มองรัฐธรรมนูญ 'ญี่ปุ่น' 75 ปี ไม่เคยแก้แม้แต่ครั้งเดียว

ย้อนรอยรัฐธรรมนูญ ‘ญี่ปุ่น’ 75 ปี เก่าแก่-ยาวนาน แต่ไม่เคยแก้แม้แต่ครั้งเดียว
มองรัฐธรรมนูญ 'ญี่ปุ่น' 75 ปี ไม่เคยแก้แม้แต่ครั้งเดียว

'รัฐธรรมนูญ' เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศมีการปกครองแบบนิติรัฐ คือ เป็นการปกครองโดยกฎหมาย และในบรรดากฎหมายที่ออกมาบังคับใช้กับพลเมือง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดหนึ่งเดียวซึ่งกฎหมายอื่นใด จะขัดหรือแย้งไม่ได้

แต่เมื่อบริบทของสังคม ที่พลเมืองผู้ใช้กฎหมายเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กฎหมายจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมของสังคมโลก ซึ่งในรอบ 90 ปี นับตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย.2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)

ที่มีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ฉบับแรกของไทย ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมากถึง 20 ฉบับ มากที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับ 4 ของโลก

ซึ่งประเทศที่มีรัฐธรรมนูญมากที่สุดในโลก ได้แก่ 'สาธารณรัฐโดมินิกัน' เป็นประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 2 ใน 3 ทางทิศตะวันออกของเกาะฮิสปันโยลา ซึ่งขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีส ที่เป็นแชมป์โลก เพราะในรอบกว่า 150 ปี มีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 39 ฉบับ โดยฉบับล่าสุดเป็นฉบับของปี 2558

ถัดมาคือ ประเทศเวเนซุเอลา ที่มีรัฐธรรมนูญ 26 ฉบับ, เฮติ 23 ฉบับ ขณะที่ ฝรั่งเศส 17 ฉบับ สเปน 12 ฉบับ จีน-ฟิลิปปินส์ 4 ฉบับ ลาว-เมียนมา 3 ฉบับ และสหรัฐอเมริกา 1 ฉบับ

ขอบคุณเจ้าของภาพ

แต่รู้หรือไม่ว่า มีหนึ่งประเทศพัฒนาแล้วของเอเชีย และของโลก อย่างประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวมานานถึง 75 ปี ซ้ำยังเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสหรัฐอเมริกาด้วย

ซึ่งก่อนหน้าที่ รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ญี่ปุ่นมีรัฐธรรมนูญมาแล้วหนึ่งฉบับ คือ 'รัฐธรรมนูญเมจิ' ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่พระจักรพรรดิเป็นผู้ถือครองอำนาจสูงสุดของประเทศ โดยเอื้อให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทบริหารประเทศแทนพลเรือนที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

แต่ถัดมา ญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง จึงต้องยอมรับเงื่อนไขที่เสนอโดยประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ต้องยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาปกครองประเทศตั้งแต่ปี 1945-1952 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงญี่ปุ่นอย่างมาก

จากประเทศที่ถูกครอบงำโดยลัทธิทหารให้เป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ โดยสหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้งหน่วยงาน Supreme Commander for the Allied Powers (SCAP) หรือเรียกว่า General Headquarters (GHQ) ซึ่งมี 'จอมพลดักลาส แมกอาเธอร์' (General Douglas MacArthur) เป็นผู้ควบคุม

แต่แม้ สหรัฐอเมริกา จะเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญให้ญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นแทบไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาในรัฐธรรมนูญเมจิเลย ดังนั้น จอมพลดักลาส แมกอาเธอร์ จึงยินยอมให้ญี่ปุ่นใช้ระบบสภาคู่ตามที่ญี่ปุ่นร้องขอ

ซึ่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ที่ร่างโดยสหรัฐอเมริกาจุดเด่นอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆ คือ

1) รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก

2) รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นยังมีความแปลกแตกต่างจากรัฐธรรมนูญทั่วไป คือ มีจำนวนคำที่น้อย และกำกวม ให้สามารถยืดหยุ่นได้ ทำให้ชนชั้นนำของญี่ปุ่นสามารถใช้ประโยชน์จากความพิเศษของรัฐธรรมนูญนี้ได้ อีกทั้ง กลไกในการแก้ไขเกิดขึ้นได้อย่างยากลำบากด้วย

ต่อมาในปี 1947 ญี่ปุ่นประกาศให้ร่างรัฐธรรมนูญที่สหรัฐอเมริกาเป็นเป็นผู้ควบคุมนั้น มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นก็ไม่เคยถูกแก้ไขแม้แต่ครั้งเดียว

แต่ด้วยกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งก่อให้เกิดการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้มากยิ่งขึ้น

คลิปอีจันแนะนำ
คดีแตงโม แม๊พอใจ ได้โบนัสเพิ่ม!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

No stories found.

ข่าวยอดนิยม

No stories found.
logo
ข่าว อีจัน
www.ejan.co