
วานนี้(20 มี.ค. 66) ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้พูดถึงประเด็น ซีเซียม-137 ที่กำลังเป็นที่ตระหนักกันอยู่ในสังคมตอนนี้
โดยทางนายสนธิ ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า ความจริงที่ต้องยอมรับ เพื่อนำไปสู่การจัดการซีเซียม-137 ที่ถูกหลอมไปแล้ว ข้อมูลจากกรมโรงงาน แท่งเหล็ก ซีเซียม-137 ถูกหลอมไปกับเศษเหล็กแล้วที่โรงงานเคพีพี ใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี แล้ว และได้มีการนำฝุ่นแดงจำนวน 12.4 ตัน ไปที่โรงงานรีไซเคิลที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา
ในส่วนของกระบวนการหลอมเหล็กในเตาหลอม ก็จะมีการนำเศษเหล็กต่างๆ รวมถึงแท่งซีเซียม-137 เข้าไปหลอมด้วย ใช้อุณหภูมิมากถึง 1,200 องศา แล้วถ้าโรงงานมีอุปกรณ์ที่จะควบคุมสารพิษในอากาศ ก็จะสามารถกรองฝุ่นเหล็กชขนาดเล็กที่มีการปนเปื้อนสารซีเซียม-137 หรือฝุ่นแดงเอาไว้ได้ประมาณ 90% และที่เหลือก็จะลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ
นอกจากนั้นบริเวณก้นเตาหลอม ก็จะมีขี้เถ้าเหล็ก ที่เผาไหม้ไม่หมดกองอยู่ด้วย ส่วนฝุ่นที่มีสานปนเปื้อนอาจจะสามารถไปได้ไกลถึง 5 กม. ส่วนฝุ่นแดงที่ถูกกรองก็จะถูกบรรจุในถุงขนาดใหญ่ และนำไปส่งที่โรงงานรีไซเคิล เพื่อสะกัดเอาธาตุสังกะสีออก ก็จะทำให้ซีเซียม-137 กระจายไปในวงกว้างมากขึ้นอีก
ในส่วนของขี้เถ้าเหล็ก ที่โรงงานหลอมเอาไปฝังไว้ใต้ดิน ก็อาจจะมีสารซีเซียม-137 ปนเปื้อนในดิน น้ำทั้งบริเวณผิวดินและใต้ดินได้ ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารและน้ำในอนาคต ส่วนผลกระทบต่อสุขภาพปัจจุบันไม่ค่อยเห็น แต่ในอนาคตไม่ การหายใจ หรือการกินกระทบแน่นอน
เจ้าหน้าที่รัฐจำเป็นต้องเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงาน และประชาชน และสิ่งแวดล้อมและในอาหาร ที่อยู่ใกล้กับโรงงานประมาณ 1-2 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสารซีเซียม-137 ตกค้างอยู่ และรัฐควรจะบอกความจริงกับประชาชนให้ทราบ พร้อมกับต้องเฝ้าระวังสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงรัศมี 5 กิโล อย่างน้อย 5 ปีด้วย