อาชีพที่หลายคนไม่รู้จัก ‘ล่ามภาษามือ’ สื่อกลางระหว่างคนหูดีและคนหูหนวก

อาชีพที่หลายคนอาจไม่รู้จัก! อาชีพล่ามภาษามือ คนกลางในการสื่อสารระหว่างคนหูหนวก กับคนหูดี และพวกเขาไม่ใช่แก๊งคอลเซ็นเตอร์

โลกที่มีแต่ความเงียบ

ไม่เคยได้ยินเสียง ไม่เคยได้สื่อสารกับใคร ทำให้บางครั้งก็ไม่ได้รับสิทธิ์เหมือนคนทั่วไป เพียงเพราะพวกเขาหูหนวก…

แต่อีจันรู้จักกับอาชีพหนึ่งค่ะ เป็นอาชีพที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่พออีจันได้เข้าไปรู้จักจริงๆ แล้ว อาชีพนี้น่าสนใจมากๆ ค่ะ

ที่อีจันกำลังพูดถึง คือ ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย

หรือ ศูนย์ TTRS

ศูนย์นี้เป็นศูนย์คอลเซ็นเตอร์ค่ะ แต่!!

ศูนย์นี้มีล่ามภาษามือ และแอปพลิเคชั่น เพื่อทำให้คนหูหนวก กับคนหูดีได้คุยกัน

อีจันได้มีโอกาสไปเดินดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ ที่ศูนย์ TTRS ค่ะ

เจ้าหน้าที่จะแบ่งเป็น 2 ห้อง ห้องแรก คือกลุ่มข้อความ สำหรับบริการคนหูหนวกที่พอจะอ่านออก เขียนได้

การบริการก็คือ คนหูหนวกจะมีแอปฯ ค่ะ และจะส่งข้อความ พร้อมเบอร์โทรศัพท์คนที่ต้องการติดต่อ มาให้ล่าม 

ล่ามก็จะโทรตามเบอร์ที่คนหูหนวกแจ้ง เมื่อโทรไป และปลายสายรับสาย ล่ามก็จะอ่านแชทที่คนหูหนวกส่งมา ให้คนหูดีฟัง พอคนหูดีพูดมา ล่ามก็จะพิมพ์เป็นข้อความตอบกลับ คล้ายๆ เหมือนเราคุยแชทค่ะ

และยังมีแบบ SMS ด้วยนะคะ คนหูหนวกก็จะส่งข้อความเข้ามาเป็นเหมือนส่ง SMS และจะทิ้งเบอร์คนที่ต้องการให้ล่ามโทรไปไว้ ล่ามก็จะโทรไปหาเบอร์ดังกล่าว อ่านข้อความที่คนหูหนวกฝากไว้ และหากคนหูดีต้องการฝากข้อความกลับ ล่ามก็จะพิมพ์ส่งให้คนหูหนวกค่ะ

นอกจากนี้ ยังมีบริการที่ให้คนหูหนวกคอลวิดีโอเข้ามาหาล่าม และให้ล่ามโทรเบอร์หาคนหูดี เมื่อปลายสายรับ ล่ามก็จะพูดในสิ่งที่คนหูหนวกทำภาษามือมาให้ เมื่อคนหูดีพูดกลับมา ล่ามก็จะทำภาษามือให้คนหูหนวกดูค่ะ จะสลับแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะคุยจบ

และยังมีตู้สาธารณะ วางไว้ 180 แห่ง ทั่วประเทศไทยค่ะ เพื่อให้คนหูหนวกได้ใช้บริการ

แต่สิ่งที่เป็นปัญหาของเจ้าหน้าที่ ศูนย์ TTRS คือ คนหูดีที่ไม่รู้จักศูนย์นี้ จะเข้าใจว่า ศูนย์นี้ เป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงค่ะ

ลูกเพจหลายคนเคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปฯ เดลิเวอรี่ใช่มั้ยคะ

เคยสังเกตมั้ยว่า บางครั้งไรเดอร์ที่จะนำอาหารมาส่งให้เรา เป็นคนหูหนวก รู้ได้จากการที่วงเล็บบอกหลังชื่อของไรเดอร์

นี่ก็เป็นปัญหาหนึ่งค่ะ เพราะเมื่อไรเดอร์ที่เป็นคนหูหนวกต้องไปส่งอาหารให้ลูกค้า แต่ดันไม่รู้ทางที่จะต้องไป เขาจึงต้องโทรมาหาล่าม เพื่อให้ล่ามติดต่อลูกค้าให้ แต่เมื่อติดต่อไปแล้ว ลูกค้าไม่รอฟัง คิดว่าโทรมาหลอก จึงทำให้ล่ามจะต้องโทรหาหลายครั้ง

นอกจากนี้นะคะ คนหูหนวก ไม่ได้ยินเสียง อ่านไม่ออก เขาจึงจะจำได้เพียงรูปภาพ ลักษณะของตัวหนังสือเท่านั้นค่ะ

นี่คือเสียงสะท้อนของปัญหา จากเจ้าหน้าที่ศูนย์ TTRS ค่ะ 

เจ้าหน้าที่จึงอยากจะฝากบอกสังคม และคนทั่วไป ว่า 

พวกเขาไม่ใช่แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง

พวกเขาเป็นคนกลางในการสื่อสารของคนหูหนวก เพื่อให้คนหูหนวกได้รับสิทธิ์อย่างเท่าเทียมกับคนหูดีนั่นเองค่ะ

คลิปอีจันแนะนำ
ฟังให้ดี สายจากล่ามภาษามือไม่ใช่แก๊งคอลเซ็นเตอร์