ไซยาไนด์ คืออะไร ทำไมอันตรายถึงขั้นฆ่าคนให้ตายได้

ทำความรู้จัก ไซยาไนด์ (Cyanide) คืออะไร ทำไมถึงอันตรายขนาดฆ่าคนให้ตายได้

จากข่าวตำรวจสอบสวนกลาง ออกหมายจับ “สาว อ.” เพื่อน “สาว ก.” สาวเมืองกาญจน์ ที่ไปปล่อยปลาที่บ้านโป่งแล้วเป็นลมตายที่ท่าน้ำ ซึ่งเพื่อนชิ่งหนีไม่ยอมช่วย พร้อมฉกทรัพย์สินไปด้วย และจากแนวทางสืบสวนเจ้าหน้าที่เชื่อว่า สาว อ.น่าจะเป็นผู้นำไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งเป็นสารเคมีอันตราย ผสมใส่อาหารให้ผู้ตายรับประทาน เพื่อหวังลักทรัพย์สินมีค่าต่างๆ ของผู้ตาย ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างนำตัวมาสอบปากคำ

ตร. คุมตัว สาว อ. ราชบุรี พร้อมขวด ไซยาไนด์ หลังเหตุ สาววูบดับ

ทำความรู้จัก “ไซยาไนด์” (Cyanide)

“ไซยาไนด์”  ชื่อนี้คุ้นหูว่าเป็น “ยาพิษ” ที่มักใช้กินเพื่อฆ่าตัวตาย ขณะเดียวกันคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่เคยเห็นหน้าตาของไซยาไนด์เสียด้วยซ้ำไป

กองห้องปฏิบัติการสาธารณสุขกรมอนามัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารกลุ่ม “ไซยาไนด์” ไว้ว่า ที่รู้จักมี 2 ตัวคือ ตัวที่หนึ่งเป็นของแข็ง เกลือไซยาไนด์ ซึ่งเป็นโซเดียมไซยาไนด์ หรือ โปรแตสเซียม ไซยาไนด์ ส่วนตัวที่สองหรืออีกตัวมีสถานะเป็นก๊าซคือ ไฮโดรเจน ไซยาไนด์ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยา เมื่อเอากรด เช่น กรดเกลือ หรือกรดกำมะถัน ผสมกับเกลือไซยาไนด์ จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็นเกลือไซยาไนด์ หรือก๊าซเป็นอันตรายถึงตายได้เหมือนกัน

ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ จึงถูกใช้ในการประหารนักโทษระหว่างสงคราม หลายคนอาจจะเคยเห็นในหนังสงคราม มีการใช้ก๊าซตัวนี้พ่นรมศัตรูล้มตายเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงประโยชน์ก็มี เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตไนล่อน โดยเฉพาะยาฆ่าแมลง ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และมักจะมีการใช้อย่างขาดความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัย

นอกจากนั้นยังใช้เพื่อสังเคราะห์สารเคมีอื่น ๆ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ขณะที่ในเหมืองทองมีการใช้ไซยาไนด์ในกระบวนการสกัดทอง เป็นต้น

เกลือไซยาไนด์ละลายน้ำได้ดี ส่วนก๊าซนั้นก็ละลายในน้ำได้ดีเช่นกัน ไวต่อปฏิกิริยากับตัวออกซิไดซ์ อาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อนหรือเปลวไฟ สำหรับชื่ออื่นของก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ ที่ใช้เรียกกันก็มี กรดไฮโดรไซยาไนด์ และ กรดปรัสซิก

ส่วนอาการของพิษเฉียบพลันของไซยาไนด์คือ หายใจติดขัด ชักและหมดสติ อวัยวะที่ถูกกระทบคือระบบประสาทส่วนกลาง ตับ ไต และระบบหัวใจ

ขณะที่แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ไซยาไนด์ ว่า เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง รู้จักมานานตั้งแต่ในอดีต พบได้ในหลายรูปแบบได้แก่ ภาวะก๊าซ hydrogen cyanide เกิดจากการเผาไหม้สารพลาสติก polyurethane และหนังเทียม เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้เคราะห์ร้ายในเพลิงไหม้ สารละลายเช่น potassium cyanide พบในมันสำปะหลังดิบ ลูก peach เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูก metabolized และให้ cyanide ออกมาสู่ร่างกาย

อาการของผู้ป่วยมักจะเริ่มปรากฏหลังจากได้ ไซยาไนด์ ในเวลาสั้นๆ เริ่มจากปวดศีรษะ ใจสั่น หน้าแดง หมดสติ ชัก และอาจจะเสียชีวิตภายในเวลา 10 นาที ในรายที่รุนแรงน้อยกว่าจะกดการทำงานของระบบประสาทและการหายใจ ภาวะเป็นกรดในเลือด จะปรากฏให้เห็นในเวลาต่อมา ตรวจร่างกายพบผู้ป่วยตัวแดง สีบริเวณเยื่อบุแดงคล้ายคนปกติ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยหยุดหายใจก็ตาม

ฆาตกรต่อเนื่อง Serial killer พฤติกรรมสุดเหี้ยม

การควบคุมสารโซเดียมไซยาไนด์ในประเทศไทย นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยเมื่อวันที่ 1 พ.ย.65 ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รับทราบแนวทางการควบคุมสารโซเดียมไซยาไนด์ สารเบนซิลคลอไรด์และสารเบนซิลไซยาไนด์ ซึ่งเป็นสารที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล หลังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงที่จังหวัดหนองบัวลำภู

สำหรับแนวทางการควบคุม สารโซเดียมไซยาไนด์ สารเบนซิลคลอไรด์และสารเบนซิลไซยาไนด์ ได้แก่ ระงับการส่งออกและชะลอการนำเข้าสารโซเดียมไซยาไนด์และสารเบนซิลไซยาไนด์ไว้ก่อน เพื่อปรับปรุงวิธีการพิจารณาการอนุญาตการนำเข้าและส่งออก โดยจะอนุญาตให้นำเข้าและส่งออกตามปริมาณการใช้จริง ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จะได้ดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาอนุญาตเป็นรายๆ ไป

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้สารโซเดียมไซยาไนด์ ภายในประเทศประมาณ 141 ราย มีปริมาณการใช้ภายในประเทศประมาณ 300 ตันเศษ (ไม่รวมการใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่) ส่วนสารเบนซิลไซยาไนด์ ภายหลังปี พ.ศ. 2560 ยังไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ

อ้างอิงข้อมูล :

https://rldc.anamai.moph.go.th/th/general-knowledge/66255

https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/gas/Cyanide

ร่วมโหวตกับ Poll อีจัน
var d=document,w=”https://tally.so/widgets/embed.js”,v=function(){“undefined”!=typeof Tally?Tally.loadEmbeds():d.querySelectorAll(“iframe[data-tally-src]:not([src])”).forEach((function(e){e.src=e.dataset.tallySrc}))};if(“undefined”!=typeof Tally)v();else if(d.querySelector(‘script[src=”‘+w+'”]’)==null){var s=d.createElement(“script”);s.src=w,s.onload=v,s.onerror=v,d.body.appendChild(s);}