NARIT ชวนดู ดวงจันทร์ ค่ำนี้จะมี ปรากฏการณ์ “ จันทรุปราคาเงามัว”

ชวนดู ดวงจันทร์ ค่ำนี้ NARIT เผย จะมี ปรากฏการณ์ “ จันทรุปราคาเงามัว” ส่งท้ายปี 2563

จันทร์เอ๋ยจันทร์ จะแอบเงาหลบไปไหน… NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนทุกคนรอชม ปรากฏการณ์ “ จันทรุปราคาเงามัว ” ส่งท้ายปี 2563 !!!

ค่ำวันนี้ (30 พ.ย. 63) NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยว่า จะเกิด ปรากฏการณ์ “ จันทรุปราคาเงามัว ” โดยประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ ดวงจันทร์ ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 17:49 น. ไปจนถึงเวลา 18:53 น. สังเกตได้ทั่วประเทศ แต่มองด้วยตาเปล่าค่อนข้างยาก เนื่องจาก ดวงจันทร์ โคจรเข้าไปในเงามัวของโลกบางส่วน ไม่ได้ผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก ดวงจันทร์ จึงไม่เว้าแหว่ง ยังคงมองเห็น ดวงจันทร์ เต็มดวง แต่มีความสว่างในส่วนที่อยู่ในเงามัวลดลงเล็กน้อยเท่านั้น

ภาพจากอีจัน


นอกจากนี้ ยังเชิญชวนผู้ที่ชอบถ่ายภาพดาราศาสตร์หรือผู้ที่สนใจ ร่วมเก็บภาพผ่านเลนส์ได้ โดยแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพ จันทรุปราคาเงามัว ดังนี้
1.เปิดจอ LCD หลังกล้องเพื่อช่วยในการโฟกัสภาพ ดวงจันทร์ ให้ชัดที่สุด โดยเลือกจุดโฟกัสบริเวณหลุมบน ดวงจันทร์
2.ใช้ค่า ISO ประมาณ 100 – 200 เนื่องจาก ดวงจันทร์ มีความสว่างมากอยู่แล้ว
3.ใช้ค่ารูรับแสงที่คมชัดมากที่สุด เช่น f/8.0
4. ถ่ายภาพผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสูงๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดของเงามัวชัดเจนมากที่สุด
5.ตรวจสอบภาพถ่ายจากหลังกล้อง ว่าภาพถ่ายไม่สว่างโอเวอร์มากเกินไป เพราะจะทำให้ไม่เห็นรายละเอียดของส่วนเงามัวได้

ภาพจากอีจัน


มาทำความรู้จัก ปรากฏการณ์ จันทรุปราคา กันหน่อย
NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ บอกว่า ปรากฏการณ์ จันทรุปราคา (Lunar Eclipse) เป็น ปรากฏการณ์ ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เกิดขึ้นเฉพาะในวันดวงจันทร์เต็มดวง หรือ ช่วงข้างขึ้น 14-15 ค่ำ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ จนดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวง และเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกจากเงามืดของโลก

ภาพจากอีจัน