
ช็อก! กรมอนามัยเผย มีสารฟอร์มาลีน หรือน้ำยาดองศพ ปนเปื้อนในอาหารสูงถึง 31%
วันที่ 30 มกราคม 2566 รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์”
อาจารย์โพสต์ เตือนเกี่ยวกับการปนเปื้อนสารฟอร์มาลีน จากงานเสวนา “กินอยู่อย่างไร...ให้ห่างไกลสารพิษ”
โดยระบุว่า ในช่วงปี 2565 ทางกรมอนามัยทำการศึกษาสถานการณ์การปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร ด้วยการสุ่มตรวจทั้งหมด 21,080 ตัวอย่าง จากสถานประกอบกิจการด้านอาหารทั่วประเทศ พบว่า 97% ไม่พบการปนเปื้อน และอีก 3% พบว่ามีการปนเปื้อน
โดยในกลุ่มของอาหารที่การปนเปื้อน อันดับหนึ่ง คือ ฟอร์มาลีน พบถึง 31%, รองลงมา ยาฆ่าแมลง 25%, สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 19%, สารเร่งเนื้องแดง 11%, สารกันรา 10%, บอแรกซ์ 4% ตามลำดับ
ฟอร์มาลีนมักใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคหรือน้ำยาดองศพ มีลักษณะเป็นของเหลวสีใส มีกลิ่นฉุนเฉพาะ ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติกสิ่งทอ ใช้เพื่อรักษาผ้าไม่ให้ยับ ป้องกันเชื้อราและใช้ป้องกันแมลงในธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยว
ฟอร์มาลีนเป็นสารอันตรายและห้ามใช้ในอาหารทุกชนิด แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในทางที่ผิด เพราะเชื่อกันว่าช่วยให้อาหารคงความสดใหม่ ไม่เสียง่าย เก็บรักษาได้นาน มักใช้กับอาหารที่เน่าง่าย เช่น อาหารทะเลสด (กุ้ง ปู ปลา ปลาหมึก ปลาหมึกกรอบ) เครื่องในสัตว์ (สไบนาง ผ้าชี้ริ้วสีขาว) เนื้อสัตว์ ผักผลไม้
ฟอร์มาลีนเป็นสารก่อมะเร็งในสิ่งมีชีวิต เมื่อทานเข้าไปจะเป็นๆ จะมีอาการปวดท้องรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติและหากมีการกินในปริมาณ 30 มิลลิลิตร ก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
การหลีกเลี่ยง มี 4 วิธี คือ “อาหารสด” เมื่อดมกลิ่น จะต้องไม่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก
“ผักผลไม้” สดใหม่ไม่แห้งเหี่ยว แม้จะวางขายทั้งวัน
“เนื้อสัตว์สด” ทั้งที่ไม่แช่เย็นและสดกว่าปกติ
“นำมาล้างน้ำ” ก่อนนำมาปรุงอาหาร ควรล้างน้ำทุกครั้ง
ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือน ผู้ประกอบการนำแช่หมูแช่ฟอร์มาลีนมาจำหน่าย มีโทษตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากสารฟอร์มาลีนถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมและการแพทย์เท่านั้น ห้ามนำมาใช้ใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพ
ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์ หรือฟอร์มาลีน เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร ผู้ใช้สารนี้กับอาหารหรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิตจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ หากตรวจพบการกระทำดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฏหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเปรียบเทียบย้อนหลัง จากหน่วยโมบายล์ยูนิตของกรมอนามัย พบว่า สถานการณ์การปนเปื้อนของสารฟอร์มาลีนในอาหารนั้นเพิ่มขึ้นมาโดยต่อเนื่องเรื่องๆ ทุกปี จนมาถึง 5.42% ในปี 2564 และเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาเป็น 7.73% ในปี 2565
ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
เครดิต จาก https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess/posts/pfbid02ebFezd4Cxq34mmyvPjMdQAvWZtjmJYCFR9ArBagvJUyZNgQph2uBqnev19VELrual
ภาพ จากงานเสวนา “กินอยู่อย่างไร...ให้ห่างไกลสารพิษ”
https://www.youtube.com/watch?v=pH_rjxHnU0Y&t=1915s