Live Blog : เกาะติด โตโน่ ภาคิน ว่ายน้ำข้ามโขง หนึ่งคนว่ายหลายคนให้

เกาะติด 22 ต.ค.นี้ โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ โปรเจค one man and the river หนึ่งคนว่ายหลายคนให้ เพื่อขอรับบริจาคช่วยเหลือโรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วน

โตโน่ เตรียมลุย ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขง ช่วยเหลือโรงพยาบาล ทั้งฝั่งไทย และฝั่งลาว ลั่นจะทำให้เต็มที่ หากทำให้คนหันมาสนใจสิ่งแวดล้อม

เป็นอีกหนึ่งหนุ่มที่มักจะทุ่มทั้งกาย และทั้งใจทำเพื่อสังคมอยู่เสมอ สำหรับนักร้องหนุ่มสุดหล่อ โตโน่ ภาคิน ล่าสุดเจ้าตัวก็ได้จัดทำโครงการดีๆ เตรียมฟิตร่างกาย ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขง กับโครงการ “One Man & The River หนึ่งคนว่าย หลายคนให้” เพื่อระดมทุนซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับโรงพยาบาลทั้งในฝั่งของประเทศไทย และในฝั่งของประเทศลาวอีกด้วย

โตโน่ เตรียมลุย ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขง ช่วยเหลือโรงพยาบาล

โตโน่ ภาคิน ลุยซ้อมว่ายน้ำ วันนี้มีความสุขมาก เหลือเวลาอีก 14 วัน จะได้เห็นความสวยงามของแม่น้ำโขง

จากกรณีดราม่าว่ายน้ำข้ามโขงของนักร้องหนุ่ม โตโน่ ภาคิน ที่ตั้งใจจะหาเงินบริจาคเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลประจำจังหวัดนครพนม และโรงพยาบาลที่เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในโครงการ “One Man & The River หนึ่งคนว่าย หลายคนให้” ซึ่งหลายคนมองว่ามันมีอีกหลายวิธีที่จะไม่เป็นภาระต่อตัวเอง และผู้อื่น เพราะน้ำโขงน่ากลัว น้ำแรงและวนสงสารคนที่ไปดูแลความปลอดภัยให้ และบางคนก็ไม่เห็นด้วยกับชื่อโครงการ one man เพราะหนุ่มโตโน่ไม่ได้ทำโครงการนี้คนเดียว ยังมีทีมหมอ พยาบาล รวมไปถึงทีมที่คอยซัพพอร์ตตลอดระยะเวลาของการว่ายน้ำนั่นเอง

โตโน่ ภาคิน โนแคร์ดราม่าว่ายน้ำข้ามโขง ลุยซ้อมกับบึงตะโก้ครั้งแรก

โตโน่ ภาคิน ตอบชัดหลังถูกถาม ว่ายน้ำข้ามโขง ขออนุญาตฝั่ง สปป.ลาว หรือยัง? กลัวเป็นกรณีระหว่างประเทศโดยใช่เหตุ

โตโน่ ตอบ หลังถูกถาม ว่ายน้ำข้ามโขง ขออนุญาตฝั่ง สปป.ลาว หรือยัง?
กู้ภัยนครพนม เเนะ โตโน่ ว่ายข้ามโรง ต้องฝึกสถานที่จริง ดูทิศทางน้ำ

นายประวิณ วราธนกิจ หรือ อาร์ท อายุ 39 ปี นายกสมาคมกู้ภัยสว่างนาวาธาตุพนม ในฐานะทีมกู้ภัยทางน้ำ และมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการกู้ภัยทางน้ำในแม่น้ำโขง รวมถึงการเดินเรือกู้ภัยทางน้ำ เปิดเผยถึงกรณีนี้ว่า ในฐานะตนมีความชำนาญในการดำน้ำโขง รวมถึงการเดินเรือ และมีประสบการเกี่ยวกับการดูทิศทางน้ำโขง มั่นใจว่าสามารถทำได้หากจะว่ายข้ามน้ำโขง แต่ต้องมีการศึกษาทิศทางน้ำ ธรรมชาติของน้ำโขง เนื่องจากน้ำโขงจะมีกระแสเชี่ยวไหลลึก ในช่วงนี้ถือว่าไหลแรงสุด ส่วนทิศทางลมมีผลต่อการไหลของน้ำและเป็นอุปสรรคพอสมควรในการว่ายน้ำ ในส่วนของการว่ายตามน้ำถือว่าอันตรายน้อย แต่ถ้าว่ายสวนกระแสน้ำ ถือว่าเสี่ยงอันตรายพอสมควร

