ผู้เชี่ยวชาญ รีบออกเตือน หลังชาว สุโขทัย ขุดบ่อ เจอน้ำรสซ่า

ผู้เชี่ยวชาย ออกโรงเตือน ยังไม่ควรดื่ม น้ำบาดาล รสโซดา หลังขุดเจอ ใน จ.สุโขทัย

จากกรณี ชาวบ้านในพื้นที่ จ.สุโขทัย ขุดบ่อบาดาล และเจอน้ำที่มีรสชาติคล้ายโซดา มีรสซ่า ไร้กลิ่น ในสวนหลังบ้าน

ซึ่งชาวบ้าน คาดว่า เป็น น้ำโซดาผุด เหมือนในพื้นที่ กาญจนบุรี

ที่ดื่มกินได้ และอาจจะเป็นน้ำแร่คุณภาพสูงระดับโลก

ดื่มให้ดูไปเลย! อธิบดีน้ำบาดาล ยืนยัน “ น้ำพุโซดา ” ดื่มได้ ปลอดภัย

แต่ อาจารย์สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้ออกมาเตือน อย่าเพิ่งดื่ม!

น้ำบาดาลโซดา รสซ่า ที่ขุดเจอที่สุโขทัยต้องตรวจสอบคุณภาพก่อนดื่ม

1.ขุดบ่อบาดาลเจอน้ำรสซ่าคล้ายโซดา แสดงว่าพื้นบ่อบาดาลที่ขุดเป็นชั้นหินปูน ซึ่งมีแร่แคลเซี่ยมคาร์บอเนต(CaCO3) เป็นองค์ประกอบ และอยู่ลึกมากกว่า 15 เมตร 

ซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศา ก็จะคายความร้อน ปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก(CO2) ออกมา

เมื่อน้ำบาดาลไหลผ่านชั้นหินปูนก็จะรวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 

กลายเป็นน้ำรสชาติซ่า แบบน้ำโซดา

มีสภาพเป็นกรดอ่อน หากสูบขึ้นมาบนพื้นดินจะทำให้ความดันลดลงกลายเป็นน้ำรสซ่าแต่เบากว่าช่วงที่อยู่ใต้ดิน

CaCO3 + heat —-> CaO + CO2

CO2 + H2O —-> H2CO3(กรดคาร์บอนิก) ภายใต้ความดัน

2.ก่อนนำน้ำดังกล่าวมาดื่มต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อน

ต้องมีค่าความกระด้างทั้งหมดในรูปของCaCO3 มก./ล.

ไม่เกินกว่า 300 มก. ต่อลิตร

ค่าความกระด้างถาวรไม่เกิน 200 มก. ต่อลิตร

ค่าปริมาณสารทั้งหมดที่ละลายไม่เกินกว่า 600มก.ต่อลิตร

ต้องไม่มี สารหนู (As) ไซยาไนด์ (CN) ตะกั่ว (Pb)  ปรอท (Hg) แคดเมียม (Cd) ซิลิเนียม (Se)และเชื้ออี.โคไล (E.coli) 

หากตรวจพบเกินค่าดังกล่าวต้องนำมาปรับปรุงคุณภาพก่อนดื่ม

และข้อสุดท้าย ที่อาจารย์สนธิ บอกไว้ ข้อนี้ น่ากังวลค่ะ

หากนำมาดื่มเลยโดยไม่ตรวจสอบคุณภาพก่อน 

อาจได้รับโลหะหนัก เชื้อโรคหรือความกระด้างที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ

รวมทั้งเป็นนิ่วในระยะยาวได้

ขณะที่ อาจารย์เจษฎ์ เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 

ก็เตือนเช่นกัน “น้ำบาดาล-รสโซดา ขุดพบที่จังหวัดสุโขทัย …. ยังไม่ควรรีบนำมาบริโภคครับ”

ควรจะต้องให้ชัวร์เสียก่อนว่าไม่มีสารอันตรายอะไรปนเปื้อนอยู่ ถึงจะนำมาดื่มกินบริโภคกันนะครับ ยิ่งอยู่แถวพื้นที่การเกษตร ก็ต้องระวังเรื่องสารเคมีทางการเกษตรตกค้างด้วย

ในระหว่างที่รอให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาศึกษา (โดยเฉพาะเรื่องสารพิษ สารปนเปื้อน) ก็น่าสนใจว่าเรื่องนี้น่าจะเทียบเคียงได้กับที่เคยมีการพบ “น้ำพุ โซดา” ในพื้นที่ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2564 ครับ  

ซึ่งตอนนั้น มีการอธิบายของอาจารย์ ณรงค์ศักดิ์ แก้วดำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาธรณีศาสตร์ วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล เอาไว้ จึงขอยกเอามาอ้างอิงเปรียบเทียบกับน้ำบาดาลโซดา ที่จังหวัดสุโขทัยนี้ครับ

บ่อน้ำพุโซดาในพื้นที่ ต.ห้วยกระเจา อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี เป็นน้ำบาดาลใต้ดินที่เกิดอยู่ในชั้นดิน กรวด ทราย หรือหินซึ่งอยู่ลึกจากผิวดินเกินความลึกที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่จะกำหนดความลึกน้อยกว่าสิบเมตรมิได้ (พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520)

