
เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และ องค์กรอนามัยโลกประจำประเทศไทย ได้จัดแถลงข่าว และจัดงานสัมนาภาคีเครือข่ายขึ้น เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 65 เพื่อสร้างเข้าใจ ถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ยาสูบ
รองศาสตราจารย์ เนาวรัตน์ เจริญค้า ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า
ในขั้นตอนการเพาะปลูกยาสูบเพียงอย่างเดียวต้องใช้น้ำ ในปริมาณเท่ากับคนหนึ่งคนใช้น้ำตลอดทั้งปี วงจรของบุหรี่หนึ่งมวน ตั้งแต่การปลูก การผลิตการกระจายผลิตภัณฑ์ การใช้การกำจัด ต้องใช้น้ำประมาณ 3.7 ลิตร ดังนั้นหากผู้สูบบุหรี่ปกติทั่วไปเลิกบุหรี่จะสามารถประหยัดน้ำได้มากถึง 74 ลิตรต่อวัน
นอกจากนี้ การผลิตยาสูบทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไชด์เกือบ 84 ล้านเมตริกตันต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับการ
ปล่อยจรวด 280,000 ลำ สู่อวกาศ
ควันบุหรี่มีส่วนทำให้ระดับมลพิษทางอากาศสูงขึ้น และประกอบไปด้วยก๊าซเรือนกระจก
3 ชนิด ได้แก่
-คาร์บอนไดออกไซด์
-มีเทน
-ไนตรัสออกไซด์
ซึ่งสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในอาคารและกลางแจ้ง
นอกจากนี้ ไร่ยาสูบยังทำลายสุขภาพของเด็ก โดยปกติแรงงานเด็กในไร่ยาสูบมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เนื่องจากน้ำหนักตัวเด็ก กับสัดส่วนของนิโคติน ที่ดูดซึมผ่านผิวหนังจากการสัมผัสกับใบยาสูบ ทำให้อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 เพิ่มขึ้น
ส่วนผู้หญิงที่ทำไร่ยาสูบ จะได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากอันตรายของการทำไร่ยาสูบในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยส่งผลให้เกิดความเสี่ยงสูงขึ้นของภาระการมีบุตรยากและปัญหาด้านการเจริญพันธุ์
บุหรี่เป็นภัยตั้งแต่คนปลูกไปจนถึงคนสูบและคนใกล้ตัวเลยนะคะ อันตรายแบบนี้เลิกได้เลิกเถอะค่ะ เพื่อตัวคุณเองและคนรอบข้าง