
นับเป็นวันที่ 3 แล้วตั้งแต่การประท้วงลงท้องถนน ของประชาชนชาวเมียนมา ต่อการต่อต้านการรัฐหาร ของ พล.อ. อาวุโส มิน อ่อง หลาย ซึ่งตั้งแต่การยึดอำนาจ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ภาพหนึ่งที่เราจะเห็น และเป็นที่พุดถึงกันนั่นคือ การใช้หม้อ หรือกระทะ มาเคาะ ส่งเสียง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการประท้วง
ที่น่าสนใจ การประท้วงโดยใช้เครื่องครัวลักษณะนี้ ไม่ได้มีในเมียนมาครั้งแรก การประท้วงด้วยหม้อนั้น เคยมีมานานแล้ว และเป็นหนึ่งในยุทธวิธีที่ได้รับความนิยมด้วย!
สำหรับการประท้วงด้วยหม้อ เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก ตรงกับ พ.ศ.2373ในการประท้วงปฏิวัติเดือนกรกฎาคม ครั้งที่ 2 ในการประท้วงต่อพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปส์ ที่ 1 ซึ่งเป็นประเพณี ของชารีวารี เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย
จากนั้นในปี พ.ศ.2504 ในการต่อสู้เพื่อประกาศเอกราชต่อฝรั่งเศส ของประเทศแอลจีเลีย การส่งเสียงจากหม้อไห กลับถูกนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสียงของประชาชนในการเรียกร้อง
จนมาถึงในปี 2514 การใช้หม้อประท้วง ได้รับการใช้อย่างกว้างขวางในประเทศแถบอเมริกาใต้ โดยมีการให้ชื่อเรียกว่า cacerola ซึ่งแปลว่า "หม้อสตูว์" ในภาษาสเปน และใช้ในการประท้วงการบริหารราชการแผ่นดิน ของประธานาธิบดีซัลบาดอร์ อาเยนเด ในเรื่องความอดยาก
การประท้วงในลักษณะเดียวกันนั้น ถูกนำมาใช้เช่นกัน ในการประท้วง นายเฟอร์ดินานส์ มาร์คอส ต่อการเลือกตั้งสกปรกในปี พ.ศ.2521
สำหรับการประท้วงด้วยการเคาะหม้อ ที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นที่ประเทศอาร์เจนติน่า ในสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ โดยมีการรวมตัวกันในวันที่ 19 ธันวาคม เพื่อทำการชุมนุมขนานใหญ่
จากนั้น ในปี 2558-2559 ชาวบลาซิล พร้อมกันเดินขบวนเคาะหม้อ ในการประท้วง ประธานาธิบดีหญิง จิลมา รูเซฟ
ส่วนในปี 2562 ประเทศ ซีลี และเอกวาดอร์ ประท้วงด้วยสัญลักษณ์นี้
แต่นอกเหนือจากใช้เป็นสัญลักษณ์การประท้วง การเคาะหม้อดังกล่าว ยังใช้เป็นลักษณ์ในการขอบคุณอีกด้วย โดยชาวอินเดียทั่วประเทศ พร้อมใจกันเคาะ เพื่อให้กำลังใจและขอบคุณ บุคลากรทางการแพทย์ ที่เป็นแนวหน้าในการต่อสู้กับโรคไวรัสโควิด19