โปรดเกล้าฯ สมณศักดิ์ พระมหาเอื้อน สู่ราชทินนาม พระพรหมดิลก

โปรดเกล้า สมณศักดิ์ “ พระมหาเอื้อน หาสธมฺโม ” สู่ราชทินนาม “ พระพรหมดิลก ” โดยให้ถือว่าไม่เคยถูกถอดถอนสมณศักดิ์และราชทินนามมาก่อน

ราชกิจจาฯ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์พระมหาเอื้อน หาสธมฺโม (ป.ธ.9 ) ดำรงสมณศักดิ์ พระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ “พระพรหมดิลก “ สถิต ณ วัดสามพระยา พระอารามหลวง กรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พุทธศักราช 2566 ความว่า

ตามที่ พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาและได้มีพระบรมราชโองการถอดถอนสมศักดิ์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2561 นั้น บัดนี้ คดีถึงที่สุดแล้ว

โดยพฤติการณ์ถือได้ว่าไม่ใช่ความผิดฉกรรจ์ หรือความผิดร้ายแรง หรือเป็นผู้ร้ายสำคัญ ประกอบกับไม่มีการกล่าวลาสิกขา และไม่มีการดำเนินการให้สละสมณเพศ ทั้งปรากฎข้อเท็จจริงว่า ยังคงดำรงตนอย่างพระภิกษุโดยตลอดระหว่างถูกจับกุมขัง จึงมีสภาวะเป็นพระภิกษุ มีสถานะเป็น พระมหาเอื้อน หาสธมฺโม (เปรียญธรรม 9 ประโยค) ซึ่งมหาเถรสมาคมมีมติรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 ตรี แห่งพระราชญัติคณะสงฆ์ พงศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561

จึงทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาให้ พระมหาเอื้อน หาสธมฺโม (เปรียญธรรม 9 ประโยค) ดำรงสมณศักดิ์ พระราชาคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฎว่า พระพรหมดิลก ปริยัตินายกคณาทร บวรศาสนกิจ ศีลสมาจารนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี สถิต ณ วัดสามพระยา พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร โดยให้ถือว่าไม่เคยถูกถอดถอนสมณศักดิ์และราชทินนามมาก่อน

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2566 พุทธศักราช 2566


ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม 2566 เป็นปีที่ 8 ในราชกาลปัจจุบัน

สำหรับ คดีเงินทอนวัด เกิดขึ้นเมื่อปี 2560 เป็นคดีที่สะเทือนวงการพระพุทธศาสนาอย่างมาก เนื่องจาก มีผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งอดีตผู้อำนวยการสำนักพุทธฯ และยังเชื่อมโยงไปถึงพระเถระชั้นผู้ใหญ่หลายรูป

คดีเงินทอนวัด ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก พระพรหมดิลก 8 เดือน – รอลงอาญา 1 ปี
คลิปอีจันแนะนำ
ผอ. โต้กลับ ไม่ได้ตบ นร. แค่แตะหัวเบาๆ ป.4 โดน ผอ.ตบ