ตั้งตารอชม! 21 มีนาคม 66 วันวสันตวิษุวัต กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน

วันวสันตวิษุวัต ปรากฏการณ์ที่กลางวัน ยาวเท่ากันกับ กลางคืน จะเกิดขึ้นครั้งแรกของปี วันที่21 มีนาคม 66 นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า 21 มีนาคม 2566 เวลากลางวันยาวเท่ากับช่วงเวลากลาง และเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของปีนี้ โดยจะเรียกวันนี้ว่า “วันวสันตวิษุวัต”

ในแต่ละวัน ดวงอาทิตย์จะปรากฎในตำแหน่งต่างกัน โดยจะเปลี่ยนตำแหน่งไปวันละประมาณ 1 องศา เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาในตำแหน่งที่ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้ดวงอาทิตย์โผล่จากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี 

ในส่วนของประเทศไทย ในวันที่ 21 มีนาคม เราจะเห็น ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.21 น. และพระอาทิตย์ตกตอน 18.28 น. ตามเวลาของกรุงเทพมหานคร

ซึ่งวันวสันตวิษุวัต นี้ จะเกิดเพียงปีละ 2 ครั้ง เท่านั้น

หลายคนน่าจะสงสัยว่า “วสันตวิษุวัต” อ่านว่าอย่างไร และมีความหมายว่าอะไร สำหรับคำนี้จะอ่านว่า วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด ซึ่งคำว่าเป็น วิษุวัต มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง จุดราตรีเสมอภาค 

สำหรับวันวสันตวิษุวัต ทางซีกโลกเหนือ เป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ และยังมีอีกหนึ่งวัน คือ วันศารทวิษุวัต ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกเหนือ อีกด้วย

ซึ่งตามปกติ แกนโลกเอียง ทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ส่งผลให้อุณหภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วย ทำให้วันวสันตวิษุวัต เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยมากในแต่ละปี

สำหรับวัน ที่จะเกิดปรากฏการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์ คือ วันที่ 21 มิถุนายน 2566 จะเป็นวันครีษมายัน ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ทำให้ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี

แต่ละปรากฏการณ์น่าสนใจจริงๆ เลยค่ะ จัน จะรอดูพร้อมๆ กับทุกคนนะคะ^^

คลิปอีจันแนะนำ
ลูกเห็บตกระนาว เวียงป่าเป้า เชียงราย