Live Blog #ประชุมสภา ผู้แทนราษฎร ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี

#ประชุมสภา ผู้แทนราษฎร วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล วันที่ 2

“ขอฝากความคิดของผมไว้ ผมบังคับใครไม่ได้”
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
“ท่านไม่ชอบผมไม่เป็นไร แต่ท่านไม่ชอบประเทศที่ท่านอยู่ ไม่ได้”
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

“เรือดำน้ำ ใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปี ทุกคนต้องเข้าใจ ในสิ่งที่จะเอาชีวิตไปฝากไว้ คนที่ลงไปอยู่ในเรือ ก็ถือว่าเอาชีวิตไปเสี่ยง”

“หากไม่ซื้อเรือดำนำ ลำที่ 2 ที่ 3 รัฐบาลไทยจะต้องเสียค่าปรับ เนื่องจากได้ทำสัญญากับจีนไว้แบบ G to G”

“อย่าคิดสั้นๆ เรื่องการเพิ่มกำลังทหาร ขอชี้แจงเรื่องการดำเนินการโครงการเรือดำน้ำ ยังมีภาระหนี้กว่า 7 แสนล้านบาท”

เรื่องหนี้สาธารณะ รัฐบาลทุกชุด จำเป็นต้องรักษา เยี่ยวยาต่อเนื่องกัน งบประมาณทุกส่วน ล้วนมาจากภาษีประชาชน ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือกัน

“รัฐบาลก็ไม่ได้ต้องการรีดภาษีจากประชาชน แต่ทุกคนต้องช่วยกัน”

“หากใช้วิธีการคิด การพูด การอภิปรายแบบเดิมๆ ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ เกิดขึ้น ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย”

การใช้จ่ายงบประมาณแต่ละอย่าง มีมาตรการในการดำเนินการ ไม่ได้นำไปซื้ออาวุธส่วนตัว แต่ทุกอย่างที่ทำ เพื่อใคร? เพื่อประชาชน เพื่อประเทศ แต่ทุกอย่างติดเรื่องหลักการ

การต่อรองเรื่องคดี กับ คิงส์เกต ประเทศไทยไม่ได้อะไรเลย นอกจาก “ความหวัง ลมๆ แล้งๆ”
จิราพร สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย

“ถ้านายกฯ จะอ่านแค่ตามโพยที่ทีมงานให้มา แบบนี้ ถ่ายเอกสารแจกให้สมาชิกสภาฯ อ่านเองก็ได้!”

“ตั้งแต่นายกฯ เข้ามาบริหาร ประเทศไทย สูญเสียโอกาสหลายด้าน ในช่วงที่ผ่านมา”
ไชยา พรหมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย

การบริหาร ของนายกฯ ไม่ประสบความสำเร็จ มันล้มเหลว งบประมาณกว่า 22 ล้านล้านบาท ไม่ได้ผล

คนตกงาน กว่า 10 ล้านคน นักศึกษาจบใหม่ ปัจจุบันอยู่ในภาวะต้องตกงานในอนาคต

การบริหารจัดการ โครงการ “เราชนะ” เหมือนให้ประชาชนออกมาชิงโชค แย่งกันลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ

7 ปี ของการบริหาร ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ต่ำกว่าประมาณการ เกือบทุกปี

สิ่งที่เหลืออยู่สุดท้ายของ นายกฯ คือการเสียสละ เพื่อประเทศ “ล่าออกเถอะครับ!

การอภิปรายไม่ไว้วางใจรายบุคคล ของฝ่ายค้าน ในการประชุมสภา 16-19 ก.พ. 2564 วันที่ 2 วันที่ 17 ก.พ. อภิปรายเดือด ญัตติร้อน ปมวัคซีนโควิด โดย นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล

เริ่มต้นการอภิปราย นายวิโรจน์ กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 ไม่ใช่แค่เรื่องโรคภัย แต่เป็นปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และปากท้องของประชาชนด้วย

จากนั้น นายวิโรจน์ อภิปรายไล่ลำดับต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้ อยากให้นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกไปดูความเป็นจริง ในพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ บ้าง อาทิ ถนน walking Street พัทยา ที่ตอนนี้ เป็นพื้นที่ถูกทิ้งร้างไปแล้ว

