สวมแว่นวิชาการ ส่องศึก อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2 นักรัฐศาสตร์ ชี้ พรรคก้าวไกล ทำหน้าที่ซักฟอกรัฐบาลดี

2 นักรัฐศาสตร์ ชื่อดัง เห็นพ้อง พรรคก้าวไกล ทำหน้าที่ดีเยี่ยม ชี้ ธรรมนัส พลิกโผ ได้คะแนนนำนายกรัฐมนตรี

จบลงไปแล้วสำหรับ ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เมื่อวันที่ 16-19ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่ง นายกรัฐมนตรี และ 9 รัฐมนตรี สามารถฝ่าด่านซักฟอกของฝ่ายค้านมาได้ แต่ก็ยังมีรัฐมนตรีบางคน ที่นับจากจบศึกนี้ อาจจะถูกตั้งคำถามอย่างมากมาย

อย่างไรก็ดี หลังการอภิปราย เรา ๆ ท่าน ๆ มองเห็นอะไรบ้าง และมองสถานการร์ที่เกิดขึ้นอย่างไร?

อีจัน ได้สัมภาษณ์นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ชื่อดัง 2 ท่าน เพื่อวิเคราะห์และสะท้อนภาพการเมือง ซึ่งมีเรื่องที่น่าสนใจอยู่ไม่ใช่น้อย

ชม พรรคก้าวไกล ทำหน้าที่ฝ่ายดี

ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวแสดงความเห็นต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ว่า ในเรื่องของ การขึ้นชี้แจงนั้น ก็เป็นเรื่องความพร้อมของแต่ละรัฐมนตรี ที่มีการทำการบ้านเพื่อตอบคำถามการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือที่มีคณะทำงานที่มีความพร้อม สำหรับรัฐมนตรีที่มีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ส่วนตัว ยกให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถ้าวัดเป็นคะแนนนั้น ให้ 9 เต็ม 10 ซึ่ง พล.อ.อนุพง์ ตอบทุกประเด็น และไม่มีประเด็นที่ตกหล่น ซึ่งทำให้ไม่สามารถนำไปขยายประเด็นทางการเมือง หรือตั้งแง่ทางการเมืองต่อไป ไม่มีเกิดขึ้น มีการนำเสนอพรีเซ็นต์ชี้แจง ที่สมบูรณ์แบบขณะเดียวกัน ฝ่ายค้านมีการซักถาม ซึ่งบรรยากาศที่เกิดขึ้น มันคือการยกระดับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ถัดมา เป็น พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อาจารย์วันวิชิต มองว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีพัฒนาการในการใช้โซเชี่ยลมาร่วมในการชี้แจง ใช้โทรศัพท์มือถือมาเปิดแก้ต่าง ประโยคคำพูดของตนเอง ในเรื่องร้อยนายก ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาบ่อนได้ ส่วนในวันถัดๆมา พล.อ.ประยุทธื เริ่มจะใช้พวกโวหาร การประดิษฐ์คำ คำพูดประเภทเสียดสี เสียดแทง มากขึ้น กว่ากว่าการที่จะตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา มีความเป็นนักการเมือง

“แต่ในแง่นี้ ส่วนตัวมีความรู้สึกผิดหวัง ในแง่ที่ว่า แทนที่จะตอบคำถามแบบตรงไปตรงมา แล้วก็ลุกขึ้นชี้แจงมากไปหน่อย เรื่องบางเรื่องตัวเองไม่ต้องขึ้นชี้แจงแทน เข้าใจว่า ฝ่ายค้านพาดพิงตัวนายกฯ ทุกเรื่องทุกประเด็นอยู่แล้ว แต่ว่าบางเรื่องนั้น ก็ต้องปล่อยรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ที่เกี่ยวข้อง มาใช้พื้นที่ตรงนี้มาอธิบายได้ดีกว่า “ อาจารย์วันวิชิต แสดงความเห็น

ส่วนรัฐมนตรีที่สอบตกในการอภิปรายครั้งนี้ อาจารย์วันวิชิต มองว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สอบตก ถัดมา เป็น นายณัฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สอบตกในการชี้แจงเรื่องแต่งตั้งคนของตัวเอง เข้ามาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (เลขาธิการ สกสค.) มันเป็นเรื่องหลักธรรมาภิบาล ซึ่งพูดง่ายๆว่า อยากจะตอบในสิ่งที่ตัวเองอยากจะตอบ แต่ไม่ตรงคำถาม รวมทั้ง นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง และอาจจะมีผลต่อพรรคพลังประชารัฐด้วย เพราะอาจจะนำไปสู่การนำไปเป็นข้ออ้าง ของการปรับคณะรัฐมนตรีต่อไปได้

