
นักดื่มสายปาร์ตี้…ต้องรู้เมาแล้วขับถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนบนท้องถนนซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่ามีคดีความเมาแล้วขับเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในหลายเทศกาลหรือแทบจะทุกวัน ซึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นี้เองที่ทำให้ขาดสติ หลายคนจึงสงสัยว่า ต้องเป่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเท่าไหร่ถึงจะเป็นคนขาดสติ ซึ่งวันนี้เราจะมาหาคำตอบกันพร้อมทั้งชำแหละให้รู้ถึงเครื่องมือตัวตรวจวัดระดับแอลกฮอล์หรือเครื่องเป่าแอลกฮอล์นั้นเอง
กฎควบคุมผู้ขับขี่ขณะเมาสุรา
โดยกฎกระทรวงฉบับเก่า ระบุว่า หากผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาสุราตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 16 พ.ศ.2537 ออกความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ข้อ 3 แต่กฎกระทรวงที่ว่านี้ได้เปลี่ยนเนื้อความเป็นกฎหมายฉบับใหม่พร้อมรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย
กฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ.2550 ออกความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ระบุว่า ระบุว่า ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถือว่าเมาสุรา ยกเว้นผู้ขับขี่ใน 4 กรณีต่อไปนี้ ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถือว่าเมาสุรา คือ
ผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์
ผู้ขับขี่ที่มีใบขับขี่ชั่วคราว (ใบขับขี่อนุญาตแบบ 2 ปี)
ผู้ขับขี่ที่มีใบขับขี่ประเภทอื่น ซึ่งใช้แทนกันไม่ได้
ผู้ขับขี่ที่ถูกยกเลิกใบขับขี่ หรืออยู่ระหว่างการพักใช้งานใบขับขี่
ถึงแม้กฎหมายจราจรเมาแล้วขับฉบับใหม่จะระบุเอาไว้ว่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่ควรเกิน 50 มิลลิกรัม แต่จริง ๆ แล้วการมีสติที่ครบถ้วน ไม่ดื่มเหล้าก่อนขับนั้นปลอดภัยที่สุด หากรถทุกคันปฏิบัติตามกฎหมายจราจรใหม่ 2566 แน่นอนว่าอุบัติเหตุเรื่องเมาแล้วขับจะลดน้อยลง
เครื่องเป่าแฮลกฮอล์ทำงานอย่างไร ?
เครื่องเป่าแอลกอฮอล์เป็นเครื่องจับวัดระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจของผู้ ที่ถูกเป่า เมื่อลมหายใจเข้าเครื่องเป่านั้นตัวตรวจจับจะแปรสภาพซึ่งอาจจะมองเห็นได้ โดยการเปลี่ยนแปลงของจำพวกสารเคมีหรือการวัดได้จากพลังงานกระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์พวกการเปลี่ยนแปลงสภาพนี้จะถูกแปลสภาพให้ออกมารายงานที่ หน้าปัดของเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ โดยอาศัยการคำนวณค่าจาก ค่าความสัมพันธ์ของสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็น ปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ
เครื่องวัดแอลกอฮอล์จะวิเคราะห์ผลที่ถูกต้อง คือต้องมาจากลมหายใจของผู้ที่ถูกเป่า ต้องใช้ลมหายใจส่วนลึกของปอดที่สัมผัสกับเส้นเลือดฝอยในปอด เพื่อที่จะได้ค่าปริมาณแอลกอฮอล์ที่ถูกต้อง ผู้ผลิตได้ออกแบบให้เครื่องวัดแอลกฮอล์เมื่อถูกเป่าลมหายใจเข้าเครื่องต่อเนื่องไปได้ระยะหนึ่ง ความแรงในการเป่าจะลดลงสูบไฟฟ้าในเครื่องจะเก็บตัวอย่างลมหายใจประมาณ 1 ซีซี แบบอัตโนมัติ ในกรณีที่เครื่องไม่ได้ออกแบบให้เก็บตัวอย่างลมหายใจแบบอัตโนมัติ การตรวจวัดต้องให้ผู้ถูกตรวจเป่าลมหายใจเข้าเครื่องอย่างต่อเนื่อง และผู้ที่ทำการตรวจวัด จะนับ 1 ถึง 5 ในใจอย่างช้า ๆ เมื่อนับครบแล้ว จึงกดปุ่มรับตัวอย่าง เพื่อให้ตัวสูบไฟฟ้าเก็บตัวอย่าง
หลักการของเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ ซึ่งมี 4 แบบ ได้แก่
1. ตัวตรวจจับแบบ Colorimeter เปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นเขียว เมื่อได้รับสารแอลกอฮอล์
2. ตัวตรวจจับแบบสารกึ่งตัวนำ เซมิเซ็นเซอร์ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่ใช้ทดสอบตัวเอง พกพาสะดวก แต่ไม่มีความเที่ยงตรง ไม่แนะนำ
