ผู้ประสานงานสิทธิแรงงานข้ามชาติ ชี้ แรงงานให้ความร่วมมือเต็มที่ ติงระบบตรวจคัดกรอง

ผู้ประสานงานสิทธิแรงงานข้ามชาติ ระบุ ระบบคัดกรองโรคไม่เหมาะสม ควรวางแผนให้ดี ชี้แรงงานต่างด้าวพร้อมให้ความร่วมมืออย่างดี

จากกระแสข่าวมีขบวนการลักลอบพา แรงงานต่างด้าว เข้าประเทศและทำให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อีกรอบหนึ่งนั้น ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลและหวาดระแวง แรงงานต่างด้าว ในประเทศไทย
น.ส.สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงาน เครือข่าย เพื่อสิทธิ แรงงานข้ามชาติ (MWRN) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่ไม่มีความชัดเจน เนื่องจากภาวการณ์แพร่ระบาดทั้ง ประเทศต้นทาง และ ประเทศปลายทาง แต่ปัญหาที่แรงงานประสบมากที่สุด คือ การที่ นายหน้า หลอกลวง ให้มา ทำงาน แล้วปล่อยลอยแพ ทำให้ ค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้ มันจึงมากกว่าปกติ จากที่ กฎหมาย ได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งสูงถึง 2-3 เท่า จากปกติ

ภาพจากอีจัน

ในส่วนของการทยอยกลับประเทศของ แรงงานต่างด้าว ในช่วงนี้นั้น น.ส.สุธาสินี กล่าวว่า เป็นปกติของแรงงาน เมื่อเขารู้สึกว่า ได้รับความลำบาก ไม่มีทางออก ก็ต้องการที่จะกลับไปยัง ภูมิลำเนา ของเขามากกว่า เช่น ในกรณี ถูกเลิกจ้าง และไม่สามารถหา นายจ้างใหม่ได้ โดยที่ นายจ้างคนเก่า ไม่ได้ให้ใบแจ้งออก หรือการมีปัญหาของใบแจ้งออก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนงานคนนั้น ทำให้ไม่สามารถไปหา นายจ้าง คนใหม่ได้ เพราะการเขียนในใบแจ้งออกนั้น มีผลต่อการไปหางานใหม่เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนั้น จะส่งผลกระทบต่อ รายจ่ายในชีวิตประจำวัน รวมทั้งค่าอุปโภคต่างๆ เช่น ค่าเช่าหอพัก

“ส่วนใหญ่แรงงานที่ทำงานในไทย ในช่วงที่ผ่านมานั้น จะไม่ค่อยมีผลกระทบมากนัก เพราะเป็น แรงงานต่างด้าว ที่เข้าเมืองมาถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านการลงนามในเอ็นโอยูระหว่างประเทศ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มาจากการปิดประเทศในการระบาดรอบแรก ทำให้หนังสือสัญญาหรือเอกสาร การทำงาน หมดอายุ เพราะด่านชายแดนปิดทั้งหมด ทำให้เขากลายเป็น คนที่ไม่ได้อยู่ในระบบ”