หากให้แนะนำ อยากให้มีการฝึกซ้อมดูทิศทางน้ำในสถานที่จริง จะเกิดความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้หากร่างกายฟิต รวมถึงมีความสามารถเฉพาะตัวในการว่ายน้ำ จะสามารถว่ายน้ำโขงได้อย่างปลอดภัย ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า การว่ายน้ำโขงยากกว่าน้ำทะเล เพราะโดยธรรมชาติจากประสบการณ์ น้ำโขงจะฉุดร่างกายเราลงสู่พื้น มากกว่าน้ำทะเล

ดราม่า! นิสิต ทวิตถาม โตโน่ ใช้อุโมงค์น้ำได้ เเต่เรียนมาไม่เคยได้ใช้ ?

ต่อมาก็ดราม่าไม่หยุด !

เมื่อ เพจ Chula SPSC ได้โพสต์คลิป การซ้อมว่ายน้ำของโตโน่ ที่คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ เเละได้กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ส่วนใหญ่พุ่งไปที่ประเด็น การใช้อุปกรณ์ทดสอบที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

หลังจากนั้นมี ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งออกมาโพสต์ ระบุข้อความว่า

“อยากพูดในฐานะคนที่เรียนคณะนั้น คณะที่ให้ โตโน่ ไปใช้บริการอุโมงค์น้ำ และวัดค่าปอดก่อนนางจะว่าย อาจารย์ที่คณะบอกว่า ตั้งแต่ปี 1 อุโมงค์น้ำเนี่ยแพง ไม่ค่อยเปิดใช้ แต่เรางงมากว่า นิสิตเขาไปไม่ได้เรียนรู้อะไรกับอุโมงค์น้ำนี้เลยไม่เคยเปิดให้นิสิตดู แต่ โตโน่ เข้าไปใช้ไม่เสียเงิน”

โตโน่เมินดราม่า ยันร่างกายฟิต เดินหน้าช่วยโรงพยาบาลต่อ
คณะวิทย์ฯ จุฬาฯ เเจง ดราม่าอุโมงค์

Chula SPSC ชี้เเจงว่า “เรียนประชาคมชาววิทยาศาสตร์การกีฬา​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกท่าน ตามที่มีกระแสสื่อโซเชียลเกี่ยวกับอุโมงค์​น้ำ (Water Fume) ของคณะฯในตอนนี้ ขออนุญาต​ชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้

1. อุโมงค์น้ำได้นำมาใช้กับนิสิตและการเรียนสอนหรือไม่

“ได้ใช้”

อุโมงค์​น้ำมีการติดตั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 มีการใช้งานด้านการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา และนิสิตที่สนใจทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพทางการกีฬา ก็มีการใช้อุโมงค์น้ำมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังมีการใช้เพื่อการวิจัยและการบริการวิชาการ ได้แก่ใช้ในการฝึกซ้อมให้แก่นักกีฬา นักกีฬาทีมชาติ เป็นต้น ในระดับปริญญาตรี นิสิตจะได้เรียนรู้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทันสมัยของคณะที่หลากหลาย อันได้แก่ เครื่องวิเคราะห์แก๊สเพื่อทดสอบสมรรถภาพของหัวใจและปอด เครื่อง Isokinetic เพื่อทดสอบสมรรถภาพกล้ามเนื้อ ห้อง Hypoxia เพื่อจำลองการปรับสภาพร่างกายบนที่สูง เป็นต้นตามบริบทเนื้อหารายวิชาของหลักสูตร แต่ด้วยจำนวนเครื่องแค่ 1 เครื่อง และมีนิสิตเป็นจำนวนมาก จึงอาจได้แค่เรียนภาคทฤษฎีและสาธิต หากนิสิตระดับปริญญาตรีสนใจเป็นพิเศษในเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การกีฬาใดๆ นิสิตก็สามารถเข้าร่วมเป็นผู้ช่วยวิจัยในการเก็บข้อมูลเพื่อเรียนรู้ในการปฏิบัติได้