เมื่อมามองที่ฝ่ายค้าน ต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรอบนี้นั้น อาจารย์วันวิชิต กล่าวว่า ในครั้งนี้ พรรคก้าวไกล ทำหน้าที่ได้ดีกว่า พรรคเพื่อไทย มาก เพราะเมื่อมองที่พรรคเพื่อไทย การนำเสนอหลักฐานต่าง ๆ การนำเสนอ ความน่าเชื่อถือในหลักฐาน สู้พรรคก้าวไกลไม่ได้ แล้วมีการเน้นไปที่เรื่องสำบัดสำนวน ประดิษฐ์คำโวหารมากจนเกินไป

“ถามว่า พรรคเพื่อไทย มีคนเก่งที่อภิปรายดีไหม ต้องตอบว่า มี ไม่ว่าจะเป็น คุณจิราพร สินธุไพร คุณประเสริฐ จันทรรวงทอง คุณยุทธพงษ์ จรัสเสถียร แม้จะมีคนชอบหรือไม่ชอบก็ตาม แต่ในการอภิปรายคุณณัฐพล ในเรื่องแต่งตั้งคนตัวเอง ถือว่าเป็นการมัดตราสังข์ได้เลย เพราะไม่สามารถอธิบายอะไรได้ แล้วมีการนำเสนอหลักฐานที่ทำลายความชอบธรรมคุณณัฐพลในพรรคพลังประชารัฐ แม้แต่ความพยายามจะผลักดันภรรยา คุณ ทยา ทีปสุวรรณ ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ตกลงไป”

ในเรื่องการประดิษฐ์คำมากเกินไป อาจารย์วันวิชิต มองไปที่ คุณศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ ที่ใช้สำบัดสำนวนมากเกินไป จนทำให้ความน่าเชื่อถือลดลงไป กลายเป็นลิเกหลงโรง แม้จพเข้าใจได้ว่า เป็นสไตส์ เป็นรูปแบบส่วนตัว ในมุมมองของคนมองแบบเป็นกลาง

ในส่วนของ ก้าวไกล ในการอภิปรายครั้งนี้ หลายคนแจ้งเกิด ไม่ว่าจะเป็น คุณวรรณวิภา ไม้สน ที่อภิปรายนายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ยกให้เป็น women of the matchถามในสิ่งที่รมว.แรงงานตอบไม่ตรงคำถาม การนำเงินกองทุนประกันสังคม ไปเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด แต่ใครจะต้องชดใช้คืนกองทุนดังกล่าว ซึ่งรัฐมนตรีตอบไม่ตรงคำถาม

ส่วนคนอื่นๆ คุณธีรัจชัย พันธุมาศพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ก็ทำหน้าที่ได้ดี การอภิปรายสรุปของหัวหน้าพรรค นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก็ทำดี

“ส่วนตัวมีผิดหวังในการวางตัวบุคคลของก้าวไกลเล็กน้อย ก็จะเป็นเรื่องของคุณวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ด้วยบุคลิกอันดุดัน มาซักฟอกประเด็นละเอียดอ่อน เรียกแขกเรียกคนดูแฟนคลับอาจจะได้ แต่ส่วนตัวมองว่าด้วยน้ำเสียงแบบนี้ อาจจะสร้างเวทีชวนทะเลาะมากกว่า และที่สำคัญ คณะทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ก็ตั้งแถลงโต้ทันที และมีภาพของความแม่นยำ และเชี่ยวชาญมากกว่า น่าเสียดาย ที่จริงๆแล้ว เนื้อหาที่เหมาะสมกับคุณวิโรจน์ ควรจะเป็นเรื่องของไอโอ ซึ่งคุณณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.บางขุนเทียน เรียกว่า ขโมญซีนก็ว่าได้ เอาความเชี่ยวชาญคุณวิโรจน์ไปแจ้งเกิดได้เหมือนกัน”

มอง กลุ่ม 3 ป. ยังมีบารมีเหนือรัฐบาล – ธรรมนัส พลิกโผ ได้คะแนนนำนายกฯ

ด้าน รศ. ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ให้คะแนนกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจสัก 7 คะแนน ฝ่ายค้านได้ 7 คะแนน ส่วนรัฐบาล อยู่ที่ 5-6 คะแนน มันสะท้อนภาพว่า การทำงานในสภาครั้งนี้ค่อนข้างใช้ได้ เพียงแต่ว่า อาจจะยังไม่ได้สมบูรณ์แบบนั้น ในรูปแบบกลไกรัฐสภา มันก็มีจุดบกพร่องในตัวของมันเอง

