ความหวังใหม่ มหิดล ทำวิจัย เลือดตัวเงินตัวทอง หวังยับยั้ง มะเร็ง-โควิด?

ความหวังใหม่ มหิดล ทำวิจัย เลือดตัวเงินตัวทอง หวังยับยั้ง มะเร็ง-โควิด? พบ มีฤทธิ์ยับยั้ง เชื้อแบคทีเรียบางชนิด

ความหวังใหม่ มหิดลฯ ทำวิจัยจากเลือดตัวเงินตัวทอง หวังยับยั้ง โรคระบาดร้าย

วันนี้ (27 พ.ค. 64) คุณฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานว่า รองศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์จิตรกมล ธนศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการวิจัย ศึกษาคุณสมบัติทางยา จากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) เพื่อดูฤทธิ์การยับยั้ง เซลล์มะเร็ง แบคทีเรีย และไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่ รวมทั้ง โควิด-19

จากสมมุติฐาน ทำไม “ตัวเงินตัวทอง” ถึงสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ จากการกินซากสิ่งมีชีวิต แม้ในน้ำเน่าเสีย?

รองศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์จิตรกมล จึงเริ่มศึกษาระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งอยู่ในประเภทสัตว์ป่าคุ้มครองดังกล่าว ทำการขออนุญาต กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเลือดจาก “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) ที่มีลักษณะสมบูรณ์ มาศึกษาทางโปรตีน (Proteomics) ในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เลือดตัวอย่างเพียงเล็กน้อย ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

เบื้องต้นพบว่า มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งอาจจะมีการศึกษาต่อว่า จะสามารถยับยั้งเชื้อไวรัส รวมถึง COVID-19 ได้หรือไม่

“ในขณะที่โลกมีการคิดค้นวัคซีนป้องกัน COVID-19 อย่างแพร่หลาย แต่การรักษายังคงเป็นไปตามอาการ ไม่มียาใดที่ใช้รักษาได้โดยตรง ในบางกรณีก็อาจรักษาโดยใช้ยาต้าน HIV ซึ่งก็ไม่ได้ผลในผู้ป่วยบางราย หากสามารถพัฒนายาใหม่ขึ้นมาได้ ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาที่จะเพิ่มความหวังให้กับมวลมนุษยชาติได้”

ทั้งนี้ แม้ “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) กำลังใกล้สูญพันธุ์จากการถูกล่า จนได้รับการคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งกำลังมีการผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่จะทำให้ “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) กลายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์เชิงเศรษฐกิจ

รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์จิตรกมล ธนศักดิ์ เผยว่า หากทำได้จะส่งผลดีต่อการวิจัยเพื่อพัฒนายาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) ต่อไป เนื่องจากจะมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ระหว่าง “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) ที่อยู่ในธรรมชาติ และ “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) ที่อยู่ในระบบฟาร์ม ซึ่งจะมีการดูแลที่ต่างวัตถุประสงค์กัน ให้สามารถทำวิจัยได้อย่างจริงจังในเรื่องดังกล่าวจนถึงปลายน้ำ หากอนาคตต้องใช้ประโยชน์จาก “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) การเพาะพันธุ์ในระบบฟาร์มจะตรงตามเป้าหมายและเหมาะสมกว่ามาก

อย่างไรก็ตาม วิจัยดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการศึกษาทดลอง ต้องลุ่นกันต่อว่าผลวิจัยในอนาคตจะสำเร็จหรือไม่ อีจันเป็นกำลังใจค่ะ