ตำรวจ บุกจับ คลินิกเสริมความงาม ผลิตซิลิโคนเถื่อน

ตำรวจ และ อย. บุกจับ คลินิกรายใหญ่ พบผลิตซิลิโคนเอง ต้นทุน 60 บาท ขายคอร์สศัลยรรม 50,000 บาท มีเคสทำศัลยกรรมแล้วกว่า 1,600 ราย

ใครชอบทำศัลยกรรม เช็กด่วน !

บช.ก. และ อย. จับกุมเครือข่ายคลินิกย่านงามวงศ์วาน พบซิลิโคนเถื่อนกว่าหมื่นชิ้น

วันนี้ (16 มกราคม 2566) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดย นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงจับกุมเครือข่ายคลินิกรายใหญ่ ยึดซิลิโคนศัลยกรรมเสริมความงามเถื่อนกว่า 16,164 ชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 2,932,000 บาท

การจับกุมในครั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ตำรวจ กก.4 บก. บคป. ร่วมกับ อย.และสสจ.สุพรรณบุรี นำหมายค้นของศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ 882/2565 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เข้าค้นโรงสีในพื้นที่ ต.วังหว้า อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มีการลักลอบผลิตชิ้นส่วนซิลิโคนศัลยกรรมเสริมจมูกและหน้าผาก เพื่อกระจายไปยังคลินิกทั่วประเทศ

หลังเข้าตรวจสอบ ได้ยึดเครื่องจักรสำหรับผลิตซิลิโคนจมูกและหน้าผาก ,แม่พิมพ์ซิลิโคนทรงต่างๆ จำนวน 68 แบบ ,ซิลิโคนเสริมจมุกและหน้าผากสำเร็จรูป 1,098 ชิ้น และอุปกรณ์ส่วนควบในการผลิตซิลิโคนศัลยกรรม กว่า 16 รายการมูลค่าความเสียหาย 3,500,000 บาท โดยดำเนินคดีกับ น้ำตาล หรือ น.ส.ณัฐปภัสร์ (สงวนนามสกุล) ผู้ผลิตซิลิโคนเถื่อนในฐานความผิด “ผลิตเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งรายการละเอียด” ผู้ต้องหาให้รับสารภาพทุกข้อกล่าวหา และรับว่าทำมานานประมาณ 2 ปี

จากการสืบสวนขยายผลพบว่า ซิลิโคนส่วนใหญ่ ที่ น.ส.ณัฐปภัสร์ หรือ ผู้ต้องหา ลักลอบผลิต มีพนักงานฝ่ายจัดซื้อของบริษัท เค เมดิคอล (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้สั่งผลิต เมื่อผลิตเสร็จจะถูกส่งไปยัง กรวินคลินิก สาขางามวงศ์วาน และสาขาขอนแก่น พบหลักฐานการจ่ายเงินค่าซิลิโคนในปี 2565 มากกว่า 2 ล้านบาท

ในวันที่ 22 ธันวาคม 2565 บก.ปคบ.จึงได้ร่วมกับ อย. เข้าตรวจค้นกรวินคลินิกสาขางามวงศ์วานและอาคารสต๊อก เครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่ใช้ในคลินิก ตามหมายค้นศาลจังหวัดนนทบุรี ที่ 1093/2565 ลงวันที่ 22 ธ.ค.65 ตรวจยึด

1. ชิ้นส่วนซิลิโคนรูปจมูก จำนวน 12,282 ชิ้น

2. ซิลิโคนทรงหน้าผาก จำนวน 27 ชิ้น

3. ซิลิโคนทรงคาง จำนวน 3,855 ชิ้น

4. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551จำนวน 480 รายการ

5. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 48 รายการ

6. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 จำนวน 23 รายการ

ซึ่งพนักงานที่ดูแลคลังรับว่า ซิลิโคนเหล่านี้จะถูกส่งไปยังกรวินคลินิกทั่วประเทศ ตามคำสั่งของผู้บริหาร เมื่อนำให้ น.ส.ณัฐปภัสร์ ตรวจสอบและยืนยัน ผู้ผลิตซิลิโคนเถื่อนรับว่าชิ้นส่วนซิลิโคนที่ตรวจยึด เป็นผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี และจังส่งมาให้ทั้งสิ้นจริง และพนักงานดูแลคลังมีการกระจายซิลิโคนไปอีก 30 สาขา

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2565 บก.ปคบ. จึงได้ร่วมกับ อย., สบส., สสจ.ระยองและสสจ.ของแก่น นำหมายค้นตรวจสถานที่จัดเก็บชิ้นส่วนซิลิโคนและคลินิกสาขาใหญ่ จำนวน 6 สาขา รายละเอียดดังนี้

