กรมอนามัย เผย คนไทยติดหวาน บริโภคน้ำตาลต่อวัน เกินความจำเป็นของร่างกาย

กรมอนามัย เผย คนไทยติดหวาน บริโภคน้ำตาลต่อวัน สูง เกินความจำเป็นของร่างกาย เสี่ยงหลายโรค แนะ ลดหวาน ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด

วันนี้ (6 มี.ค.64) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข เผยว่า จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พบว่า คนไทยติดหวาน บริโภคน้ำตาล วันละ 25 ช้อนชา ซึ่งมากกว่าปริมาณที่องค์กรการอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา และข้อมูลจากการศึกษาเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ปี 2562 มหาวิทยามหิดล พบว่า เฉลี่ยในแต่ละวันคนไทยดื่มเครื่องดื่มที่ผสม น้ำตาล เฉลี่ยกว่า 3 แก้ว โดยเฉพาะเด็กอายุ 6-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มที่ผสม น้ำตาล เฉลี่ยต่อสัปดาห์มากที่สุด

เครื่องดื่มผสม น้ำตาล ที่จำหน่ายในประเทศไทยพบมีปริมาณ น้ำตาล สูงมากเฉลี่ยถึง 9-19 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ปริมาณที่เหมาะสมคือไม่ควรมี น้ำตาล มากกว่า 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เพราะจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันสูง หัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และฟันผุ

จากปัญหา คนไทยติดหวาน นำมาซึ่งการออกพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ภายใต้พระราชบัญญัติสรรพสามิตฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560 กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ น้ำตาล เครื่องดื่มผง (3 in 1) และเครื่องดื่มเข้มข้น ตามปริมาณ น้ำตาล จากข้อมูลของคณะกรรมการอ้อยและ น้ำตาล กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่าคนไทยมีการบริโภค น้ำตาล จากเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 15.3 และ 14.0 ในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ

ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกิน น้ำตาล ของคนไทยเปลี่ยนจากการดื่มเครื่องดื่มที่ผสม น้ำตาล มาเป็นการดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วต่อวันเพื่อสุขภาพที่ดี หากต้องการดื่มเครื่องดื่มที่ผสม น้ำตาล เช่น ชานม ชาเขียว กาแฟ เป็นต้น แนะนำให้สั่งเป็นหวานน้อย เพื่อลดปริมาณ น้ำตาล ที่ได้รับแต่ละแก้ว แต่หากต้องการดื่มเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่วางจำหน่าย ควรอ่านฉลากก่อนซื้อ โดยเลือกแบบที่ไม่เติม น้ำตาล ดีที่สุด

จันก็อยากให้ทุกคนลองลดหวานกันดูตามที่คุณหมอแนะนำนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง จันเป็นห่วงนะคะ