2. บุคคลทั่วไปสามารถใช้อุโมงค์น้ำได้หรือไม่

“ได้”

ผู้ที่สนใจใช้งานอุโมงค์​น้ำสามารถใช้ได้ โดยผ่านการทำเรื่องขอใช้อุโมงค์​น้ำมาที่คณะฯ ซึ่งในช่วงที่ก่อนโควิด อุโมงค์น้ำได้ถูกใช้อยู่เป็นประจำ ไม่ได้จำกัดการใช้แต่อย่างใด หากการขอให้เป็นไปตามระเบียบของคณะฯ ทั้งนี้ อุปกรณ์ปฏิบัติการต่างๆของคณะ บุคคลทั่วไปก็สามารถทำเรื่องขอใช้มาที่คณะเพื่อพิจารณาการอนุมัติใช้ได้

3. ได้ให้บุคคลภายนอก คือ คุณภาคินใช้โดย ไม่มีค่าใช้จ่ายใช่หรือไม่

“ใช่”

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อุโมงค์​น้ำมีการชำรุดและต้องการการซ่อมแซม หลังจากสถานการณ์​การระบาดของโรคโควิดคลี่คลาย คณะจึงได้ทำการซ่อมแซม​เพื่อใช้สำหรับการเรียน​การสอน การทำวิจัย และการบริการวิชาการ ซึ่งในขณะที่มีการซ่อมแซม​อุโมงค์​น้ำนั้นทางคณะได้รับการติดต่อจากทีมงานของคุณภาคิน เพื่อขอรับบริการการทดสอบสมรรถภาพ​ทางกายและขอใช้อุโมงค์​น้ำเพื่อฝึกซ้อม

ในเบื้องต้นคณะมีความตั้งใจที่จะคิดค่าใช้จ่ายตามระเบียบ แต่เมื่อใช้งานจริง ทางคณะเห็นว่าอุโมงค์น้ำยังไม่เรียบร้อย​ดี (โดยจะเห็นได้จากน้ำในอุโมงค์​น้ำมีตะกอนและมีความขุ่นเป็นอย่างมาก)​ ทั้งหนังสือขอความอนุเคราะห์นั้นแจ้งมาอย่างชัดเจนว่ากิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเป็นกิจกรรมเพื่อการกุศล คณะฯจึงพิจารณา​ให้ความอนุเคราะห์​ในการเข้ามาใช้บริการอุโมงค์น้ำ โดยยกเว้นค่าใช้จ่ายตามประกาศให้เป็นกรณีพิเศษ

ทางคณะฯ ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในเครื่องมือปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การกีฬาและการบริการทางวิทยาศาสตร์​การกีฬา​ของคณะฯ และคณะฯ ขอแจ้งให้ทราบว่า ด้วยปณิธานการดำเนินงานของคณะฯ คณะฯสนับสนุนให้นิสิตทุกคนได้ใช้เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้และปฏิบัติตามครรลองที่ควรจะเป็น ตามบริบทและหน้าที่การเรียนรู้ของนิสิตมาโดยตลอด

คณะฯ มีปณิธานและเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และขอยืนยันว่าในการบริหารจัดการใดๆ คณะฯ คำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวม และสังคมเสมอ

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

เส้นทางกิจกรรม โตโน่ ระดมทุนช่วย รพ.