รัฐบาลคุยโว ไทยจะเป็นประเทศแรกๆ ของโลก ที่จะได้รับวัคซีนโควิด แล้ววันนี้ เป็นยังไง อย่าอ้าง! ประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อโควิดน้อย แต่ความเป็นจริง “นายกฯ และอนุทิน ไม่ได้สนใจประชาชนอย่างแท้จริง”

ในขณะที่ต่างชาติ เริ่มตื่นตัวเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิดกันแล้ว แต่นายกฯ ยังหวานเย็น ไม่ตื่นตัว เพิ่งจะรู้สึกตัว เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งแทบจะไม่ทันแล้ว วัคซีนโควิด ที่จัดซื้อเข้ามา ครอบคลุมจำนวนประชาชนทั้งประเทศแค่ร้อยละ 20 เท่านั้น

แต่หลังจากมีกรณีพื้นที่ระบาดสมุทรสาคร ถึงตื่นตัว จัดซื้อจัดหาวัคซีนโควิด เพิ่มเติม ให้ครอบคลุมร้อยละ 50 ของประชาชนทั้งประเทศ?

4 มกราคม 2564 เกิดแผนกระจุกวัคซีนโควิด ทำลายชาติ ซึ่งเป็นหลักฐานการเดิมพันชีวิตประชาชนกับการสั่งซื้อวัคซีนโควิด จากผู้ผลิตเพียงรายเดียวเท่านั้น

นายกฯ และอนุทิน เคยรับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ หรือไม่? เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเรื่องวัคซีนโควิด การฉีดวัคซีนโควิด 3 ระยะ จำนวนสั่งซื้อเข้ามา ถามว่าจำนวนโดส จะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ได้จริงหรือพล.อ.ประยุทธ์ต้องตอบว่า ทำไมต้องเป็นซิโนแวค

แต่ปัจจุบันไม่มีความคืบหน้า พอถูกจี้มากๆ นายอนุทินก็ออกมาบอกว่าได้ทวงถามไปแล้ว ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ แต่กว่าที่คณะกรรมการขับเคลื่อนโควิด จะได้ทำงาน

ความล่าช้าในการจัดหา นายวิโรจน์ อภิปรายว่า ต้องรอจนกว่าวันที่ 29ก.ค. 63 จนมาถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2563 นายอนุทินเป็นประธานที่ประชุม ได้มีการตั้งข้อกังวล กับทางโคแวค ซึ่งนายอนุทินรับรู้มาตลอด จะอ้างว่า ไม่ทราบไม่ได้ เพราะตัวเองนั่งเป็นประธานเอง

นายวิโรจน์ ตั้งข้อสังเกตว่า แม้นายอนุทินจะมาโพสต์เฟซบุ๊กอ้างว่า ประเทศไทยไม่พร้อมที่จะเข้าร่วมโคแวค แต่ประเทศอื่นๆ นั้น ไม่ว่าจะมาเลเซีย หรือ แม้แต่แคนนาดา หรือกระทั้ง สหรัฐอเมริกา ก็ต่างเข้าร่วมกับโคแวค มีประเทศเข้า172 ประเทศ อาเซียน เข้าแล้ว 9 ประเทศ

นายวิโรจน์ อภิปรายต่อไปว่า นายอนุทินอย่าอ้างว่า โคแวคจะส่งวัคซีนล่าช้า เพราะหน้าเว็บไซต์โคแวคเอง ได้ประกาศแล้ว จะเตรียมแจกจ่ายให้กับทุกประเทศที่เข้าร่วม ประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมได้หมด อยากให้นายอนุทินได้เข้าไปดูเว็บไซต์เขาบ้าง

ทุกวันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งหายใจรดทิ้งไปวัน ๆ ประเทศชาติเสียหาย เป็นมูลค่า 8,300 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นชั่วโมง 347 ล้านบาท จนถึงวันนี้ ฉีดวัคซีนล่าช้าไปกี่วันแล้ว

ในช่วงหนึ่งของการอภิปราย นายวิโรจน์ กล่าวว่า ปัญหาจากการแทงหวยไปที่เจ้าเดียว จะทำให้เกิดปัญหากับคนไทย และที่อนุทินพูดเอง ว่าคนไทยจะได้ฉีดวัคซีน จำนวน 5 หมื่นโดส จากแอคต้าเซเนก้า จะมาถึงไทย และจะส่งให้ไทยช่วงกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากอิตาลี แต่ไม่สามารถทำได้ตามกำหนด