1. กรวินคลินิกสาขานครปฐม จังหวัดนครปฐม ตรวจยึดชิ้นส่วนซิลิโคนรูปจมูก 484 ชิ้น, ซิลิโคนคาง 134 ชิ้น, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 จำนวน 5 รายการ โดยเปิดให้บริการมาแล้ว 1 เดือน

2. กรวินคลินิกสาขางามวงศ์วาน จ.นนทบุรี ตรวจยึดชิ้นส่วนซิลิโคนรูปจมูก 45 ชิ้น, ซิลิโคนคาง 19 ชิ้น, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 จำนวน 14 รายการ โดยเปิดให้บริการมาแล้ว 5 ปี

3. คลังเก็บสินค้าสาขางามวงศ์วาน ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 จำนวน 185 รายการ

4. กรวินคลินิกสาขาระยอง จ.ระยอง ตรวจยึดชิ้นส่วนซิลิโคนรูปจมูก 489 ชิ้น, ซิลิโคนคาง 87 ชิ้น, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 จำนวน 9 รายการ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ.2522 จำนวน 55 รายการ โดยเปิดให้บริการมาแล้ว 2 ปี 5 เดือน

5. กรวินคลินิกสาขาอุดรธานี 129/152 ตรวจยึดชิ้นส่วนซิลิโคนรูปจมูก 837 ชิ้น, ซิลิโคนคาง 90 ชิ้น, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 1 รายการ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอางค์ พ.ศ.2558 จำนวน 144 รายการ โดยเปิดให้บริการมาแล้ว 6 ปี

6. กรวินคลินิกสาขาขอนแก่น ตรวจยึดชิ้นส่วนซิลิโคนรูปจมูก 3,144 ชิ้น, ซิลิโคนหน้าผาก 27 ชิ้น, ซิลิโคนคาง 777 ชิ้น, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 จำนวน 319 รายการ, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 425 รายการ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอางค์ พ.ศ.2558 จำนวน 247 รายการ โดยเปิดให้บริการมาแล้ว 8 ปี

รวมการตรวจค้นทั้งหมด 7 จุด ตรวจยึดของกลาง ดังนี้

1. ชิ้นส่วนซิลิโคนรูปจมูก 12,282 ชิ้น

2. ซิลิโคนหน้าผาก 2,775 ชิ้น

3. ซิลิโคนคาง 1,107 ชิ้น

4. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 จำนวน 998 รายการ

5. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 474 รายการ

6. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 จำนวน 428 รายการ

7. พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ.2522 จำนวน 55 รายการ มูลค่าความเสียหายกว่า 2,932,000 บาท

จากการตรวจสอบ พบว่า น.ส.ณัฐปภัสร์ ผลิตชิ้นส่วนซิลิโคนที่บริษัท เคเมดิคอล (ไทยแลนด์) จำกัด สั่งและจัดส่งมายังสาขางามวงศ์วาน และสาขาขอนแก่น จากนั้นจะกระจายซิลิโคนไปกรวินคลินิกสาขาอื่น กว่า 30 สาขา เพื่อใช้ในการศัลยกรรมให้ลูกค้า โดยมีต้นทุนซิลิโคนชิ้นละ 60-80 บาท ขายคอร์สศัลยรรม 4,900-50,000 บาท และจากการตรวจสอบผู้บริการศัลยกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 จนถึงปัจจุบันพบว่า กรวินคลินิก ทั้ง 5 สาขา มีการผ่าตัดศัลยกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ซิลิโคนกว่า 1,621 ราย การเสริมจมูก 1,463 ราย คาง 154 ราย และเสริมจมูกกับคางพร้อมกัน 31 รายทั้งนี้พนักงานสอบสวน กก.4 บก. ปคบ. ได้ออกหมายกลุ่มผู้ต้องหาให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว

เบื้องต้นการกระทำของกลุ่มผู้ต้องหาเป็นผิดฐาน

ร่วมกันขายเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตฯ ตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 มาตรา 46/1 ระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ร่วมกันขายเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ฯ พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 มาตรา 46(4) ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ร่วมกันขายยาที่ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 72(4) ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ร่วมกันขายเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 มาตรา 32(4) ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ร่วมกันจำหน่ายอาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.อาหาร มาตรา 6 (10) ระวางโทษตาม ปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

คลิปอีจันแนะนำ
ซ้อเจี๊ยว ค้ากามเด็ก 13