หนักว่าซึมเศร้า คือภาวะสิ้นยินดี รู้สึกเฉยชากับทุกสิ่งรอบกาย

หนักเเล้ว เมื่อรู้ตัวว่าไม่อยากสึกอะไรแล้ว ภาวะน่ากลัวอย่ามองข้าม เช็กตัวเอง หนักว่าซึมเศร้า คือภาวะสิ้นยินดี รู้สึกเฉยชากับทุกสิ่งรอบกาย

ทำไมช่วงนี้เราไม่มีความสุข คนอื่นยิ้มหัวเราะ แต่เรากับรู้สึกรำคาน และไม่รู้สึกยินดีหรือแม้แต่จะอยากร่วมยินดีกับเขา และที่น่ากลัวไปกว่านั้น ไม่ใช่แค่กับคนอื่น กับตัวเองก็ยังไม่อยากยินดีอะไรด้วย ถ้ามีอาการแบบนี้ ต้องรีบมาเช็กลิสต์กันเลย เพราะเพื่อน ๆ อาจจะมีภาวะสิ้นยินดี หรือ Anhedonia ก็เป็นได้ 

ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) คือ

ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) อ่านว่า แอนฮีโดเนีย เป็นอาการทางจิต และเป็นส่วนหนึ่งของโรคซึมเศร้า มาจากคำศัพท์ภาษากรีกโบราณ ประกอบด้วย 2 คำ คือ an- (ปราศจาก) และ hēdonḗ (ความพึงพอใจ) แปลรวม ๆ ว่า “ไร้ซึ่งความพึงพอใจ” ทำให้รู้สึกเฉื่อยชา ไม่ยินดียินร้าย ไม่พึงพอใจในการใช้ชีวิตเหมือนเดิม และแยกตัวออกจากสังคม ผู้ป่วยจะเก็บตัวหรือแยกตัวออกจากสังคม เพราะไม่สามารถรู้สึกถึงการเติมเต็มได้ หากมีอาการหนัก อาจจะดิ่งถึงขั้นทำร้ายตัวเอง หรือพยายามอัตวินิบาตกรรม มักจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

ภาวะสิ้นยินดีทางสังคม (Social Anhedonia) ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกดีกับการเข้าสังคม หรือมีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

ภาวะสิ้นยินดีทางร่างกาย (Physical Anhedonia) ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกยินดีกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยมีความสุข หรือไม่มีอารมณ์ทางเพศ

หลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกว่า ก็ดีสิ จะได้ไม่ต้องรู้สึกอะไรเลย ไม่รู้สึกเศร้า ไม่สุข สบาย ๆ แต่ช้าก่อน! เพราะอาการของภาวะสิ้นยินดีนั้นหนักกว่ามาก และไม่ใช่เรื่องดีเลย อย่างปกติที่บางคนอาจจะชอบกินของอร่อย แล้วทำให้รู้สึกดีขึ้น กลายเป็นว่าทุกอย่างกลายเป็นสีเทาไปหมด ไม่รู้สึกเติมเต็มที่ได้กินของอร่อย ไม่รู้สึกเติมเต็มที่ได้วาดรูป หรือไม่รู้สึกแฮปปี้กับงานอดิเรกที่ชอบอีกต่อไป จากคนที่มีพลังในการทำนู่นนี่ กลายเป็นคนเฉยชา ไร้อารมณ์ ไม่ใส่ใจดูแลตัวเอง อยู่เฉย ๆ หรือนอนทั้งวัน แต่ยิ่งทำแบบนั้นก็ยิ่งเหนื่อย และเบื่อ การอยู่แบบไม่รู้สึกอะไร จะทำให้รู้สึกว่าชีวิตขาดสีสัน และไม่มีความหมาย เกิดเป็นความว่างเปล่า เคว้ง และรู้สึกว่าไม่รู้จะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่ออะไร ซึ่งอย่างน้อย ๆ คนเราก็ควรจะมีความรู้สึกอะไรซักอย่างบ้าง เพื่อให้รู้สึกถึงการมีชีวิตอยู่

อาการของภาวะสิ้นยินดี

ไม่มีความสุขในสิ่งที่ชอบเหมือนเดิม

สิ้นหวังกับชีวิต ไม่มีเป้าหมาย

แสดงอารมณ์น้อยลง

ความต้องการทางเพศลดลง

เกิดความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายบ่อย ๆ

หวาดระแวงผู้อื่น หงุดหงิด

ไม่ตอบสนองเมื่อได้รับการปลอบโยน

ไม่สนใจดูแลตัวเอง อยากอยู่เฉย ๆ

อารมณ์ดิ่ง จนทำร้ายตัวเอง

ถ้ามีอาการ 5 ข้อขึ้นไป หรือมีอาการครบทุกข้อ ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา

ส่วนสาเหตุของ อาการภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia)

ภาวะสิ้นยินดี มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในสมอง เนื่องจากสมองจะหลังสารแห่งความสุข หรือ ฮอร์โมนโดปามีนออกมา เมื่อเราทำในสิ่งที่ชอบ แต่คนที่มีภาวะสิ้นยินดี สมองจะไม่มีการหลั่งสารโดปามีน จึงทำให้รู้สึกไม่มีความสุข นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคซึมเศร้า ไบโพล่า พาร์กินสัน โรคที่เกี่ยวกับการกิน การบาดเจ็บทางอารมณ์ PTSD ผู้ที่มีโรคทางจิตเภทอยู่แล้ว หรือครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคจิตเวช ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสิ้นยินดีได้มากขึ้น นอกจากนี้ยาบางประเภท และสารเสพติด ก็จะทำให้มีอาการแย่ลงอีกด้วย

วิธีการรักษาภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia)

โรคนี้ยังไม่มียารักษาได้ตรงอาการ ส่วนใหญ่จะบำบัดด้วยการพูดคุย ให้กำลังใจตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ มีอาการตามที่เช็กลิสต์ อันดับแรกเลย ควรไปหาหมอ ให้หมอวินิจฉัยอย่างละเอียดว่ามีภาวะสิ้นยินดีจริง ๆ หรือเปล่า และจำเป็นต้องกินยาเพื่อรักษาอาการไหม วิธีการรับมือเบื้องต้นก็อย่างเช่น

ทำความเข้าใจอาการของภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) ไม่โทษตัวเอง

พยายามทำกิจกรรมที่ชอบต่อไป ถึงจะไม่รู้สึกยินดีกับมัน อาจจะใช้เวลาแค่วันละ 5 นาทีก็ได้

อาจจะต้องใช้ความอดทน พยายามสร้างกิจวัตรขึ้นมา ถึงจะไม่รู้สึกเติมเต็มเท่าแต่ก่อน แต่ก็ต้องทำสิ่งที่ชอบต่อไป จนกว่าจะกลับมารู้สึกเติมเต็มได้เหมือนเดิม 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.wongnai.com/articles/what-is-anhedonia