จากนั้น นายวิโรจน์ อภิปรายต่อไปว่า อีกเรื่องที่ประยุทธ์ และอนุทิน ยังจะคงยืนกรานว่า จะให้ประชาชนอายุ 65 ปีฉีดวัคซีนแอคต้าเซเนก้าหรือไม่ เพราะหลายประเทศสั่งห้ามและสั่งไม่แนะนำให้มีการใช้วัคซีน ให้กับผู้สูงอายุ เพราะมีผลข้างเคียง

นอกจากนี้ นายวิโรจน์ ได้ตั้งคำถามที่หมอหลายท่านฝากมาถาม เพราะเคยเสนอนายอนุทินไปแล้ว ว่า ต้องฉีดวัคซีนให้กับคนอายุ 20-45 ปีก่อนเพราะมีการทำงานและออกไปข้างนอก เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยง แต่ไปเชื่อฝ่ายความมั่นคง ที่จะให้ฉีดวัคซีนกับผู้สูงอายุก่อน ทั้งที่วัคซีนที่จะนำเข้ามา มีความเสี่ยง

ในประชุมศบค. ครั้งที่ 10 /2563 ได้มีการกล่าวถึงบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพในการผลิตวัคซีน โดยรับวิทยาการจากม.อ๊อกฟอร์ด ละของบประมาณ 600 ล้านบาท ในการสนับสนุนการวิจัยการศึกษาพัฒนาวัคซีน และได้รับการอนุมัติจาก ครม.

งบ 600 ล้านเพื่อเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมวัคซีน ประชาชนคิดว่าคงไปลงทุนเทคโนโลยีและบุคลากร แต่ปรากฏ 430 ล้านบาทจากทั้งหมด กลับไปซื้อสารเคมีกับวัสดุสิ้นเปลือง การซื้อวัตถุดิบในการผลิตเหล่านี้ควรเป็นหน้าที่ของบริษัทเอกชนไหม ทำไมรัฐต้องเอาเงินภาษีไปซื้อวัตถุดิบให้สยามไบโอไซเอนซ์

แล้วที่มีการขอให้มีการขอให้ซื้อเพิ่ม ทางรัฐบาลได้ซื้อเพิ่ม 30 ล้านโดส ซึ่งทำให้เห็นว่า ประยุทธ์ และ อนุทิน ไม่ยอมกีระจายความเสี่ยงในการจักหาวัตคซีน ไปยังแหล่งอื่นๆ แต่กับมุ่งเน้น ไปยัง แอคต้าเซเนก้าเจ้าดียว ซึ่งเป็นเอกชนที่เพิ่งจะได้รับการถ่ายทอดความรู้มาไม่นาน

ประยุทธ์ และ อนุทิน จะมั่นใจได้อย่างไรว่า เอกชน ที่เลือกจะส่งมอบวัคซีน ให้ทันกับการใช้งาน ขนาดโรงงานที่ต่างประเทศยังไม่สามารถทำวัคซีนได้ตามข้อตกลง เอาประชาชนไปเสี่ยงได้อย่างไร

นายวิโรจน์ อภิปรายอีกว่า แล้วนโยบายราคาที่ไม่กำไร No profit No Loss ประยุทธ์และอนุทินก็พยายามอำพราง เพราะข้อเท็จจริงนโยบายที่ไม่ทำกำไรนั้นเป็นนโยบายเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดเท่านั้น

ส่วนข้อสงสัย ของนายวิโรจน์ ได้แก่ ในการซื้อวัคซีนแอคก้าเซเนก้า แพงตั้ง 5 เหรียญต่อโดส ซึ่งแพงกว่า บังคลาเทศ เมื่อไปทวงถามข้อมูลสัญญาในการจัดซื้อตามกฎหมาย ก็ไม่ยอมเปิดเผย การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อวัคซีน เป็นเรื่องที่สามารถทำในสากล

ในช่วงท้ายการอภิปราย นายวิโรจน์ ย้ำอีกว่า แล้วที่มีการขอให้มีการขอให้ซื้อเพิ่ม ทางรัฐบาลได้ซื้อเพิ่ม 30 ล้านโดส ซึ่งทำให้เห็นว่า ประยุทธ์ และ อนุทิน ไม่ยอมกระจายความเสี่ยงในการจัดหาวัตคซีน ไปยังแหล่งอื่นๆ แต่กับมุ่งเน้น ไปยัง แอคต้าเซเนก้าเจ้าเดียว