กฎหมายฉีดไข่ฝ่อ ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว!

ราชกิจจาฯ ประกาศกฎหมายฉีดไข่ฝ่อแล้วเมื่อ 25 ต.ค.65 โดยจะบังคับใช้หลังประกาศ 90 วัน หรือประมาณ 25 ม.ค.66

ถึงเวลาที่กฎหมายต้องจัดการขั้นเด็ดขาดกับผู้ที่ข่มขืน และย่ำยี ทางเพศคนอื่นสักที!

เมื่อวันที่ 25 ต.ค.65 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2565 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หรือจะมีผลบังคับใช้จริงประมาณวันที่ 25 ม.ค.66

เรื่องนี้ นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2565 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรมและสร้างความปลอดภัยให้สังคม รวมถึงแก้ปัญหาและลดอัตราการกระทำความผิดซ้ำ

จากข้อมูลของกระทรวงยุติธรรม พบว่า ผู้กระทำผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง เมื่อพ้นโทษแล้ว จะกระทำความผิดซ้ำในระยะเวลา 3 ปี มากกว่าร้อยละ 50 จึงมีความจำเป็นต้องออกกฎหมายฉบับนี้ขึ้น

ทั้งนี้ กฎหมายฉบับนี้ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง อาทิ

1.กำหนดให้มีคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ มีหน้าที่ เช่น กำหนดนโยบายและแผนการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิด ให้คำปรึกษาแลข้อเสนอแนะ และคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ มีหน้าที่ เช่น กำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ เป็นต้น

2.มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด เช่น พนักงานอัยการมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ใช้มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อป้องกันไม่ให้กระทำความผิดซ้ำ ด้วยมาตรการทางการแพทย์ หรือมาตรการอื่นๆ ที่รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมกำหนดในกฎกระทรวง

3.มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ หากมีเหตุให้เชื่อว่านักโทษเด็ดขาดจะกระทำความผิดซ้ำภายหลังพ้นโทษ ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษได้ เช่น ห้ามเข้าใกล้ผู้เสียหาย ห้ามทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด ห้ามเข้าเขตกำหนด ห้ามออกนอกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล ห้ามก่อให้เกิดอันตรายต่อละแวกชุมชนที่ตนพักอาศัย ให้พักอาศัยในสถานที่ที่กำหนด เป็นต้น

4.มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ ศาลอาจมีคำสั่งให้ใช้มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษแก่นักโทษเด็ดขาด หากศาลเห็นว่ามีเหตุเชื่อได้ว่าผู้นั้นจะไปกระทำความผิดซ้ำ และไม่มีมาตรการอื่นใดที่อาจป้องกันไม่ให้ไปกระทำความผิดได้

5.การคุมขังฉุกเฉิน กรณีมีเหตุเชื่อได้ว่าผู้ถูกเฝ้าระวังจะกระทำความผิดและมีเหตุฉุกเฉิน หากไม่มีมาตรการอื่นที่อาจป้องกันไม่ให้ผู้ถูกเฝ้าระวังกระทำความผิดได้ เมื่อพนักงานอัยการร้องขอ ศาลอาจสั่งคุมขังฉุกเฉินผู้ถูกเฝ้าระวังได้ไม่เกิน 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง

ทั้งนี้ ให้นำพระราชบัญญัติดังกล่าวไปใช้บังคับกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล รวมถึงกรณีที่จะมีการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาด ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตามที่กำหนดอยู่ในวันก่อนวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับด้วย

นอกจากนี้ สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวอยู่ที่ หมวด 4 มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ ซึ่งมี มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ หลายมาตรการ ดังนี้

(1) ห้ามเข้าใกล้ผู้เสียหายจากการกระทำความผิด

(2) ห้ามทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด

(3) ห้ามเข้าเขตกำหนด

(4) ห้ามออกนอกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล

(5) ห้ามก่อให้เกิดอันตรายต่อละแวกชุมชนที่ตนพักอาศัย

(6) ให้พักอาศัยในสถานที่ที่กำหนด

(7) ให้พักอาศัยในสถานบ้าบัดที่กำหนดหรือให้ไปอยู่ภายใต้การดูแลในสถานบ้าบัดภายใต้

การด้าเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งได้รับการรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขตามที่ศาลเห็นสมควร

(8) ให้ปฏิบัติตามค้าสั่งของเจ้าพนักงานหรือผู้ดูแลสถานที่พักอาศัยหรือสถานบ้าบัด

(9) ให้มารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติหรือได้รับการเยี่ยมจากพนักงานคุมประพฤติหรือ

อาสาสมัครคุมประพฤติหรือเจ้าหน้าที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนด

(10) ให้ใช้มาตรการทางการแพทย์ หรือมาพบหรือรับการตรวจรักษาจากแพทย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่ศาลหรือพนักงานคุมประพฤติกำหนด

(11) ให้เข้ารับการบำบัด ฟื้นฟู แก้ไข หรือเข้าร่วมกิจกรรมตามที่ศาลหรือพนักงานคุมประพฤติกำหนด

(12) ให้แจ้งพนักงานคุมประพฤติทราบถึงการเปลี่ยนสถานที่ทำงานหรือการเปลี่ยนงาน

(13) ให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวในการเฝ้าระวัง

ในส่วนมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ตาม (10) จะมีมาตรการทางการแพทย์ ให้ยากดฮอร์โมนเพศชาย (ฉีดให้ฝ่อ) แก่ผู้กระทำผิด หากเห็นว่า มีความจำเป็นต้องใช้ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช และอายุรศาสตร์อย่างน้อย 2 คน เห็นพ้องกัน และได้รับความยินยอมจากผู้กระทำผิด และให้นำผลการใช้มาตรการทางการแพทย์ดังกล่าว เป็นเงื่อนไขพิจารณาลดโทษ พักการลงโทษ หรือให้ผู้กระทำผิดได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนดได้ เป็นต้น

ที่มา : http://ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/066/T_0006.PDF

คลิปแนะนำอีจัน
มอบนิ้ว พิสูจน์รักแท้!