ดัชนีความร้อนระอุ วันนี้ (14 เม.ย.66) ‘ชลบุรี’ ทะลุ 53.2 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดค่าดัชนีความร้อน (14 เม.ย.66) 5 จังหวัดระอุ ‘ชลบุรี’ ทะลุ 53.2 องศาเซลเซียส

ก่อนหน้านี้ นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ให้สัมภาษณ์กับ ‘อีจัน’ ถึงสถิติการเกิดโรคฮีทสโตรก ว่า เมื่อปี 2565 มีผู้ป่วยโรคฮีทสโตรกเกือบ 100 ราย สามารถนำส่งโรงพยาบาลได้ทันเวลา จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อร่างกาย 

ขณะที่ปี 2566 นี้ ผ่านเวลามาเพียง 3 เดือน พบว่า จำนวนผู้ป่วยอยู่ที่ 20-30 รายแล้ว สอดคล้องกับอุณหภูมิหน้าร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น ตามคาดการณ์ของ ‘กรมอุตุนิยมวิทยา’ ว่า หน้าร้อนปีนี้ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีกว่า อยู่ที่ 40-43 องศาเซลเซียล

กรมอุตุนิยมวิทยา จึงร่วมกับ กรมอนามัย จัดทำพยากรณ์ค่าดัชนีความร้อน ซึ่งเป็นค่าอุณหภูมิที่ร่างกายรู้สึกได้ โดยคำนวณจากค่าอุณภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูงและอุณหภูมิอากาศสูง ยิ่งทำให้ค่าดัชนีความร้อนสูงมากยิ่งขึ้นไปด้วย

และร่างกายของคนเราจะขับเหงื่อออกไม่ได้ จึงทำให้รู้สึกร้อนมากกว่าปกติและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่แล้วค่าดัชนีความร้อน จะมีค่าสูงสุดในช่วงบ่ายของวัน จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

สำหรับวันที่ 14 เม.ย.66 พบว่า จังหวัดที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายภาค ดังนี้

ภาคเหนือ จ.เพชรบูรณ์ อยู่ที่ 46.3 องศาเซลเซียล

ภาคอีสาน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา อยู่ที่ 42.7 องศาเซลเซียล 

ภาคกลาง เขตบางนา กทม. อยู่ที่ 52.6 องศาเซลเซียล 

ภาคตะวันออก อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี อยู่ที่ 53.2 องศาเซลเซียล 

ภาคใต้ จ.ภูเก็ต อยู่ที่ 46.7 องศาเซลเซียล 

สำหรับค่าดัชนีความร้อน แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับเฝ้าระวัง แทนค่าดัชนีความร้อน 27-32 องศาเซลเซียล ผลกระทบต่อสุขภาพ คืออ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อน หรือออกกำลังกาย หรือทำงานใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน

ระดับเตือนภัย แทนค่าดัชนีความร้อน 32-41 องศาเซลเซียล ผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดดหากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน 

ระดับอันตราย แทนค่าดัชนีความร้อน 41-54 องศาเซลเซียล ผลกระทบต่อสุขภาพ มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะฮีทสโตรกได้หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน 

ระดับอันตรายมาก แทนค่าดัชนีความร้อน มากกว่า 54 องศาเซลเซียล ผลกระทบต่อสุขภาพ จะเกิดภาวะฮีทสโตรก โดยมีอาการตัวร้อน เวียนศีรษะ หน้ามืด ซึมลง ระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตได้หากสัมผัสความร้อนติดต่อกันหลายวัน

“สังเกตอากาศตัวเอง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ควรลดกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หากทำงานกลางแจ้งควรทำงานเป็นกลุ่ม ขณะเดียวกัน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ สุรา น้ำอัดลม และดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ” น.ส.ชมภารี กล่าว

เล่นน้ำสงกรานต์กันแล้ว ก็อย่าลืมดูแลตัวเองกันนะ หากพบเจอผู้เป็นโรคฮีทสโตรก สามารถช่วยเหลือเบื้องต้น โดยนำเข้าในที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถ้ามีการอาเจียนให้นอนตะแคงก่อน เมื่ออาเจียนแล้วให้นอนหงาย คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออก

ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบ ตามซอกลำตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ เพื่อระบาย ความร้อนร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน ราดน้ำเย็นลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลง ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทน แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด 

คลิปแนะนำอีจัน
สาวโชว์เต้ากลางงานสงกรานต์ สารภาพ “หนูเมามาก”