
จากกรณีข่าวการแก้ไขกฎหมาย “การทำแท้ง” โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) ที่ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา และ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป ซึ่งมีทั้งหมด 4 มาตรา โดยมีสาระสำคัญ อนุญาตให้ หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้
ซึ่งคุณนุ่ม สุไลพร ชลวิไล หนึ่งในนักวิชาการ “กลุ่มทำทาง” เปิดเผยว่า หลายคนมองเรื่องนี้เป็นประตูบานแรก และเข้ามาแสดงความยินดี แต่ทางกลุ่มไม่มองอย่างนั้น และไม่อยากให้มองอย่างนั้น เพราะถ้ายอมรับแค่นั้น ก็เท่ากับว่าไม่จริงใจกับข้อเรียกร้องที่ผ่านมา ทั้งที่มีการพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำได้ ไหนๆ แก้กฎหมายนี้แล้ว ทำไมไม่ทำให้สุดทาง
ทั้งนี้ข้อเรียกร้องของ “กลุ่มทำทางและภาคประชาสังคม” เคยยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎร ขอให้พิจารณายกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 เพื่อให้ยกเลิกการลงโทษทางอาญาต่อผู้หญิงทำแท้ง และแก้ไขมาตรา 305 เพื่อเปิดทางให้แพทย์สามารถยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงได้ในอายุครรภ์ 24 สัปดาห์
ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาสินี พนานครทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเผยแพร่ บทความ การทำแท้ง : มุมมองที่แตกต่าง ในวารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 30 (1) มกราคม-มิถุนายน 2554 โดยระบุว่า
หากเรามองว่าตัวอ่อน คือ มนุษย์ สิทธิของผู้หญิงในการที่จะจัดการกับร่างกายของตัวเอง กับสิทธิของเด็กในท้อง ที่จะมีชีวิตอยู่ สิทธิใดสําคัญกว่ากัน ในเมื่อรากฐานของสังคมปัจจุบันประกอบ ไปด้วยความคิด ความเชื่อ โลกทัศน์ และมาตรฐานความดีงามที่แตกต่างกัน ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกทางสังคมของคนได้เปลี่ยนแปลงไปมาก การอธิบายหรือ ตัดสินปรากฏการณ์ต่างๆ ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายอีกต่อไป หลายแง่มุมของการดําเนินชีวิตทางสังคมเป็นเรื่องของการปะทะกันของหลักการ สิ่งที่มีปัญหาการทําแท้งจึงเป็น การปะทะกันระหว่างการยึดถือคุณค่าที่ต่างกัน จนนําไปสู่การเรียกร้องให้แก้ไข ปัญหาหลากหลายรูปแบบ
บทความนี้เป็นการสํารวจเอกสารต่างๆ ที่สะท้อน ให้เห็นถึงข้อถกเถียงเกี่ยวกับการทําแท้งที่เกิดขึ้นมานานหลายสิบปี และยังคงดําเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นรากฐานในการพิจารณาแก้ไขปัญหาในการทำแท้ง
พร้อมทั้งได้อ้างอิงบทความข้อถกเถียงเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ จากเอกสารวิชาการทั้งจากไทยและต่างประเทศ อีกหลายฉบับ อาทิ
ทั้งนี้ สังคมทั่วไป หรือบุคลากรทางการแพทย์ ต่างยังมีความเห็น แตกต่างกันในเรื่องการยุติการตั้งครรภ์ หรือ การทำแท้ง ซึ่งประชาชนบางส่วนมองว่าไม่ควร นำเรื่องศาสนา ความเชื่อ หรือทัศนคติส่วนตัว มาตัดสินว่าการทำแท้ง เท่ากับ บาป และหากมองในมุมด้านสังคม การปล่อยให้หนึ่งชีวิตต้องเกิดมาในความไม่พร้อม ทั้งด้านการเลี้ยงดู ครอบครัว หรือ ปัจจัยด้านต่างๆ จะเป็นปัญหาใหญ่ตามมาในระยะยาว มากกว่าหรือไม่?