กิโยติน เครื่องประหารชีวิต สมัยโบราณ ของฝรั่งเศส ที่สร้างความเจ็บปวดน้อยที่สุด?

รู้จัก กิโยติน เครื่องประหารชีวิต ของฝรั่งเศส หลังเจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ดัง จ.หนองบัวลำภู ใช้ในการ
ตัดคอตัวเอง

จากกรณีช็อก! พระตัดคอตัวเอง โดยใช้เครื่อง กิโยติน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา? เหตุเกิดที่ สำนักสงฆ์ภูหินกอง จ.หนองบัวลำภู

พระตัดคอตัวเอง ถวายเป็น พุทธบูชา?

ชื่อของ กิโยติน กลายเป็นประเด็นที่หลายคนสงสัย และพูดถึง ว่า คืออะไร?

สำหรับ กิโยติน ที่พระธรรมกร เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ภูหินกอง ใช้ตัดคอตัวเองนั้น เป็นเครื่องที่สร้างขึ้นมาเอง โดยเป็นเสาไม้ตั้งสูงสองเสา มีใบมีดใหญ่กว้าง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร อยู่ตรงกลาง ส่วนด้าม 2 ด้าน ใช้ก้อนปูนซีเมนต์เทหล่อในถังพลาสติก จำนวน 2 ก้อน ผูกติดกับด้ามมีดข้างละก้อน มีเชือกดึงไว้เปิดกลไกให้ใบมีดตกลงมา

ทั้งนี้ใน วิกิพีเดีย ให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ กิโยติน (guillotine) เอาไว้ว่า คือเครื่องประหารชีวิตของฝรั่งเศส ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อใช้ตัดคอนักโทษ ลักษณะเครื่องส่วนมากจะเป็นไม้ ไว้สำหรับแขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู น้ำหนักประมาณ 40 กก.

ใบมีดจะถูกแขวนไว้ในส่วนบนสุด ภายใต้ใบมีดจะเป็นส่วนที่ให้ผู้ถูกลงโทษวางศีรษะ เมื่อเชือกได้ถูกปล่อยหรือตัดลง ใบมีดที่หนักจะหล่นลง และตัดศีรษะผู้ถูกประหาร (ความสูงและน้ำหนักตามมาตรฐานกิโยตินฝรั่งเศส)

ทั้งนี้ ประเทศฝรั่งเศส ได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกที่ใช้การประหารชีวิตด้วยกิโยติน โดยได้ประหารนายนีกอลา ฌัก แปลตีแย (Nicolas J. Pelletier) โจรปล้นสัญจร เป็นคนแรก เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1792 ซึ่งในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 สหราชอาณาจักร ก็มีเครื่องลงโทษลักษณะที่คล้ายกันชื่อ กรงเหล็กตะแลงแกง และมีเครื่องลงโทษลักษณะคล้ายกันในประเทศอิตาลีและสวิตเซอร์แลนด์

สำหรับผู้คิดค้นการทำงานของ กิโยติน คือ นายแพทย์อ็องตวน หลุยส์ สมาชิกสมาคมศัลยศาสตร์ (Académie Chirurgical) โดยเครื่องกิโยตินตอนแรกได้ใช้ชื่อว่า ลูยซง (Louison) หรือลูยแซ็ต (Louisette) แต่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “กิโยติน” ตามชื่อของ ดร.โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เสนอแนะการประหารชีวิตโดยการตัดคอ แต่ภายหลัง เขาก็ได้เปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากไม่ต้องการใช้สกุลเป็นคำเดียวกับวิธีการประหารชีวิต

ทั้งนี้ การใช้กิโยตินจะทำให้ผู้ถูกประหารชีวิตเจ็บปวดน้อยที่สุด ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินอย่างน้อย 20,000 คน

สำหรับ กิโยติน ถือเป็นเครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย จนกระทั่งยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1881

อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทวีปยุโรปได้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีเยอรมนี นาซีได้นำเครื่องกิโยตินมาใช้ในการประหารชีวิตผู้ที่ต่อต้านระบอบนาซีในเยอรมนี บุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินคือ ออยเกิน ไวด์มันน์ (Eugene Weidmann) ฆาตกรสังหาร 5 ศพชาวเยอรมัน โดยถูกตัดศีรษะเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1939 เวลา 16.32 น. ภายนอกคุกแซ็ง-ปีแยร์ (Saint-Pierre) ที่เมืองแวร์ซาย

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย