
30 มีนาคม วันไบโพลาร์โลก (World bipolar day) โรคอารมณ์สองขั้ว กำหนดขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหา สร้างความรู้ความเข้าใจ และเปิดใจให้กับโรคไบโพลาร์ โรคที่ใม่ควรมองข้าม และเราสามารถรักษาได้
วันไบโพลาร์โลก (World Bipolar Day - WBD) ถูกกำหนดขึ้น เพื่อทำให้คนทั่วโลกตระหนักรู้ ถึงโรคไบโพลาร์ เป้าหมายของวันไบโพลาร์โลกคือการนำข้อมูลประชากรโลกเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์ที่จะให้ความรู้และปรับปรุงความไวต่อการเจ็บป่วย
โรคไบโพลาร์อาจเป็นปัญหาสุขภาพจิตตลอดชีวิตที่ส่งผลต่ออารมณ์ เป็นส่วนใหญ่ มันส่งผลต่อความรู้สึกของคุณ และอารมณ์ของคุณก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก อารมณ์คลุ้มคลั่ง หรืออาจตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า
โรคไบโพลาร์เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดหนึ่งที่มีการขึ้นและลงของอารมณ์อย่างรุนแรง โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจเกิดในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อยๆ ร่วมด้วย การแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการแมเนีย (Mania) คือ อารมณ์ดี คึกคัก สนุกสนาน และกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depress) จึงเรียกโรคนี้ว่า โรคอารมณ์สองขั้ว (ขั้วบวก = แมเนีย และ ขั้วลบ = ซึมเศร้า)
โดยปกติในแต่ละวัน คนเราจะมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในระดับหนึ่งแล้วกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ รับผิดชอบหน้าที่การงาน ครอบครัว สังคมได้แต่คนที่มีอารมณ์ผิดปกติ คือ เกิดอารมณ์ขั้วบวกหรืออารมณ์ขั้วลบเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป และไม่สามารถกลับเข้าสู่อารมณ์ปกติได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัว
การสังเกตอาการเริ่มต้นนั้นทำได้ไม่ยาก โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีสัญญาณเริ่มต้น ได้แก่
1.ขั้วบวก คือ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ 2-3 วัน พูดมากขึ้นร่าเริงผิดปกติ หรือในบางคนอาจจะมีพฤติกรรมใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2. ขั้วลบ คือ เศร้าผิดปกติ รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร คิดลบ รู้สึกไม่อยากมีชีวิต
หากญาติหรือคนใกล้ชิดสังเกตเห็นอาการเริ่มต้นดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล อาการเหล่านี้ไม่รุนแรงและสามารถจัดการได้ แนะนำให้โทรศัพท์ไปปรึกษาที่โรงพยาบาลว่าควรต้องทำอย่างไรเมื่อผู้ป่วยเกิดความเจ็บป่วยหรือพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล หรือปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตได้ที่สายด่วนกรมสุขภาพจิต โทร.1323 หรือทาง www.facebook.com/helpline1323/
โรคไบโพลาร์ ถ้ารู้ไว รักษาหาย นะคะ