อย่างไรก็ดี มีปัญหาอย่างหนึ่ง ที่ทางประสานงาน เครือข่าย เพื่อสิทธิ แรงงานข้ามชาติ กังวล คือ การคัดกรองโรค โดยระบบและวิธีการนั้น ในแต่ละ พื้นที่ ที่เข้าไปทำการตรวจคัดกรองโรคนั้น ไม่มีรูปแบบ หรือ แผนการทำงานที่ชัดเจน จะต้องตั้งเต็นท์ไหม หรือ ตั้งจุดตรวจคัดโรค ตรงไหน เมื่อมีการประกาศคัดกรอง แรงงาน เขาก็มายืนรอ กลางที่ชุมชน กลางแสงแดด ซึ่งส่วนตัวมองว่า การจัดการ แบบนี้นั้น ให้คนมายืนตากแดด จนกว่าจะถึงคิวเข้ารับการวัดอุณหภูมิ ก็จะทำให้ไม่รู้ว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น เป็นอุณหภูมิจากแดด หรือจากการติดเชื้อไวรัส และการยืนนั้น ไม่มีการเว้นระยะห่าง หลังติดหลังกันไปหมด
เมื่อถามถึงประเด็นที่เกี่ยวกับว่า หากมีการใช้กฎหมายต่างๆมาควบคุมแรงงานต่างด้าวนั้น มีความเหมาะสมหรือไม่ น.ส.สุธาสินี กล่าวว่า มองว่า การจะใช้กฎหมายใดๆก็ตาม อย่างแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ บริบทของความเป็นมนุษย์ คุณพร้อมรับมือหรือดำเนินการปฏิบัติงานแค่ไหน เพื่อไม่ให้แรงงานต่างด้าวนั้น อดอาหาร ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยสี่ของความเป็นมนุษย์ก่อน
“หากมีการใช้กฎหมายใดๆมาควบคุมจัดการแล้วนั้น ต้องคำนึงถึง ข้อดีข้อเสีย ที่จะมีมากน้อยกว่ากัน ความจริงแล้วนั้น ตัว แรงงานต่างด้าว เอง เขาให้ความร่วมมือ อย่างดี ในการ คัดกรองโรค อยู่แล้ว แต่เพียงอย่าไปใช้คำพูดหรือแสดงท่าทีที่ตื่นตระหนก เช่น แรงงานต่างด้าว เป็นคนผิดในการแพร่ระบาดรอบใหม่ ต้องเอาตัวไปลงโทษ อย่าใช้วิธีการแบบ ตรวจโรค ไปด้วย และ ข่มขู่ เขาไปด้วย หากทำแบบนั้น คุณจะไม่มีโอกาส ตรวจคัดกรองโรค ได้เลย หากเขาตกใจ แล้วเขาหนีไป จะยิ่งทำให้เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า คนที่หนีไปนั้น เป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด หรือไม่ แล้วจะไม่สามารถไปตามหาเพื่อ ตรวจสอบคัดกรองโรค ได้ ดังนั้น เราจะจะต้องใช้วิธีการที่ ละมุนละม่อม “
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามตัวเลขผู้ใช้แรงงาน ที่เป็นแรงงานต่างด้าว ในสมุทรสาคร ปัจจุบันมีตัวเลขยอดสรุปจำนวนเท่าไหร่ น.ส.สุธาสินี กล่าวว่า จากการรายงานยืนยันของทางจังหวัดสมุทรสาคร ระบุตัวเลข ที่ 260,000 คนเศษ ในส่วนนี้ เป็นตัวเลขที่อยู่ในระบบ การทำงานถูกกฎหมาย ส่วนที่มีการระบุว่า มีแรงงานเถื่อนเป็นแสนคน ในส่วนนี้ ไม่ใช่แรงงานเถื่อนอย่างที่เข้าใจกันมาก่อนหน้า แต่เป็นผู้ติดตามของแรงงานต่างด้าวกลุ่มแรก ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กๆ ที่มากับพ่อแม่

ภาพจากอีจัน
เมื่อให้ประเมินการดูแล จัดการของภาครัฐนั้น น.ส.สุธาสินี กล่าวตรงไปตรงมาว่า ในช่วงแรกนั้น จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ระยะต้นได้เพียง 4 คะแนน ส่วนในปัจจุบัน ประเมินคะแนนให้มากขึ้นที่ 7 คะแนน เพราะ เห็นความมุ่งมั่นและดูแลอย่างเต็มที่ของ นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ที่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และเรียกร้องว่า ไม่ใช่เพียงทาง จังหวัด เท่านั้น แต่หน่วยงาน อื่นๆ ก็ต้องเข้ามามีส่วนรวม โดยเฉพาะส่วนกลาง ควรจะส่งทีมงานที่มีประสิทธิภาพ เข้ามาร่วมจัดการดูแล ได้แต่หวังว่า คำแนะนำ จากภาคประชาสังคม จะเป็นข้อมูลและแนวทาง ในการต่อสู้วิกฤตครั้งใหม่ ของฝ่ายที่เกี่ยวของ ไม่มากก็น้อย