กองอำนวยการน้ำ สรุปสถานการณ์น้ำ พร้อมแผนรับมือน้ำหลาก ในฤดูฝน

กองอำนวยการน้ำ สรุปสถานการณ์น้ำ พร้อมแผนรับมือน้ำหลาก ในฤดูฝน ปี 2565

กองอำนวยการน้ำ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของไทยวันนี้ (1 มิ.ย. 65) หลังไทยประกาศเข้าสู่ช่วงฤดูฝน!

วันนี้ (1 มิ.ย. 65) กองอำนวยการน้ำ โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก เพื่อสรุปสถานการณ์น้ำของวันนี้ หลังไทยเข้าสู่ ฤดูฝน และหลายวันที่ผ่านมา ไทยประสบปัญหาได้รับผลกระทบจากมรสุมต่างๆ จากประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไทยมีพายุ ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง หลายพื้นที่ในไทยเจอ น้ำท่วม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม เกิดความเสียหายหลายครัวเรือน

โดย จากการที่ กองอำนวยการน้ำ ได้ติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำ จึงได้ข้อสรุปว่า

1. บริเวณ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

2. ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.น่าน (114 มม.) กรุงเทพมหานคร (96 มม.) และ จ.สตูล (94 มม.)

3. พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ อ.บ่อเกลือ และปัว จ.น่าน อ.เมือง กะเปอร์ และสุขสำราญ จ.ระนอง อ.คุระบุรี ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ท้ายเหมือง และกะปง จ.พังงา

4. แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

5. ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 46,225 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,312 ล้าน ลบ.ม. (56%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง)

6. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ติดตามความพร้อม ระบบชลประทาน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตอนล่างฝั่งตะวันออกเพื่อรองรับฤดูน้ำหลาก ปี 2565 บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 (มาตรการที่ 4 ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำสถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน) ให้แล้วเสร็จก่อนฤดูน้ำหลากในปีนี้ เพื่อปรับปรุงระบบชลประทานและคลองธรรมชาติตามแนวคลองเดิมให้มีความสามารถการระบายน้ำในพื้นที่เพิ่มขึ้นจากเดิม

ทั้งนี้ ได้มีการตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ 9 แผนงานหลักเพื่อบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ดังนี้

1. โครงการขุดคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร

2. โครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก-อ่าวไทย ประกอบด้วยคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก และคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย

3. โครงการคลองระบายน้ำควบคู่กับถนนวงแหวนรอบที่ 3

4. โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง

5. โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก

6. โครงการบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ

7. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน

8. โครงการพื้นที่รับน้ำนอง

ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด พื้นที่ฝั่งตะวันออกจะสามารถเพิ่มการระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ 930 ลบ.ม./วินาที

ขอบคุณข้อมูลจาก: กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

คลิปอีจันแนะนำ
ความจริงของชีวิต… ธรรมะจากหลวงพ่อวัดดอนจั่น