โรคภูมิแพ้อากาศ ที่เราชนะได้

โรคภูมิแพ้อากาศ อาการ และหนทางชนะที่เราทำได้

เมื่อลมหนาวมาเยือน อาการเดิม ๆ ที่เคยเป็นก็กลับมา ทั้งจามจนจมูกจะหลุด และ ไอคร่อกไอแคร่ก

มาทำความรู้จัก โรคภูมิแพ้ กันสักหน่อยนะคะ

โรคภูมิแพ้ สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย และมักกำเริบในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ หรือมีภูมิต้านทานต่ำ

ซึ่งเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อจมูกเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ โดยจมูกของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อากาศนั้น จะมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศมาก

เมื่อเจอกับปัจจัยกระตุ้น ความชื้นในอากาศ อุณหภูมิที่ร้อน-เย็น กลิ่นฉุน สารก่อภูมิแพ้อื่นๆ จะมีลักษณะอาการจาม คัดจมูก มีน้ำมูกไหล มีเสมหะ บางรายอาจมีอาการระคายเคืองมากจนเกิดอาการคันตา แสบตา ร่วมด้วย

สาเหตุการเกิดโรคภูมิแพ้ คือ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ถ้าพ่อแม่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ ลูก ๆ ก็จะมีโอกาสเป็นภูมิแพ้ได้เช่นกัน ดังนี้

-ถ้าคุณพ่อเป็นภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ 30%

-ถ้าคุณแม่เป็นภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ 50%

-ถ้าทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ถึง 70-75%

นอกจากนี้สิ่งแวดล้อม เช่น ไรฝุ่น ฝุ่น ควันบุหรี่ หรืออาการบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดภูมิแพ้ได้ เช่น แพ้อาหารทะเล นม ไข่ ถั่ว

สำหรับโรคภูมิแพ้ แสดงอาการได้ในหลายระบบของร่างกาย ซึ่งที่พบได้บ่อย ๆ เช่น ระบบผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเราสามารถสังเกตของการโรคภูมิแพ้ ดังนี้

-เป็นหวัดบ่อยหรือเป็นหวัดเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ

-จามหรือน้ำมูกไหลเฉพาะตอนเช้า

-มีอาการไอ เช่น อากาศเปลี่ยนแล้วไอ ไอเวลากลางคืน ไอเป็นเวลานาน

-ผื่นขึ้นแบบเป็น ๆ หาย ๆ

วิธีป้องกัน

-หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น ฝุ่นละออง ควันรถยนต์ ควันบุหรี่ ควันธูป กลิ่นน้ำหอมแรงๆ สารเคมีต่างๆ เพื่อไม่ให้อาการภูมิแพ้กำเริบ

-ดูแลความสะอาดภายในบ้าน โดยเฉพาะห้องนอน เปลี่ยนผ้าปู ที่นอน และปลอกหมอนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อลดการกักเก็บฝุ่น

-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง จะให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง อาการโรคภูมิแพ้ค่อยๆ ดีขึ้น

-กินอาหารที่มีประโยชน์ ถ้าเรากินแต่สิ่งที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะโปรตีน ผัก และผลไม้ จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ ถือเป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

-พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการซ่อมแซม ฟื้นฟู และปรับสมดุล ในช่วงเวลานอนพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นไม่ควรเข้านอนดึกจนเกินไป

-พบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อปรึกษาแพทย์ใช้ยาตามที่แพทย์วินิจฉัย และปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

ฤดูหนาวอากาศเปลี่ยน และฝุ่นมากหน่อย อย่าลืมดูแลสุขภาพกันนะคะ

อ้างอิงข้อมูล :

https://www.sukumvithospital.com/healthcontent.php?id=3345

https://www.cgh.co.th/article-detail.php?item=325

คลิปอีจันแนะนำ
ซุ่ม ดัก จับ กัมพูชาตัดไม้