 486) กรุงเทพฯ (คะแนน:483 ) เชียงใหม่ (คะแนน:457 ) พัทยา (คะแนน:445 ) ขอนแก่น (คะแนน: 438) ภูเก็ต (คะแนน:430 ) และอุดรราชธานี (คะแนน:412 ) โดยกลุ่มอายุที่มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษดีที่สุดในประเทศไทยคือ กลุ่มอายุ 26 – 30 ปี

อย่างไรก็ตาม ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในประเทศไทยเคยอยู่ในระดับต่ำในช่วงปี 2560 (อันดับ 53 จาก 80) และปี 2561 (อันดับ 64 จาก 88) ก่อนจะลดลงมาเรื่อย ๆ ในปี 2562 (อันดับ 74 จาก 100) ปี 2563 (อันดับ 89 จาก 100) และ ปี 2564 (อันดับ 100 จาก 112)