“อย่างไรก็ตาม การเชื่อมโยงระหว่างพรรคการเมือง กับ ประชาชน อาจจะยังไม่เกิดขึ้น เป็นเพราะ พรรคการเมืองไทยยังไม่มีความเข้มแข็งเท่าที่ควรจะเป็น แต่ถึงกระนั้น ก็สะท้อนภาพของการเปลี่ยนแปลงในหลายส่วน ฝ่ายค้าน ก็มีความเปลี่ยนแปลงในหลายส่วน ในการทำงานที่มีเอกภาพมากขึ้น ดีกว่าการอภิปรายในก่อนหน้านั้น ซึ่งครั้งนี้ไม่มีปัญหาเรื่องความไม่เป็นเอกภาพ เกิดขึ้นเลย การประสานงานทำได้ดีขึ้น การอภิปรายทำได้ดี อภิปรายได้ครบถ้วนและจบ นำไปสู่การลงมติ ไม่เหมือนครั้งก่อนที่อภิปรายไม่จบ แล้วก็ต้องไปลงมติ และฝ่ายค้านพยายามสร้างบุคลากรทางการเมืองหน้าใหม่ขึ้นมา ที่เรียกว่า เป็นดาวสภาหน้าใหม่ ขึ้นมาหลายท่าน ในการอภิปราย เช่น คุณจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ คุณจิราพร สินธุไพร ด้านก้าวไกล ก็คุณธีรัจชัย พันธุมาศ พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รวมทั้งคุณเบญจา แสงจันทร์”

ส่วนสีสันฝ่ายค้าน ก็มีพล.ต.อ.เสรีพิสุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย แม้จะมีสไตส์อภิปรายดุเดือดดุดัน ถ้าพูดภาษาวัยรุ่นสมัยนี้ เรียกว่า ของมันต้องมี ไม่งั้นมันก็จะขาดสีสันไป”

ในรูปแบบการนำเสนอ อาจารย์ยุทธพร มองว่า ฝ่ายค้านทำได้ดี มีการใช้คลิปวิดีโอ ในการอภิปราย เช่น คุณจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในเรื่องของรถไฟฟ้า มีการใช้ประโยชน์ได้อย่างน่าสนใจ ถือว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น

ด้าน ฝ่ายรัฐบาล อาจารย์ยุทธพร วิเคราะห์ว่า รัฐมนตรีบางท่าน ยังตอบคำถามไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เช่น รัฐมนตรีแรงงาน รัฐมนตรีพาณิชย์ ขณะที่ตัวนายกรัฐมนตรีนั้น มีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีกาควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ ดียิ่งขึ้น ตรงนี้ก็เป็นส่วนสะท้อน ว่ามีพัฒนาการเช่นกัน ปรับตัวเข้ากับการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งได้ดีขึ้นกว่าเดิม

“เพราะที่ผ่านมา ตัวท่านนยกรัฐมนตรีเอง ไม่ได้เคยสัมผัสกับนักการเมืองมาก่อน ก็มีพัฒนาการในการควบคุมอารณ์ได้ดีขึ้น มีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยี สมัยใหม่ มาร่วมใช้ในการอภิปราย “

ขณะที่ในเรื่องของการลงคะแนนมติไว้วางใจนั้น อาจารย์ยุทธพรบอกว่า มีจุดที่น่าสนใจอยู่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ได้คะแนน 275 คะแนน ที่น่าแปลกใจคือก่อนหน้านี้ ในเรื่องของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด วัคซีนโควิด มีความสนใจอยู่มาก ในการอภิปรายก็มีการนำข้อมูลต่าง ๆ มาพูดคุย แต่ในการลงคะแนนกลับได้คะแนนมากที่สุด และจำนวนหนึ่งมีคะแนนไว้วางใจจากส.ส.ฝ่ายค้าน พรรคก้าวไกล ตรงนี้ก็ทำให้เกิดการตีความกันอย่างกว้างขวางว่า มีส.ส.ก้าวไกล เตรียมที่จะย้ายพรรค หรือไม่ เหมือนกับก่อนหน้านี้ ที่มี 9ส.ส.อดีตพรรคอนาคตใหม่ย้ายไปอยู่กับภูมิใจไทย แต่อย่างไรก็ดี ขณะนี้เรายังไม่เห็นสัญญาณของการเลือกตั้ง หรือสัญญาณของการยุบพรรค ดังนั้นจึงมองว่าโอกาสย้ายพรรค จะยังไม่ใช่ในเวลาอันใกล้

