มาดูกัน! เกาต์แท้และเกาต์เทียม ต่างกันอย่างไร

โรคเกาต์น่ากลัวไหม แล้วโรคเกาต์เป็นอย่างไร เป็นแล้วรักษาได้หรือไม่?

ช่วงนี้โรคที่ขึ้นบนฟีดมาให้เราเห็นบ่อยๆ ก็คงหนีไม่พ้นโรคเกาต์ แต่โรคนี้มีกี่ประเภทกันนะ แล้วมันแตกต่างยังไงกันแน่

จัน จะพามารู้จักกับ โรคเกาต์ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่าโรคเกาต์คืออะไร

“เกาต์”

เป็นชนิดของโรคข้ออักเสบ เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ทำให้เกิดการตกผลึกเกลือ โมโนโซเดียมยูเรต บริเวณข้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น มือ และเท้า ซึ่งบริเวณดังกล่าวมักเกิด อาการปวด บวม ร้อนแดง แต่ถ้าดูจากอาการข้างต้น จะแยกไม่ออกว่าคุณคือเกาต์ชนิดไหน

เกาต์ มีถึง 2 ชนิด! คือเกาต์แท้ และเกาต์เทียม

แต่ทั้ง 2 ชนิด ทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบได้เหมือนกัน แต่เกาต์แท้จะมีอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน บริเวณหัวแม่มือ หัวแม่เท้า ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า นอกจากนี้ยังพบอาการปวดได้ที่ ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า เป็นต้น ในส่วนโรคเกาต์เทียม จะปวดบริเวณข้อใหญ่ๆ เช่น หัวเข่า ข้อเข่า ข้อมือ และข้อไหล่ เป็นต้น

เกาต์แท้ เกิดจากการสะสมของยูริกจนกลายเป็นตะกอนตรงบริเวณข้อและตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ

เกาต์เทียม เกิดจากการสะสมตะกอนของแคลเซียมไพโรฟอสเฟตดีไฮเดรท (calcium pyrophosphate dehydrate : CPPD) ตรงบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อใหญ่ ๆ อย่างเช่น หัวเข่า เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดเกาต์มีอะไรบ้าง?

“อายุ”

เพศชายวัยกลางคน คนสูงวัย และหญิงวัยหมดประจำเดือนมักจะเป็นโรคเกาต์แท้ ส่วนโรคเกาต์เทียมมักพบบ่อยในผู้สูงอายุ

“เพศ”

โรคเกาต์แท้ มักจะพบในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง ส่วนโรคเกาต์เทียม สามารถเกิดได้เท่าๆ กัน

“โรคอื่นที่ทำให้เกิดสาเหตุนี้ได้”

เช่น มักสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การมีระดับไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคไตวาย โรคอ้วนโรคเบาหวานชนิดที่ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน เป็นต้น โดยเหล่านี้มักเป็นโรคเกาต์แท้ ในส่วนของเกาต์เทียม เกิดจากโรคอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือดสูง ระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำ ธาตุเหล็กสะสมในร่างกายสูง รวมถึงโรคเบาหวาน อีกด้วย

“อาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิต”

การรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟักโตสสูง ดื่มแอลกอฮอล์ และรับประทานยาที่มีผลเพิ่มระดับกรดยูริกในเลือด เช่น ยาขับปัสสาวะชนิดไทอะไซด์ เป็นต้น

แล้วทั้งสองชนิดรักษาแตกต่างกันไหม?

การแยกโรคทั้งสองชนิดนี้ ต้องมีการวินิจฉัยที่แน่ชัด โดยตรวจผ่านกล้องจุลทรรศน์ หากเป็นโรคเกาต์แท้จะพบผลึกเกลือที่คล้ายเข็ม แต่ถ้าเป็นเกาต์เทียม จะเป็นผลึกเกลือที่เป็นสี่เหลี่ยมคางหมู

ดังนั้นการรักษาของโรคทั้งสองนี้ ต้องมีการรักษาที่แตกต่างกัน ซึ่งเกาต์แท้ จะใช้ยาบรรเทาอาการปวดและอักเสบของข้อ ขณะเกิดอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน

ส่วนของผู้ป่วยโรคเกาต์เทียมปัจจุบันยังไม่มียาที่จะรักษา จะใช้เฉพาะยาที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและอักเสบเท่านั้น โดยสามารถใช้ยาระงับปวด ที่ใช้รักษาอาการปวดขณะเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันชนิดเดียวกับโรคเกาต์แท้

หากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ และคาดว่าจะเป็นเกาต์ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้วินิจฉัยและรักษาให้ทันท่วงทีนะคะ

คลิปอีจันแนะนำ
รับปริญญา มิติใหม่ อาจารย์เปิด นศ.ไม่ขัด