สุโขทัย พนังแม่น้ำยม แตก ถนนถูกตัดขาด ขณะที่ หลายจังหวัด ยังคงจมน้ำ

ภาคอีสานน้ำท่วม สุโขทัย มี พนังแม่น้ำยม แตก ชาวบ้านต้องหอบข้าวของหนีน้ำกันกลางดึก ตอนนี้น้ำลดลงไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังน่าเป็นห่วงอยู่ดี ขณะที่อีกหลายจังหวัด ยังจมน้ำอยู่ต่อเนื่อง
สุโขทัย พนังแม่น้ำยม แตก ถนนถูกตัดขาด ขณะที่ หลายจังหวัด ยังคงจมน้ำ

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สุโขทัย หลังจากที่มีฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน ทำให้พนังกั้นน้ำ บริเวณสะพานสิริปัญญารัตน์ แตก ทำให้น้ำท่วมขังผิวจราจร กระแสน้ำไหลเร็วและแรง บนทางหลวงหมายเลข 1195 ตอน เตว็ดใน-วังไม้ขอน ขณะนี้ปิดการจราจรชั่วคราว ระหว่าง กม.12+750 (หมู่ 6 บ้านวังใหญ่ )-กม.13+150 (หมู่ 8 บ้านวังทอง) อำเภอศรีสำโรง ชาวบ้านที่จะต้องผ่านเส้นทางนี้ ให้ใช้เส้นทางเบี่ยง แยกเกาะวงษ์เกียรติ์ และ แยกวังทอง และอย่าเข้าใกล้เสาไฟฟ้าเด็ดขาด

มีรายงานว่า จุดขาดกว้างประมาณ 40 เมตร ส่งผลให้บ้านวังใหญ่ หมู่ที่ 6 และบ้านวังทอง หมู่ที่ 8 ได้รับผลกระทบ ถูกน้ำไหลบ่าเข้าท่วมหมู่บ้านเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและท้องถิ่นได้อพยพคนไปอยู่ในที่ปลอดภัยในขณะที่ระดับน้ำยังสูงขึ้น

ล่าสุดเมื่อ เวลา 08.00 น. บริเวณสะพานศรีสำโรง อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ได้ปิดการจราจร ทางหลวงหมายเลข 1056 ตอน ศรีสำโรง - ดอนโก ระหว่าง กม.0+500 -0+800 (แยกวัดเกาะ - สะพานข้ามแม่น้ำยม หมู่ 5 ต.วัดเกาะ อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย) เพิ่มเติม

ขณะที่ สถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.ตาก จากรายงานล่าสุด วันที่ 2 ต.ค.66 เวลา 06.30 น. พบว่า ในพื้นที่ อำเภอสามเงา ขณะนี้มีพื้นที่ได้รับผลกระทบน้ำล้นตลิ่งท่วมบ้านเรือนประชาชน ได้แก่ ต.ยกกระบัตร ม.1,2,3,4,5,7,8,9,10,12 ต.วังจันทร์ ม.1,2,3 ต.วังหมัน ม.4 และพื้นที่ อำเภอเมืองตาก ในพื้นที่ ต.โป่งแดง และ ต.วังประจบ สถานการณ์คลี่คลายระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ

ขณะที่ ในจ.กาฬสินธุ์ มวลน้ำยังไหลเข้าเขื่อนลำปาวต่อเนื่องเฉลี่ยวันละ 25-30 ล้านลบ.ม. เบื้องต้นได้รับผลกระทบทั้งด้านบนเขื่อนและท้ายเขื่อนรวม 10 อำเภอ จำเป็นต้องระบายน้ำคงที่วันละกว่า 29 ล้านลบ.ม. มวลน้ำเหล่านี้เกิดจากฝนตกเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และยังคงไหลเติมเข้าอ่างอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเช้าวันนี้ไหลเข้าเพิ่มอีก 27 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ขณะนี้เขื่อนลำปาวมีปริมาณอยู่ที่ 2,066 ล้าน ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น104.34 เปอร์เซ็นต์ จากความจุระดับกักเก็บ 1,980 ล้านลูกบาศก์เมตร เกินระดับกักเก็บ 86 ล้านลูกบาศก์เมตร และรับน้ำได้อีก 86 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปัจจุบัน มีพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนได้รับผลกระทบจำนวน 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอร่องคำ อำเภอฆ้องชัย อำเภอยางตลาด และอำเภอกมลาไสย รวม 19 ตำบล 104 หมู่บ้าน 2,121 ครัวเรือน บ้านเรือนราษฎรได้รับผลกระทบจำนวน 29 หลัง พื้นที่การเกษตร นาข้าว ได้รับผลกระทบประมาณ 17,403 ไร่ บ่อปลา 42 บ่อ ถนน 3 สาย

ในส่วนพื้นที่ด้านบนเขื่อน ซึ่งเป็นพื้นที่รอบเขื่อนลำปาว และเป็นเอกสารสิทธิ์สัญญาเช่าของกรมธนารักษ์ ได้รับผลกระทบจำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าคันโท อำเภอหนองกุงศรี อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอห้วยเม็ก อำเภอสามชัย และอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ รวม 21 ตำบล 95 หมู่บ้าน 3,120 ครัวเรือน บ้านเรือนราษฎรได้รับ ผลกระทบ 483 หลัง พื้นที่การเกษตรนาข้าวได้รับผลกระทบประมาณ 13,404 ไร่ พืชไร่ 519 ไร่ วัด 4 แห่ง บ่อกุ้ง 100 บ่อ ถนน 14 สาย คอกสัตว์ 5 แห่ง ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

แต่ยังมีอีกหลายๆพื้นที่ ที่ยังคงจมน้ำอยู่ อีจันขอให้กำลังใจนะครับ

คลิปอีจันแนะนำ
คลิปโซเชียล หนูไม่ทนแล้ว! หนูจะหนีออกจากบ้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

No stories found.

ข่าวยอดนิยม

No stories found.
logo
ข่าว อีจัน
www.ejan.co