หมอมด วิเคราะห์ภาษากายโตโน่ก่อนว่ายน้ำข้ามโขง ชี้เครียด-มีความกดดันสูง

วันที่ 20 ต.ค.65 หมอมด หรือ ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ คุณหมอทันตแพทย์ผู้สนใจในศาสตร์ด้านภาษากาย (Body Language) ได้ถอดภาษากายของ โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ระหว่างให้สัมภาษณ์ช่องวัน เมื่อวันที่ 18 ต.ค.65 ก่อนที่ว่ายน้ำในกิจกรรมการกุศล One Man and The River

-มองเฉียงลงด้านล่างขวา (looking down to the lower left quadrant) มักสัมพันธ์กับการคิดและมีอารมณ์ลบเป็นส่วนประกอบ เช่น ความรู้สึกผิด ละอาย กลัว

-เม้มริมฝีปาก (Inward lip roll) เป็นภาษากายที่เกิดโดยปราศจากการบังคับโดยเจ้าตัว (Subconcious) จะสัมพันธ์กับการกลั้นอารมณ์ลบ (Conceling strong negative emotion) เช่น การกลั้นอารมณ์เสียใจ ความเครียด ความกลัว หรือความโกรธ ทั้งนี้จะต้องแยกออกจากสภาวะปากแห้ง หรือ ริมฝีปากแห้ง

-มือขึ้นมาเช็ดจมูก (Hand rubbing nose) จากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ (Psychological discomfort) จะพบได้บ่อยในกรณีที่พูดสิ่งที่ลำบากใจ เช่น โกหก ปกปิด พูดความจริงไม่ครบ ทั้งนี้จะต้องแยกออกจากการสัมผัสจมูกออกจากการ เช็ด หรือ ขยี้จมูกเพราะเป็นภูมิแพ้ หรือ แพ้อากาศ รวมถึง Baseline ของผู้พูดร่วมด้วย

ขอบคุณที่ทำให้รู้จักคำว่าเสียสละ คำว่าสามัคคี ขอบคุณทุกคนและพี่น้องชาวนครพนมครับ

โตโน่ ภาคิน

โดยมีพี่น้องประชาชนให้กำลังใจเนืองแน่นลานพญาศรีสัตตนาคราช จ.นครพนม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ในภารกิจว่ายน้ำข้ามโขงครั้งนี้

ภารกิจว่ายน้ำข้ามโขง ไปกลับระหว่าง 2 ประเทศ ไทย+ลาว ระยะทางกว่า 15 กิโลเมตร โครงการ One Man And The River หนึ่งคนว่ายหลายคนให้ ปลื้มใจมาก พี่น้องชาวลาวมารอรับโตโน่แน่นริมโขง โดยมียอดบริจาค 36,134,829 บาท

เป็นการพักร่างกายหลังว่ายน้ำข้ามโขงมาจากฝั่งไทย ในโครงการ One Man And The River ว่ายน้ำข้ามโขง ไปกลับระหว่าง 2 ประเทศ ไทย+ลาว ระยะทางกว่า 15 กิโลเมตร กับภารกิจหนึ่งคนว่ายหลายคนให้ ซึ่งทุกที่ที่โตโน่ว่ายน้ำผ่านและขึ้นฝั่งเพื่อทำกิจกรรมมีพี่น้องทั้งชาวไทยและลาวให้การต้อนรับและกำลังใจอย่างเนืองแน่น

ตามกำหนดการ โตโน่ จะว่ายน้ำข้ามโขงกลับฝั่งไทยเวลาประมาณ 15.30 น. ในโครงการ One Man And The River ว่ายน้ำข้ามโขง ไปกลับระหว่าง 2 ประเทศ ไทย+ลาว ระยะทางกว่า 15 กิโลเมตร กับภารกิจหนึ่งคนว่ายหลายคนให้ เพื่อรับบริจาคเงินเพื่อมอบให้กับโรงพยาบาล

