กรมอนามัย ห่วง ลดเสี่ยง โรคผิวหนัง เสื้อกันหนาวมือสอง ต้องระวัง

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วง ผู้ที่นิยมใช้ เสื้อกันหนาวมือสอง ต้องระวัง ซักให้สะอาดก่อนนำมาสวมใส่ ลดเสี่ยง โรคผิวหนัง

หนาวนี้ถึงคราวเฉิดฉาย ได้เวลาปัดฝุ่นชุดกันหนาวเก่าเก็บ ออกมาอวดความคลูให้หายหนาวกัน สำหรับคนที่ยังไม่มีเสื้อผ้ารับหนาวนี้ ชุดกันหนาวมือสองก็เป็นอีกทางเลือกที่ไม่ต้องควักเงินจำนวนมากลงทุนกับอากาศหนาวบ้านเรา แต่สิ่งที่ต้องระวังคือความสะอาด ซึ่งผู้ที่นิยมซื้อเสื้อกันหนาวมือสอง ต้องระวัง ซักให้สะอาดก่อนนำมาสวมใส่ ลดเสี่ยงโรคผิวหนัง

หากมีอาการคันหลังใช้เสื้อกันหนาวมือสอง ไม่ควรปล่อยไว้จนลุกลาม ควรรีบไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธีต่อไป ได้แก่ โรคกลากเกลื้อนจากเชื้อรา โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนัง แนะนำให้ซักทำความสะอาดก่อนใช้ เพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือสัตว์นำโรคที่ติดมากับเสื้อผ้า และหากเกาเป็นแผลอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงอนามัยได้ออกมาแนะนำวิธีก่อนนำไปสวมใส่ ดังนั้นก่อนนำมาใช้ให้ทำ ความสะอาด โดยแยกเสื้อผ้ามือสองออกจากเสื้อผ้าปกติและทำความสะอาดตามวิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 ซักด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าตามปกติแล้วนำไปต้มในน้ำเดือดนาน 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

วิธีที่ 2 แช่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่สามารถหาได้ในครัวเรือน ได้แก่ น้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมโซเดียมไฮโปคลอไรด์ โดยเติม 1 ฝา ต่อน้ำ 10 ลิตร แช่ผ้าไว้นาน 5-15 นาที หรือใช้น้ำส้มสายชู 2-3 ถ้วยตวง ต่อน้ำ 1-2 ลิตร แช่ผ้าไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมง แล้วซักตามปกติ จากนั้นนำไปตากแดดจัดหรือตากในที่ที่มีอากาศถ่ายเทจนแห้ง แล้วนำมารีดทั้งข้างในและข้างนอกตัวเสื้อ

“ทั้งนี้ การเลือกวิธีทำความสะอาด จะต้องคำนึงถึงประเภทของเสื้อกันหนาวมือสองด้วย เนื่องจากเสื้อผ้าบางประเภทไม่เหมาะกับการต้ม จึงอาจทำให้เสื้อผ้าชนิดนั้นชำรุดได้ และหากเสื้อผ้ามีเชื้อราขึ้นมากเกินที่จะกำจัดได้ควรเปลี่ยนหรือทิ้งไป นอกจากนี้ หากมีอาการคันหลังใช้เสื้อกันหนาวมือสอง ไม่ควรแคะ แกะ เกา หรือปล่อยไว้จนลุกลาม ควรรีบไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธีต่อไป” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ด้วยความเป็นห่วงจึงอยากให้ คนที่ชื่นชอบเสื้อผ้ามือสอง ตระหนักถึงสุขภาพให้มากเพราะแค่อากาศที่เปลี่ยนแปลงเสี่ยงต่อไข้หวัดก็น่ากังวลพอแล้ว อย่าให้ต้องมาคอยนั่งคันนอนเกาเพราะโรคผิวหนังที่เกิดจากเสื้อผ้าเก่า เดียวจะหมดอารมณ์กับหน้าหนาวที่นานๆทีจะได้สัมผัส ยังไงก็ดูแลสุขภาพกันให้ดีด้วยนะคะ

คลิปอีจัน แนะนำ
ที่มาของอาชีพ “นักนอน”