ศูนย์ต้านเฟคนิวส์ เช็กแล้ว ติ่งเนื้อแบบไหนที่อันตราย?

ศูนย์ต้านเฟคนิวส์ เช็กข้อมูล ติ่งเนื้อที่อันตราย มีลักษณะ มีกระ หรือโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แตกเป็นแผล เลือดออก หรือเกิดขึ้นพร้อมกันหลายอันอย่างรวดเร็ว

จากข่าวที่มีการออกมาระบุว่า ติ่งเนื้อเล็กๆ ที่ขึ้นตามตัวมักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อย เช่น คอ แขน ข้อมือ และอาจเป็นสัญญาณของผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ และไขมันในเลือดสูงนั้น 

วันนี้ (23 ต.ค.66) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้ออกมาบอกว่า ไม่ใช่ว่าติ่งเนื้อทุกอันจะเสี่ยงโรค แต่ติ่งเนื้อที่เป็นเนื้อร้ายนั้น มักมีลักษณะ มีกระ หรือโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แตกเป็นแผล เลือดออก หรือเกิดขึ้นพร้อมกันหลายอันอย่างรวดเร็ว  ตามข้อมูลนี้ 

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เรื่องมีติ่งเนื้อขึ้นบริเวณคอ แขน ข้อมือ เสี่ยงป่วยเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และไขมันในเลือดสูง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ 

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพในเฟซบุ๊ก ซึ่งได้ระบุว่า ติ่งเนื้อขึ้นตามตัวมักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อย เช่น คอ แขน ข้อมือ อาจเป็นสัญญาณของผู้ที่เสี่ยงป่วยเป็นโรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ และไขมันในเลือดสูง ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสอบและชี้แจงประเด็นดังกล่าวว่า ติ่งเนื้อมักเกิดขึ้นขึ้นบริเวณคอ แขน ข้อพับ มักพบในวัยกลางคนถึงสูงอายุ คนอ้วน หรือเป็นจากพันธุกรรม

ซึ่งในคนอ้วนมีความเสี่ยงเป็นโรคไขมันในเลือดสูง เบาหวานและโรคหัวใจอยู่แล้ว ดังนั้น ติ่งเนื้อจึงไม่ได้เป็นสัญญาณของโรคเหล่านี้โดยตรง และส่วนใหญ่ไม่เป็นมะเร็ง แต่หากมีกระหรือติ่งเนื้อที่โตเร็ว แตกเป็นแผล เลือดออก หรือเกิดขึ้นพร้อมกันหลายอันอย่างรวดเร็ว แนะนำมาพบแพทย์ผิวหนังที่โรงพยาบาล เพราะอาจเป็นเนื้อร้าย หรือเป็นสัญญาณของมะเร็งภายในร่างกายได้ 

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.dms.go.th/  หรือโทร. 0-2590-6000 

บทสรุปของเรื่องนี้คือ: ติ่งเนื้อมักเกิดขึ้นขึ้นบริเวณคอ แขน ข้อพับ มักพบในวัยกลางคนถึงสูงอายุ คนอ้วน หรือเป็นจากพันธุกรรม ซึ่งในคนอ้วนมีความเสี่ยงเป็นโรคไขมันในเลือดสูง เบาหวานและโรคหัวใจอยู่แล้ว ดังนั้นติ่งเนื้อจึงไม่ได้เป็นสัญญาณของโรคเหล่านี้โดยตรง 

ข้อมูลจาก: ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม