ซีพี เดินหน้าฟื้นป่าเหนือ 4 ต้นน้ำ ปิง วัง ยม น่าน ต่อเนื่องสู่ปีที่ 6

เครือซีพีเดินหน้าฟื้นป่าเหนือ 4 ต้นน้ำ ปิง วัง ยม น่าน ต่อเนื่องสู่ปีที่ 6 สร้างอาชีพด้วยโมเดล Social Enterprise มุ่งสู่ชุมชนที่ยั่งยืน

วันนี้ ( 24 เม.ย. 65) นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และผู้ช่วยบริหาร สำนักประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร กล่าวว่า จากปี 2558 คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นประธานด้านความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในขณะนั้น ได้รับมอบหมายจากท่านประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ ให้ดูแลเรื่องความยั่งยืนจากนโยบายสู่ภาคการปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคเหนือนั้น

ตลอดระยะเวลากว่า 6 ปี เครือซีพี ได้ให้ความสำคัญด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ และในวาระครบรอบ 100 ปี เครือซีพี ยังคงมุ่งมั่นร้อยเรียงความดี โดยยึดมั่นหลัก 3 ประโยชน์ของเครือฯ คือ ทำเพื่อประเทศชาติ ชุมชนและสังคมก่อน สุดท้ายจึงเป็นบริษัท พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน สร้างเสริมสิ่งใหม่ สนับสนุนต่อยอดความคิด โดยมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามอย่างสม่ำเสมอ ทำงานด้วยความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาอย่างตรงจุด เพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

โดยเครือซีพี เริ่มนำร่องด้านความยั่งยืนด้วย “โครงการสบขุ่นโมเดล” บ้านสบขุ่น อ.ท่าวังผา จ.น่าน ต้นแบบฟื้นป่าภาคเหนือที่นำร่องสู่ความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ในการปรับเปลี่ยนวิถีจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวสู่การปลูกกาแฟสร้างป่า สร้างรายได้ ด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จังหวัดน่าน (กอ.รมน.น่าน), สำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน, สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงบ้านสบขุ่น ตามแนวทางพระราชดำริฯ, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ.ท่าวังผา และพัฒนาที่ดิน จ.น่าน

มีเกษตรเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 6 รุ่น 97 ราย ปัจจุบันสามารถฟื้นฟูผืนป่ากลับมาได้กว่า 2,100 ไร่ เกิดโรงแปรรูปกาแฟ วิสาหกิจชุมชนสร้างป่า สร้างรายได้แก่บ้านสบขุ่น และมีแบรนด์กาแฟบ้านสบขุ่น กาแฟคืนป่า คืนชีวิต ที่จัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และหน้าร้าน ภายใต้การเรียนรู้การจัดการอย่างเป็นระบบมุ่งสู่การเป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social enterprise) และผลักดันสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต

เครือซีพี ยังคงมุ่งมั่นผลักดันธุรกิจชุมชนสู่การเป็นธุรกิจเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น ‘วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านเลาสู’ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง จากชาวบ้านเมี่ยนและอาข่าที่ปลูกกาแฟเป็นทุนเดิม สู่การพัฒนาสร้างอาชีพ สร้างรายได้ กลายเป็นวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง พร้อมใจขับเคลื่อนปลูกกาแฟเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ ซึ่งเครือฯ ร่วมกับภาคเครือข่าย เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลปงดอน, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ธ.ก.ส. ผลักดันบ้านเลาสูสู่ความสำเร็จ สามารถจัดตั้งโรงแปรรูปกาแฟภายในชุมชน ลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทาง มอบองค์ความรู้วิชาการบริหารจัดการแปลงเกษตร นอกจากนี้ยังมีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อรักษาทรัพยากรที่มีค่า ที่มาของสินค้าชุมชนเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟบ้านเลาสู ที่สามารถผลิตกาแฟได้กว่า 53,481 กิโลกรัม

การขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคการศึกษา ฯลฯ เครือซีพีจึงได้ก่อตั้งสำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จ.น่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์ ขึ้น ณ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน เพื่อร่วมสร้างสรรค์คุณค่า สู่การพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างสมดุลให้เมืองน่านน่าอยู่

เครือซีพี เล็งเห็นความสำคัญด้านความยั่งยืน และการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนในทุกมิติ จึงได้รับการรับรองจากโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก หรือ LESS (Low Emission Support Scheme) ในพื้นที่บ้านสบขุ่น บ้านทุ่งใหม่ และบ้านนาบง จ.น่าน โดยสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้รวมกว่า 7,999.103 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) พร้อมผลักดันเข้าสู่โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย Thailand Voluntary Emission Reduction (T-VER) มุ่งสู่เป้าหมายองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutral ภายในปี 2573

คลิปแนะนำอีจัน
อีจันพักร้อน ทริปนี้มีนางเงือก!!! “ลุยพังงาล่าธิดาบาดาล”