ลองโควิด (Long COVID) ผลกระทบร้ายบั่นทอน วัยทำงาน

ลองโควิด (Long COVID) สาเหตุ และอาการต่อระบบประสาท ที่ส่งผลกระทบร้ายบั่นทอน กลุ่มคน วัยทำงาน

ถ้าจะบอกว่าลองโควิดอาจทำให้คุณเสียงาน คุณจะว่ายังไง? เพราะเราจะกล่าวถึงผลพวงของภัยเงียบหลังจากหายโควิด -19 เจ็บแต่ไม่จบ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจ ภาวะลองโควิด (Long COVID) กันอีกครั้ง

อีจันพบหมอ

ภาวะลองโควิด (Long COVID) โดย นพ.ธนกร ทรรศนียศิลป์ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเวชธานี โดย กล่าวว่า เมื่อมีการติดเชื้อโควิด-19 แต่ละคนย่อมมีความรุนแรงของโรคแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับเมื่อหายจากการติดเชื้อ แต่ละคนก็จะมีการฟื้นฟูร่างกายที่ต่างกัน บางคนหายจาการติดเชื้อแล้วก็กลับมาเป็นปกติเลย แต่บางคนแม้ว่าตอนติดเชื้อจะเป็นไม่หนัก แต่กลับรู้สึกว่าตัวเองไม่กลับสู่ภาวะสุขภาพที่เคยแข็งแรงตามปกติสักที ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนแล้วก็ตาม ซึ่งนำไปสู่อาการอันไม่พึงประสงค์หลังหายจากการติดเชื้อโควิดที่เราเรียกกันว่าภาวะลองโควิด (Long COVID) ก่อนจะรู้จักภาวะนี้เราต้องเข้าใจภาพใหญ่ของการดำเนินโรคโควิด ซึ่งแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 ระยะ

1.ระยะเฉียบพลัน (acute COVID-19) โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ จนถึง 1 เดือนหลังติดเชื้อ ระยะนี้จะเกิดจากเชื้อไวรัสโดยตรงและจากภูมิคุ้มกันในร่างกายเราที่พยายามทำลายไวรัส ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายตามมา ในบางรายอาการอาจรุนแรงถึงขึ้นปอดอักเสบ อวัยวะล้มเหลวจากการอักเสบ ทุกคนที่ติดเชื้อโควิดจะต้องผ่านระยะนี้ ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะสิ้นสุดแค่ระยะนี้ แต่มีอีกประมาณ 20-30% ที่ยังคงเข้าสู่ระยะที่ 2

2.ระยะหลังการติดเชื้อ (post-COVID condition) เป็นระยะที่เกิดภาวะลองโควิด (Long COVID) เกิดหลังระยะเฉียบพลัน 1-2 เดือน ผู้ป่วย 20-30% จากระยะแรกจะเข้าสู่ระยะนี้ ซึ่งจะมีอาการแสดงได้หลายแบบ ทั้งแสดงออกมาทางร่างกายและหรือทางด้านจิตใจ (แสดงไว้ดังตารางด้านล่าง)

โดยอาการที่พบบ่อยของผู้ป่วย Long COVID ได้แก่ ใจสั่น แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย ไอ และกลุ่มอาการด้านจิตใจ เช่น อาการกังวล ซึมเศร้า โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD: Posttraumatic Stress Disorder) ซึ่งกลุ่มนี้จะคล้ายคลึงกับอาการที่พบได้ในผู้ป่วยที่เจ็บป่วยรุนแรง โดยเชื่อว่าน่าจะเกิดจากผลของการอักเสบและเส้นเลือดฝอยขนาดเล็กในร่างกายอุดตันจากการติดเชื้อไวรัส