น้ำใจหลั่งไหลมาไม่หยุด! ยอดบริจาค ณ เวลา 12.53 น. กิจกรรมว่ายน้ำข้ามโขง หนึ่งคนว่ายหลายคนให้ ในโครงการ One Man And The River ของ โตโน่ ภาคิน ทะลุ 40,220,156 บาทแล้ว สาธุกับทุกยอดเงินที่ร่วมบริจาคค่ะ

สุดยอด! นายแน่มาก โตโน่ ทำภารกิจว่ายน้ำข้ามโขง หนึ่งคนว่ายหลายคนให้ ในโครงการ One Man And The River สำเร็จแล้ว โดยขึ้นฝั่งไทยท่ามกลางพี่น้องประชาชนมารอรับเนืองแน่น โดยยอดบริจาคล่าสุดกว่า 56 ล้านบาท

หมอริท เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช หรือริทเดอะสตาร์ ที่ใครๆ รู้จัก ได้ทวิตผ่าน ทวิตเตอร์ชื่อ Ritz Rueangritz S. แสดงความยินดีกับ พี่โตโน่ ภาคิน ที่ว่ายน้ำข้ามโขงในโครงการ OneMan And The River หนึ่งคนว่ายหลายคนให้ เพื่อระดมทุนจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลไทย และ สปป.ลาว ได้สำเร็จ และได้เงินบริจาคทะลุกว่าที่ตั้งไว้

ยินดีด้วยกับการ ว่ายน้ำข้ามโขง ของพี่ โตโน่ภาคิน ในวันนี้นะครับ ที่ปลอดภัย และได้รับเงินบริจาคจำนวนมาก อย่างแรกต้องขอขอบคุณในน้ำใจและความเสียสละของพี่ที่มีต่อบุคลากรทางการแพทย์ คนที่พร้อมจะเสียสละเพื่อคนอื่นแบบพี่ ไม่ได้หาได้ง่ายเลย นับถือใจจริงๆ ในบทสัมภาษณ์มีหลายครั้งที่พี่พูดว่า ที่พี่มาว่ายน้ำครั้งนี้ เพราะหมอและพยาบาลเค้าเหนื่อยกว่า เสี่ยงกว่า เลยอยากขออนุญาตฝากมุมมองไว้ซักนิดครับ เผื่อพี่อาจจะลืมมองเหตุผลพวกนี้นะครับ (ไหนๆคนก็สนใจโครงการพี่เยอะแล้ว)

1.ต่อให้พี่ว่ายน้ำข้ามโขงเป็น 10 รอบ ได้เงินบริจาคมากว่า 1000 ล้าน หมอ พยาบาล เค้าก็เหนื่อยเท่าเดิมครับ ขอยกตัวอย่างในฝั่งของหมอนะครับ ระบบสุขภาพของประเทศไทยคือ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แปลว่า คนไทยจะป่วยยังไง ก็มีการรักษารองรับ (ซึ่งจริงๆดีกับคนไทยในบางมุมนะ เช่น คนจนมีสิทธิ์เข้าถึงการรักษา แต่ข้อเสียก็คือ คนไทยไม่ใส่ใจสุขภาพ เกิดปัญหา เช่น ติดเหล้า ติดบุหรี่ และเกิดปัญหาสุขภาพตามมา ทำให้คนต้องมาโรงพยาบาลกันเยอะ) ซึ่งทำให้หมอต้องทำงานหนัก แต่ยังได้ค่าตอบแทนเท่าเดิม

หมอริท แสดงความยินดี และฝากข้อความถึงพี่โตโน่

โดยเพจเฟซบุ๊กเก็บรักษ์ โพสต์ข้อความ ขอบคุณทุกบาททุกสตางค์จากน้ำใจของทุกคน ขณะนี้ปิดรับบริจาคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งยอดบริจาคหน้าเว็บไซต์เทใจอยู่ที่ 82,924,464 บาท

แต่เรายังมียอดจากทางฝั่งลาวมาสมทบด้วยอีก ซึ่งทางเทใจจะสรุปยอดที่แน่นอนประมาณ 15 วันต่อจากนี้ครับ