น้ำบาดาลจะถูกกักเก็บอยู่ภายในช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอน หรือรอยแตกของชั้นหิน โดยจะมีชั้นกั้นน้ำปิดทับอยู่ด้านบนหรือไม่ก็ได้ ซึ่งเรียกส่วนที่เก็บน้ำและกั้นน้ำรวมกันว่าชั้นน้ำบาดาล สามารถจำแนกชนิดของชั้นน้ำบาดาลที่สำคัญ ได้แก่ ชั้นน้ำบาดาลไร้แรงดัน และชั้นน้ำบาดาลมีแรงดัน

ชั้นน้ำบาดาลไร้แรงดัน หมายถึง ชั้นที่มีน้ำบาดาลกักเก็บอยู่โดยไม่มีชั้นหินกั้นน้ำปิดทับอยู่ด้านบน เป็นชั้นน้ำบาดาลที่อยู่ถัดจากผิวดินลงไปโดยมีระดับน้ำบาดาลอยู่บนสุดของชั้นน้ำบาดาล ส่วนชั้นน้ำบาดาลมีแรงดัน หมายถึง ชั้นน้ำบาดาลที่มีชั้นกั้นน้ำปิดอยู่ด้านบนส่งผลให้น้ำบาดาลอยู่ภายใต้แรงดันที่มากกว่าแรงดันของบรรยากาศ

ซึ่งพบว่าระดับน้ำบาดาลอยู่สูงกว่าระดับความลึกของชั้นน้ำบาดาล ซึ่งเรียกว่าระดับแรงดันน้ำ ในกรณีที่มีการเจาะบ่อน้ำบาดาลในตำแหน่งที่เป็นชั้นน้ำบาดาลมีแรงดันและมีระดับแรงดันน้ำสูงกว่าระดับภูมิประเทศ (พื้นดิน) น้ำในบ่อน้ำบาดาลก็จะพุ่งขึ้นมาโดยไม่ต้องมีการสูบ เรียกว่า บ่อน้ำบาดาลพุ (รูปที่ 1) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดน้ำบาดาลพุในพื้นที่ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

น้ำบาดาลพุ ในพื้นที่ตำบลห้วยกระเจาเกิดจากการเจาะบ่อน้ำบาดาลในชั้นน้ำบาดาลมีแรงดัน และมีระดับแรงดันน้ำสูงกว่าระดับพื้นดิน อีกทั้งน้ำบาดาลได้รับความร้อนจากชั้นหินแกรนิตที่วางตัวอยู่บริเวณใกล้เคียง ทำให้น้ำบาดาลมีอุณหภูมิสูงขึ้น และไหลผ่านชั้นหินปูนยุคออร์โดวิเชียนแล้วแทรกดันขึ้นมาตามรอยแตกของหินแปรยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียน (รูปที่ 2) ผ่านบ่อน้ำบาดาลขึ้นสู่บนผิวดิน ที่พบเป็นลักษณะของน้ำที่พุ่งสูงขึ้นจากปากบ่อ อีกทั้งยังพบว่าน้ำที่ออกจากบ่อน้ำบาดาลมีลักษณะซ่าคล้ายโซดา หรือที่เรียกกันว่า น้ำบาดาลโซดา

น้ำบาดาลโซดา เกิดจากน้ำบาดาลที่มีอุณหภูมิสูงไหลผ่านชั้นหินปูนยุคออร์โดวิเชียนที่มีองค์ประกอบเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เมื่อหินปูนได้รับความร้อนและเกิดปฏิกิริยาการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมาและสะสมอยู่ในน้ำบาดาล ทำให้น้ำบาดาลพุในบริเวณนี้มีความซ่าคล้ายกับโซดา แต่หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมอยู่ในน้ำลดลง ความซ่าก็จะลดลงเช่นกัน ซึ่งคล้ายกับการเปิดฝาน้ำโซดาหรือน้ำอัดลมแล้วตั้งทิ้งไว้ ความซ่าก็จะลดลง

ดังนั้น ก็อาจเป็นไปได้ว่า น้ำบาดาลโซดา ที่สุโขทัย อาจจะมีสารเคมีต่างๆ ในน้ำที่เป็นลักษณะเดียวกัน คือ น้ำบาดาลนี้อาจจะไหลผ่านชั้นหินปูน ที่มีองค์ประกอบเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) แล้วเกิดปฏิกิริยาคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมา และสะสมอยู่ในน้ำบาดาล ทำให้มีความซ่าคล้ายกับโซดา … ซึ่งถ้าเอามาทิ้งเอาไว้ ก็จะลดความซ่าลงไปครับ

ส่วนที่ว่าจะนำไปใช้เป็น “น้ำแร่” สำหรับดื่มบริโภคได้หรือไม่ และจะมีราคาค่างวดเท่าไหร่ คงต้องขึ้นกับผลการวิเคราะห์ถึงปริมาณแร่ธาตุและสารปนเปื้อนต่างๆ ในนั้นครับ … ถ้าเกิดมีสารเคมีที่เป็นอันตรายปนเปื้อนอยู่ (มีสิทธิสูง เพราะอยู่ในพื้นที่การเกษตรด้วย) ก็ไม่ควรนำมาบริโภคเด็ดขาดครับ

เพื่อความปลอดภัย ควรรอให้มีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำไปดื่มกินในชีวิตประจำวัน

คลิปอีจันแนะนำ
แฮ็กเกอร์ 9near เจาะข้อมูลจากหมอพร้อม?