ทั้งนี้ หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ ส่วนใหญ่แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ หลังจากนั้นอาการดังกล่าวจะดีขึ้นเองภายหลัง แต่แน่นอนกลุ่มอาการเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการวิเคราะห์และคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางเพื่อแยกโรคจากโรคอื่น ๆ เพราะภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคโควิด-19 จะต้องได้รับการฟื้นฟูที่เหมาะสมและตรงจุด โดยเฉพาะสภาพทางจิตใจที่ต้องได้รับการฟื้นฟูโดยตรงจากจิตแพทย์เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

วิกฤตขาดแคลนแรงงานทำงาน จากผลกระทบลองโควิด (Long COVID)

มีผลสำรวจจาก มูลนิธิไกเซอร์ แฟมิลี (Kaiser Family Foundation) ได้วิเคราะห์ว่าอาการลองโควิด (Long COVID) ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็น “ภัยพิบัติทางสุขภาพระดับชาติ ที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่วัยทำงาน10 – 31 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา เมื่อโควิด-19 หายแล้วแต่ยังส่งปัญหาสุขภาพใหม่กลับมาอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์นี้ถือว่าผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 31 ล้านคนป่วยเป็นเวลาเฉลี่ย 3 เดือน นั่นหมายความว่าประมาณ 4.5 ล้านคนอาจป่วยในช่วงเวลา 20 เดือนที่ผ่านมาและไม่ใช่ว่าคน 4.5 ล้านคนนี้จะหยุดทำงานกันหมด จากการศึกษาผู้ป่วยลองโควิด พบว่า 23-28% ตกงานเนื่องจากอยู่ในสภาพลองโควิด นั่นแสดงให้เห็นว่าอาจมีชาวอเมริกันประมาณ 1.1 ล้านคนที่ไม่ทำงานเนื่องจากผลกระทบจากลองโควิด

นอกจากนี้ 46% ผู้ป่วยลองโควิดหลายรายลดชั่วโมงการทำงานลงแทนที่จะหยุดพัก 46% หากคนงานเหล่านั้นลดชั่วโมงการทำงานลงเพียงหนึ่งในสี่ นั่นจะเพิ่มผลกระทบต่อตลาดแรงงาน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ภายใต้สมมติฐานที่สมเหตุสมผลจากข้อมูลที่มีอยู่

ผลการสำรวจและศึกษาเพิ่มเติมจาก CDC เผย ว่าในหมู่ผู้ใหญ่ที่เป็นลองโควิด มากกว่าครึ่งไม่ได้ทำงานหรือทำงานน้อยลง ซึ่งระบุกลุ่มอาการออกเป็น สามกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะเฉพาะชั่วขณะ ซึ่งผู้เข้าร่วม 85.9% มีอาการกำเริบ สาเหตุหลักมาจากการออกกำลังกาย กิจกรรมทางร่างกายหรือจิตใจ และความเครียด 86.7%ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูกำลังประสบกับความเหนื่อยล้าในขณะที่ทำการสำรวจ เทียบกับ 44.7% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่ฟื้นตัว ผู้ตอบแบบสอบถาม 1,700 คน (45.2%) ต้องการตารางการทำงานที่ลดลงเมื่อเทียบกับการเจ็บป่วยก่อน และอีก 22.3% ไม่ทำงานในขณะที่ทำการสำรวจเนื่องจากการเจ็บป่วย ความผิดปกติของความรู้ความเข้าใจหรือปัญหาด้านความจำพบได้บ่อยในทุกกลุ่ม

มีรายงานอาการทางระบบประสาทและจิตใจที่มักเกิดจากลองโควิด (Long COVID)

หมอกในสมอง : หมอกในสมองอธิบายโดยตรงว่าเป็นความรู้สึกที่มีเมฆหนาจำนวนมาก ถือเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานประจำวัน ได้แก่ รู้สึกว่างหรือสับสน คิดหรือตัดสินใจช้ากว่าปกติ ฟุ้งซ่านง่าย มีสมาธิบกพร่อง มีปัญหาในการจัดความคิดหรือทำกิจกรรม ผู้ป่วยบางรายอาจประสบกับการสูญเสียความจำระยะสั้น เช่น ลืมงานประจำวันหรือสูญเสียความคิด

