
มาทำความเข้าใจธรรมชาติรู้จักป้องกันภัยจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง ในช่วงมรสุมสำหรับเพื่อนๆที่อยู่ใกล้ชายฝั่งหรือนักท่องเที่ยว ด้าน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนนักท่องเที่ยวช่วงมรสุมไม่ควรลงเล่นน้ำทะเล เนื่องจากมีคลื่นลมแรง และอาจถูกกระแสน้ำย้อนกลับ หรือคลื่นทะเลดูด คลื่นดอกเห็ด พร้อมแนะวิธีสังเกตและวิธีการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน จนถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงมรสุมจึงส่งผลให้ระหว่างช่วงเดือนดังกล่าวมีฝนตกชุก ทะเลมีคลื่นลมแรงไม่สามารถเล่นน้ำได้ ทางกรมควบคุมโรคจึงขอเตือนนักท่องเที่ยวที่มาเล่นน้ำบริเวณชายหาด ให้ระวังคลื่นลมแรง และกระแสน้ำย้อนกลับ คลื่นทะเลดูด หรือคลื่นดอกเห็ด (Rip Current) ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้แทบทุกหาด
คลื่นทะเลดูด (RIP CURRENT)?
กระแสน้ำย้อนกลับ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า คลื่นทะเลดูด หรือคลื่นดอกเห็ด (Rip Current) เป็นกระแสน้ำรุนแรงที่เกิดขึ้นตามชายหาด เกิดจากการที่คลื่นทะเลซัดเข้าหาฝั่ง แล้วไหลออกสู่ทะเล แต่เจอสิ่งกีดขวาง เช่น โขดหินหรือสันทรายขวางอยู่ ทำให้น้ำทะเลไหลรวมกันผ่านช่องแคบๆ ระหว่างสิ่งกีดขวางเหล่านั้น กระแสน้ำจึงพัดออกจากฝั่งด้วยความแรง เสมือนคลื่นกระชากวิญญานเลยทีเดียว มาทำความรู้จักกันให้ดีก่อนพลาด ส่วนบริเวณที่เกิดคลื่นทะเลดูด หรือคลื่นดอกเห็ดนั้น สามารถสังเกตได้จาก
สีของน้ำทะเล จะมีสีที่ขุ่นขาวกว่าบริเวณอื่น เนื่องจากกระแสน้ำได้พัดเอาตะกอนใต้น้ำฟุ้งขึ้นมา
บริเวณชายหาด จะมีคลื่นแบบไม่ปะติดปะต่อกัน มีลักษณะเป็นร่อง แนวคลื่นขาดหาย
บริเวณปลายกระแสน้ำ มักเป็นรูปคล้ายดอกเห็ด
วิธีเอาตัวรอดจากกระแสคลื่นทะเลดูด
ขั้นตอนที่ 1: ตรวจสอบกระแสคลื่น
คุณสามารถเห็นกระแสน้ำที่พัดมาจากชายหาดคลื่นพวกนั้นดูเหมือนน้ำเปลี่ยนสีไหลกลับออกสู่ทะเล ไม่ควรพลาด น้ำทั้งสองข้างจะดูแตกต่างออกไปและช่องน้ำจะมีสีเข้ม การเปลี่ยนสีนี้เป็นผลมาจากการดึงทรายและสาหร่ายออกสู่ทะเล
ขั้นตอนที่ 2: อย่าตกใจมีสติ
หากคุณรู้สึกว่าตัวเองถูกดึงออกทะเล คุณจะรู้ว่ามันเป็นกระแสน้ำเนื่องจากการเคลื่อนไหวหลายครั้งด้วยความเร็วสูงถึง 8 ฟุตต่อวินาที (เร็วกว่านักว่ายน้ำโอลิมปิก) ก่อนอื่น อย่าตกใจไป การตื่นตระหนกเป็นสาเหตุของปัญหาทั้งหมด เมื่อคุณเริ่มตื่นตระหนก คุณจะใช้พลังงานเป็นสองเท่าในการแหวกว่ายสวนแรงคลื่น เมื่อคุณตื่นตระหนก มันยิ่งทำให้โอกาสรอดน้อยลง แล้วไม่ว่าคุณจะว่ายน้ำเก่งขนาดไหนคุณก็อาจจมน้ำได้ง่ายๆ
