เช็กด่วน โรคที่มากับอากาศเปลี่ยน คนขี้เเพ้เตรียมรับมือ

อากาศเริ่มเปลี่ยน ร่างกายเริ่มป่วย เช็กด่วน โรคที่มากับอากาศเปลี่ยน คนขี้เเพ้เตรียมรับมือ

อยู่ๆอากาศหนาวก็เข้ามาเยือนคนไทย 2-3 วันที่ผ่านมา หลายจังหวัดเริ่มอากาศเย็น ขนาดกรุงเทพยังต้องควักเสื้อหนาๆมาใส่

บางคนชอบมากอาหาศหนาว เพราะโหยหามานาน เเต่สำหรับสุขภาพไม่เเน่ เพราะอาการขี้เเพ้มาตรึม

เพราะอากาศมีกระทบต่อร่างกายทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น หรือสภาพแวดล้อม โดยแต่ละสภาพอากาศก็ส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บที่แตกต่างกันไป โรคที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงโดยตรง อย่างโรคลมแดดหรือภาวะขาดน้ำ รวมถึงโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อม อย่างโรคฉี่หนู ตาแดง โรคอาหารเป็นพิษ และโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งถ้าหากไม่เตรียมร่างกายให้พร้อมอยู่เสมอก็อาจทำให้ล้มป่วยได้

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันเช่นนี้ มักทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ภูมิต้านทานลดต่ำลง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอย่างเด็ก ผู้สูงวัย และผู้ที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง รพ.พญาไท 2 มีวิธีรับมือโรคที่อาจเกิดขึ้น และวิธีดูแลตัวเองให้แข็งแรงได้ ไม่กลัวโรค! ซึ่งโรคที่อาจจะเกิดได้บ่อย

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เกิดได้จากทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย

-อาการ เริ่มจากหวัดทั่วไปมัก มีไข้ น้ำมูก ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ หากอาการไอรุนแรง อาจมีการติดเชื้อทางเดินหายใจที่บริเวณหลอดลม หากมีน้ำมูกข้น ปวดจมูก และระหว่างคิ้ว ได้กลิ่นลดลง มีกลิ่นเหม็น(ไซนัสอักเสบ) , อาการปอดอักเสบ หรือปอดอาจมีติดเชื้อ มักมีอาการเหนื่อย เจ็บหน้าอก

-วิธีการป้องกัน ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงไปที่ชุมชน หรือหากต้องใกล้ชิดผู้ป่วยควรใส่หน้ากากอนามัย รวมทั้งผู้ป่วยเองก็ควรใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

-เมื่อไหร่ควรมาพบแพทย์ สังเกตอาการตัวเองภายใน 1-2 วัน หากมีความรุนแรงของอาการมากขึ้น หรือมีอาการหอบ เหนื่อย ซึมลง ทานข้าวไม่ได้ จำเป็นต้องมาพบแพทย์ทันที

โรคภูมิแพ้ หอบหืด

หรือคนที่มีโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อน เช่น ถุงลมโป่งพอง หากอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันอาจทำให้ตัวโรคกำเริบได้

-อาการภูมิแพ้ คล้ายๆ กับหวัด แต่มักไม่มีไข้ มีน้ำมูกและเสมหะมีลักษณะใส เจ็บหรือระคายเคืองคอเล็กน้อย ความรุนแรงของโรคน้อยกว่ากลุ่มโรคติดเชื้อ หอบหืด หรือถุงลมโป่งพองกำเริบ อาจเริ่มจากใจ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงดัง

-วิธีการป้องกัน ใช้ยาที่กิน หรือสูดพ่นอยู่ก่อนอนอย่างสม่ำเสมอ รักษาตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ หากยังไม่ดีขึ้นควรมาพบแพทย์