
ไซยาไนด์ อันตราย อย่าใช้ไล่สัตว์มีพิษ!
อีจัน คุยกับ รองศาสตราจารย์ วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า ไซยาไนด์จะมีอยู่ 3 รูปแบบ
1. ของแข็ง คือ โพแทสเซียมไซยาไนด์ สูตร KCN กินเข้าไปแล้วตาย
2. ก๊าซ คือ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ สูตร HCN กินเข้าไปแล้วตาย
3. ในธรรมชาติ คือ ไกลโคไซด์ไซยาไนด์ หรือ Cyanogenic glycosides (ไซยาโนจีนิค ไกลโคไซด์) สูตรยาว จะใช้สัญลักษณ์ (CNglcs) จะพบในแอปเปิ้ล แต่ไม่ต้องตกใจกินเข้าไปแล้วไม่ตาย
ส่วนที่ “ไอซ์ ปรีชญา” ซื้อไปนั้น คือ โพแทสเซียมไซยาไนด์ มีลักษณะเป็นเกลือแข็ง อาจจะเกิดความเข้าใจผิดที่ไปซื้อมา เพราะถ้าไม่รู้จักวิธีการใช้ที่ดีพอ ก็อาจจะเกิดการปนเปื้อน เป็นอันตรายกับตัวเองและคนอื่นมากๆ
สำหรับวิธีทำให้สัตว์เสียชีวิตแล้วสต๊าฟเอาไว้ เฉพาะในทางการแพทย์ สัตวแพทย์ในโรงพยาบาลสัตว์จะใช้ “ไฮโดรเจนไซยาไนด์” เพราะฉะนั้นการนำ “ไฮโดรเจนไซยาไนด์” เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เป็นการใช้ที่ผิดวัตถุประสงค์
การไล่สัตว์มีพิษ ความจริงใช้กำมะถัน หรือ ปูนขาว จะมีความปลอดภัยมากกว่า
เตือนเลยนะคะ อย่าหาไปซื้อ ไซนาไนด์ มาใช้กันเอง มันอันตรายมาก