3. ตัวตรวจจับแบบเซลไฟฟ้าเคมี ฟลูเซล์เซ็นเซอร์ การวัดแอลฮอล์โดยใช้เครื่องที่มีตัวตรวจจับแบบไฟฟ้าเคมีมีความเที่ยงตรง สามารถใช้เป็นหลักฐานทางคดีได้ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก และมีราคาแพง
4. ตัวตรวจจับแบบ Infrared การวัดแอลฮอล์โดยใช้เครื่องมือ ระบบ Infrared มีความเที่ยงตรง สามารถใช้เป็นหลักฐานทางคดีได้ ตัวเครื่องมีขาดใหญ่ เหมาะสำหรับใช้ประจำที่ เช่น สถานีตำรวจ
การวิเคราะห์และความแม่นยำของเครื่องเป่าแอลกฮอล์
หลังจากมีการดื่มสุราไปได้ประมาณ 15 นาที แอลกอฮอล์จะเริ่มถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและหายใจออกทางปอด แต่ถ้ามีการเป่าหรือทดสอบเร็วเกินไปหลังจากดื่มอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง
การหลีกเลี่ยงด้วยสารบางชนิด เช่น น้ำยาบ้วนปากหรือสารทำให้ลมหายใจสดชื่น อาจมีแอลกอฮอล์และรบกวนความแม่นยำของการตรวจวัดของเครื่อง
จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้เครื่องเป่าแอลกฮอล์อย่างถูกต้อง รวมถึงวิธีการเป่าลมเข้าอุปกรณ์อย่างถูกต้องและระยะเวลาที่ต้องรอระหว่างการทดสอบ
การอาเจียนก่อนการตรวจวัด อาจทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้องเนื่องจากมีแอลกอฮอล์ตกค้างในปาก
ภาวะทางการแพทย์บางอย่าง เช่น กรดไหลย้อนหรือเบาหวาน อาจส่งผลต่อผลการตรวจวัดได้
การใช้เครื่องทดสอบลมหายใจทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์อาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ บุคคลนั้นอาจช็อกและร่างกายอาจดูดซับแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปได้ไม่เต็มที่ การตรวจเลือดอาจเหมาะสมกว่า เนื่องจากเป็นการวัดระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือด (BAC) ของบุคคล ณ เวลาที่เกิดอุบัติเหตุได้แม่นยำกว่า
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้ว ผู้ขับขี่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจนไม่สามารถเป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธี เป่าลมหายใจได้ เจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาลทำการเจาะเลือด (ควรเก็บตัวอย่างภายใน6 ชั่วโมง หลังเกิดอุบัติเทตุ) และส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ทำไมตรวจเป่าระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจแต่ค่าที่ได้เป็นค่าระดับในเลือด?
โดยทั่วไปการใช้เครื่องตรวจเป่าแอลกอฮอล์จากลมหายใจ (Breathalyzer) จะนิยมให้เครื่องคำนวณและรายงานค่าออกมาเป็นค่าในเลือด (อาจแสดงหน่วยเป็น mg% หรือ mg/dl หรือ g/dl) เพื่อความสะดวกในการแปลผล คือใช้ดูระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเทียบกับอาการเมาสุราที่เกิดขึ้นได้ แต่หากเครื่องไม่สามารถคำนวณค่าได้ เราก็สามารถคำนวณระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจออกให้เป็นระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้เองโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่า ซึ่งตามกฎหมายของประเทศไทยนั้นให้ใช้ค่าเท่ากับ 2,000 [4] หมายถึงกำหนดให้สัดส่วนปริมาณแอลกอฮอล์ที่ตรวจพบในเลือดต่อปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจออก (Blood : Breath ratio) นั้นเท่ากับ 2,000 : 1 เช่น ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจออกได้เท่ากับ 0.25 mg/l จะเทียบเท่ากับระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเท่ากับ 500 mg/l (ซึ่งเทียบเคียงได้กับ 50 mg/dl และ 50 mg% นั่นเอง)
เมื่อพิจารณาจากหลักสำคัญต่างๆของเป่าระดับแอลกอฮอล์ อาจช่วยให้เข้าใจกระบวนการทำงานของเครื่องเป่าแอลกฮอล์ได้มากขึ้น และแน่ใจว่าผลการตรวจวัดนั้นมีความแม่นยำ เมื่อรู้ถึงประสิทธิภาพขนาดนี้แล้ว จันไม่ได้ห้ามดื่มแต่การดื่มที่ดีคือไม่สร้างปัญหาต่อตัวเองและผู้อื่นควรตะหนักคิดให้มาก ดื่มไม่ขับเป็นอะไรที่ปลอดภัยที่สุดและการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือเมาไม่ขับกันนะคะเพื่อไม่เป็นปัญหาสังคม