ส่วนรัฐมนตรีที่ได้คะแนนมติไว้วางใจน้อยที่สุด คือ คุณณัฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งได้แค่ 258 คะแนน ทำให้สะท้อนภาพให้เห็นว่า ในกรณีคุณณัฐพลนั้น ก็มีประเด็นปัญหาที่มาจาก เรื่องส่วนบุคคล เรื่องเฉพาะกลุ่มภายในของพลังประชารัฐอยู่พอสมควร ซึ่งทำให้มองเห็นมีความเห็นไม่ตรงกันหรือความขัดแย้งในพรรค แม้ภาพจะดูดีขึ้น เมื่อพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค

ขณะที่รัฐมนตรีที่ได้คะแนนน้อยเช่นเดียวกัน อย่าง คุณสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ก็สะท้อนปัญหาภายในเช่นกัน เพราะคุณสุชาติ เป็นแกนนำกลุ่มภาคกลางของพรรค ตรงนี้ก็อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสรรตำแหน่งที่ยังไม่ลงตัว

ส่วนกลุ่ม 3 ป. ได้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา (ชื่อเล่นว่า ป๊อก) พล.อ.ประวิตร ได้คะแนน 274 ส่วนพล.อ.ประยุทธ์ กับ พล.อ.อนุพงษ์ ได้ 272 คะแนน สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่ม 3 ป. ยังคงเป็นผู้ที่มีบารมีในรัฐบาล และยังสามารถกำกับทิศทางต่าง ๆ ได้อยู่

“ กรณีที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ กรณีคุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนามคม ซึ่งมีคะแนนที่งดออกเสียงถึง10 กว่าคะแนน และเป็นเสียงของกลุ่มส.ส.จากพลังประชารัฐจำนวนหนึ่งเลยทีเดียว ( กลุ่มส.ส.ดาวฤกษ์ ภายใต้การนำของ น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ) สะท้อนให้เห็นว่าการเคลียร์ใจระหว่างภูมิใจไทยกับพลังประชารัฐ ต้องเกิดขึ้นแน่นอน หลังจากนี้ เพราะอย่าลืมว่า ภูมิใจไทยนั้น คือ พรรคที่มีเอกภาพ การตัดสินใจต่าง ๆ เรียกว่าเป็นระเบียบเรียบร้อยมาตลอด และทำตามมติของพรรคร่วมรัฐบาลมาโดยตลอด แต่ถ้าหากวันใดวันหนึ่ง เกิดเหตุการณ์ที่พรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคแกหลักไม่ได้โหวตให้ภูมิใจไทย ที่เขาไม่เคยแตกแถว โอกาสที่จะต้องไปเคลียรืกันนั้นย่อมต้องเกิดขึ้น เพราะอย่าลืมว่า คุณศักดิ์สยาม เป็นบุคคลสำคัญของพรรคภูมิใจไทย เป็นเลขาธิการพรรค และเป็นแกนนำของพรรค เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ”

ส่วนเรื่องของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ที่ก็ได้คะแนนไว้วางใจน้อยเช่นกัน อาจารย์ยุทธพร ก็มองว่า พรรคประชาธิปัตย์เองก็มีปัญหาในเรื่องของการยอมรับ และตัวพรรคเองก็เจอกับศึก 2 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นศึกนอก ในเรื่องการที่จะฟื้นฟูความน่าเชื่อมั่น เชื่อถือต่าง ๆ ของพรรคให้กลับมา และก็ยังมีศึกใน ที่ยังต้องให้คอยการแก้ปัญหา เพราะมีเรื่องของกลุ่มการเมืองภายใน จนมีบางกลุ่มการเมืองแตกตัวออกไปตั้งพรรคการเมืองเอง อย่าง กลุ่มที่ก่อตั้ง พรรคกล้า ที่นำโดย คุณกรณ์ จาติกวานิช

แต่สิ่งที่เหนือความคาดหมายในการอภิปรายครั้งนี้ คือเรื่องของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.กระเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งการอภิปรายรอบก่อนได้คะแนนโหวตน้อยที่สุด แต่ตรั้งนี้กลับมีคะแนนถึง 274 คะแนน และมีส.ส.ฝ่ายค้านบางส่วนไปโหวตให้คุณธรรมนัสก็มี ตรงนี้ก็ทำให้น่าคิดว่า ตัวคุณธรรมนัสเอง ก็ถือว่าเป็นผู้ที่ยังมีบารมีในรัฐบาลรุ่นเล็ก หากยกพล.อ.ประวิตร เป็นรุ่นใหญ่