ขั้นตอนที่ 4: ว่ายน้ำไปในทิศทางที่ถูกต้อง
เมื่อคุณผ่านพ้นความตื่นตระหนกแล้ว การว่ายน้ำคู่ขนานไปกับชายหาดจะช่วยพาคุณออกไปได้และวิธีที่ดีที่สุดในการตัดสินใจว่าจะว่ายน้ำแบบไหนคือการเลือกแนวชายฝั่ง ไม่ใช่แนวน้ำ แล้วกลับไปที่ชายหาดในอีกมุมหนึ่ง ตราบใดที่คุณว่ายน้ำขนานไปกับทราย ไปทางขวาหรือซ้าย จะทำให้ว่ายได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนที่ 5: เหยียบอย่างอดทน
สำหรับนักว่ายน้ำที่มีประสบการณ์หรือผู้ที่ไม่สามารถว่ายน้ำขนานไปกับแนวชายฝั่งได้ ให้กระแสน้ำพาคุณออกจากชายหาด ถ้าคุณมีสติพอก็ไม่ต้องทำอะไรเลย รอยแตกจะพาคุณออกไป และกระแสน้ำตามธรรมชาติของทะเลจะพาคุณกลับไปที่ชายหาด อย่างไรก็ตามคุณต้องมั่นใจและมีประสบการณ์ในการว่ายน้ำในทะเลที่ดีพอรวมถึงสติที่ไม่แตกไปซะก่อน
หลายท่านอาจสงสัยว่าธงที่ปักตามชายหาดของอุทยานแห่งชาติมีความหมายอย่างไร มาเรียนรู้สัญญาณจากสีธงริมชายฝั่งทะเลกันดีกว่านะคะ
ธงสีเหลืองที่เจ้าหน้าที่ปักตามชายหาดริมทะเลนั้น เป็นสัญญาณเตือนให้นักท่องเที่ยวทราบว่า คลื่นริมฝั่งทะเลมีระดับปานกลาง แต่ยังคงเล่นน้ำทะเลได้ค่ะ แต่หากว่า ธง เป็นเป็น ธงสีแดง เมื่อไร จะเป็นสัญญาณเตือนให้นักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำ เนื่องจากคลื่นลมแรง และคลื่นในทะเลยังคงมีกำลังแรง อาจส่งผลให้เกิดอันตรายกับนักท่องเที่ยวที่จะลงเล่นน้ำได้ค่ะ
การป้องกันและวิธีการเอาชีวิตรอด
ควรเล่นน้ำในบริเวณที่กำหนดไว้
ห้ามลงเล่นน้ำในบริเวณที่มีธงแดง และ
หากตกเข้าไปอยู่ในกระแสน้ำย้อนกลับ หรือคลื่นทะเลดูด หรือคลื่น ดอกเห็ด ควรตั้งสติให้ดี ไม่ว่ายทวนกระแสน้ำเพราะจะทำให้หมดแรงและจมน้ำได้ ควรว่ายน้ำขนานไปกับชายฝั่ง เมื่อพ้นจากแนวกระแสน้ำย้อนกลับแล้วจึงว่ายกลับเข้าฝั่ง
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค โดยกองป้องกันการบาดเจ็บ ได้จัดทำสื่อเรื่องดังกล่าวในรูปแบบเทคโนโลยีโลกเสมือน (Augmented Reality) หรือสื่อ AR ให้ผู้ใช้งานในระบบ Android สามารถเข้าไปติดตั้งแอปพลิเคชัน “ป้องกันจมน้ำ” ได้ที่ Play Store เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และวิธีการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำเพิ่มเติมได้
อ้างอิง : กรมควบคุมโรค , กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , themanual