มีการยอมรับมากขึ้นว่าคุณลักษณะที่สำคัญของ Long-COVID โดยมีกรณีศึกษาหลายกรณีที่อธิบายผู้ป่วยที่มีอาการทั่วไปสองประการดังนี้:

  1. Postural Orthostatic Tachycardia Syndrome หรือ POTS: อาการและอาการแสดง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการเต้นของหัวใจที่ปรากฏขึ้นเมื่อยืนขึ้นจากตำแหน่งเอนกายและผ่อนคลายด้วยการนั่งหรือนอนราบ ยังสามารถทำให้ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก อาการมึนงง และแม้กระทั่งเป็นลม

  2. โรคไข้สมองอักเสบปวดกล้ามเนื้อ/กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือ ME/CFS: อาการทั่วไป ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดข้อและกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เวียนศีรษะ

เชื้อโควิด-19 ทำร้ายสมอง

ผลกระทบต่อสมองและระบบประสาทซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อโควิด-19 สามารถนำไปสู่ความเสียหายของเซลล์สมองแบบเฉียบพลันได้ ในช่วงเกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยไอซียู หรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของร่างกายของผู้ป่วยหลายๆ อย่างที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท ตั้งแต่การมีไข้สูง ไปจนถึงการที่ร่างกายมีระดับออกซิเจนอยู่น้อยเกินไป ซึ่งทำให้ระบบอวัยวะทั้งหมดของร่างกายล้มเหลว หรือไม่ทำงานไปพร้อมๆ กัน ซึ่งอาจส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ

ไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ระบบประสาทได้อย่างไร?

ผ่านทางระบบประสาทการได้กลิ่น (olfactory route) เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่โพรงจมูก เชื้อสามารถผ่านเยื่อบุโพรงจมูก (olfactory epithelium) และมีงานวิจัยสนับสนุนว่าเชื้อสามารถเข้าไปที่เส้นประสาทการรับกลิ่น (olfactory nerve) และไปที่ olfactory bulb ซึ่งอยู่ในสมองได้ (Spudich et al., 2020) เบื้องต้นทำให้ผู้ป่วยมีอาการไม่ได้กลิ่น (anosmia) นั่นเอง

ผ่านทางแนวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง (blood brain barrier) เป็นผลมาจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่เยื่อบุเส้นเลือดในสมอง (endothelial infection) ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือด ซึ่งเป็นส่วนประกอบของแนวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง (blood brain barrier) ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเส้นเลือดมีปัญหาอยู่เดิม ทำให้เชื้อผ่านแนวกั้นระหว่างเลือดกับสมองได้ง่ายขึ้น (increase blood brain barrier permeability)

ผ่านทางเซลล์ภูมิคุ้มกันและเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น monocyte, neutrophil, T-cell เป็นต้น

สุดท้ายนี้ หลายคนที่กำลังเหนื่อยและหมดไฟในการทำงาน กำลังท้อกับชีวิต คงเข้าใจมากขึ้นและหาทางปรับตัวดูแลตัวเอง เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้ถูกทางหลังจากหายจากโรคโควิด-19 เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตและการทำงาน

สิ่งที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่เคยติดโควิด ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หากพบว่าเข้าข่ายอาการเสี่ยง ลองโควิด (Long COVID) ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาได้ถูกจุด ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยติดโควิด ก็ขอให้ดูแลสุขภาพให้ดีอย่าประมาทในการใช้ชีวิต

ข้อมูล Kaiser Family Foundation (kff) , Nakornthon Hospital , cdc.gov , fairhealth.org , bangkokinternationalhospital , นพ.ธนกร ทรรศนียศิลป์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเวชธานี

คลิปอีจันแนะนำ
ร่างทรง องค์ครูภาษาไทย